svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

"ก้าวไกล" จี้ มท.- ศธ. ถอดบทเรียน ส่ง "เด็ก นร.ไร้สัญชาติ" 126 คน กลับเมียนมา

30 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ก้าวไกล" จี้ "มท.- ศธ." ถอดบทเรียน ส่ง "เด็กนักเรียนไร้สัญชาติ" 126 คน กลับเมียนมา เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติต่อเด็ก พร้อม "อัปเดต" ชีวิตความเป็นอยู่ พบเด็กกว่า 20 คน กลับมาไทยแล้ว 7 คนได้เรียนใน รร. ส่วน 4 คน ต้องทำงาน เหตุครอบครัวยากจน

30 สิงหาคม 2566 จากกรณี หน่วยงานราชการไทย ได้ร่วมกันผลักดัน เด็กนักเรียนต่างด้าว 126 คน จาก โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กลับประเทศเมียนมา ท่ามกลางเสียงทักท้วง ถึงเรื่องสิทธิการศึกษา เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ ต้องออกจากการเรียนกลางคัน และการคุ้มครองเด็ก   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เนื่องจากในเมียนมา ยังเกิดการสู้รบอาจ ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการดำเนินคดี กับคณะผู้บริหาร และกรรมการ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จำนวน 5 คน ซึ่งคดีนี้ ทางสภาทนายความฯ ได้รับช่วยทำคดี โดยยกฎีกาเคยชี้ไม่ผิด เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน
\"ก้าวไกล\" จี้ มท.- ศธ. ถอดบทเรียน ส่ง \"เด็ก นร.ไร้สัญชาติ\" 126 คน กลับเมียนมา
 

ล่าสุด นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.ระบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า กรณีที่ทางการไทย ส่งเด็กนักเรียนไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กลับประเทศเมียนมา จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า

ไม่ว่าเด็กกลุ่มนี้ จะเข้าเมืองด้วยกระบวนการ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ควรคำนึงถึงสิทธิการศึกษาของเด็ก และควรถอดบทเรียนว่า หากมีเหตุการณ์หรือกรณีแบบนี้ และกรณีใด ๆ เกิดขึ้นอีก ควรจัดการและหา กระบวนการที่เหมาะสม เท่าที่ทราบขณะนี้ เด็กหลายคน กลับไปเข้าเรียนในพื้นที่ ในประเทศเพื่อนบ้าน และมีบางราย ย้อนกลับเข้ามาเรียนในประเทศไทย ผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง 
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.ระบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล
 

นายณัฐวุฒิ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า 1.ในกรณีที่อาจจะไม่สามารถยกขึ้นมา เป็นกรณีชี้กระบวนการว่าถูกหรือผิดได้ เพราะรัฐไทยยังไม่มีกระบวน การถอดบทเรียนว่า หากในสถานการณ์ที่จำเป็น และคำนึงถึงว่า สิทธิใดควรมาเหนือสิทธิใด ๆ

และควรมีวิธีการในการปฏิบัติอย่างไร เช่น สิทธิการศึกษา ควรที่จะมาก่อนการโยกย้ายถิ่นฐาน ไม่ว่าจะเข้าเมือง มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม หรือสิทธิที่อพยพมาหนีภัยสงคราม เข้าเมืองนั้น ๆ ควรที่จะเหนือการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย 

2.ในกรณีนี้ ส่งผลกระทบต่อในเชิงลบ ต่อการจัดการศึกษา เนื่องจากโรงเรียนทั่วประเทศ ไม่กล้าเปิดรับเด็กไร้สถานะทางเบียน และหน่วยงาน คือ กระทรวงศึกษาธิการ , กระทรวงมหาดไทย ,กระทรวงการพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ และหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ก็มีความวิตกกังวลว่า จะเกิดกรณีนี้ขึ้นอีก ส่งผลกระทบต่อการดู และการจัดการศึกษา กับเด็กจำนวนหนึ่ง ควรเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

3.ในกรณีการดำเนินคดีทางกฎหมาย กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน ที่นำเด็กมาเรียน ยังอยู่ในขั้นตอนการสืบสวนสอบสวน และยังไม่เห็นความคืบหน้า ในการส่งสำนวนให้พนักงานอัยการว่า มีการส่งฟ้องหรือไม่ เพราะต้องดูข้อเท็จจริง และเจตนาประกอบ

สิ่งที่ผู้อำนวยการโรงเรียนกระทำนั้น เข้าข่ายเป็นเจตนาพาคนเข้าเมือง โดยผิดกฎหมายจริงหรือไม่ หรือมีความหวังดี ต้องการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียน ซึ่งก็มีข้อเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดี แต่กระบวนการยุติธรรมนั้น ได้เดินหน้าไปแล้ว ควรช่วยกันติดตาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย 
 

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสร้างความชัดเจน ให้กับหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ ในเมื่อรัฐมนตรี ศธ. ยืนยันเองว่า สิทธิการศึกษา ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ ตามหลักการ Education for all ดังนั้นก็ไม่ควรจะมีประเด็น ที่เป็นข้อจำกัดใดๆ และรัฐมนตรี ศธ. ควรที่จะมีนโยบาย หรือมีหนังสือสั่งการ ให้ทำความเข้าใจว่า เรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ใกล้กับชายแดน”


ตำรวจสอบสวน ผอ.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6
 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบ เด็กนักเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จำนวน 126 คน ที่ถูกส่งกลับมายังจังหวัดเชียงรายนั้น มีเพียง 4 คน ที่ยังอยู่ในบ้านพักเด็กฝั่งไทย เนื่องจากไม่มีพ่อหรือแม่มารับ เหตุเพราะพ่อเป็นผู้หนีภัยการสู้รบ

ส่วนเด็ก 122 คนถูกผลักดันกลับฝั่งเมียนมาแล้ว มี 7 คน ข้ามกลับมาเรียนในโรงเรียนฝั่งไทย 10 คนเรียนในศูนย์การศึกษาฝั่งไทย และอีก 4 คนเข้ามาทำงานรับจ้างเก็บใบชาในฝั่งไทย เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน ส่วนเด็กที่เหลืออีกกว่า 100 คน มีเพียงส่วนน้อย ที่ได้เรียนในฝั่งเมียนมา เพราะครอบครัวมีฐานะยากจนเช่นเดียวกัน
\"ก้าวไกล\" จี้ มท.- ศธ. ถอดบทเรียน ส่ง \"เด็ก นร.ไร้สัญชาติ\" 126 คน กลับเมียนมา  

น.ส.ลาหมึทอ อดีตเด็กไร้สัญชาติริมแม่น้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า พ่อแม่เป็นผู้อพยพมาจากประเทศเมียนมา ครอบครัวยากจน ต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อส่งเธอเข้าเรียน และจำเป็นที่จะต้องเข้าเรียน ในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่าย เวลาที่เดินทางข้ามจังหวัด เพื่อไปโรงเรียน ต้องผ่านด่านตรวจ ทำให้รู้สึกระแวงทุกครั้ง มีความกังวลและรู้สึกไม่ปลอดภัย ส่วนชีวิตในโรงเรียน ถูกคนรอบข้างมองด้วยความแปลกแยก   

ขณะเรียนอยู่ชั้น ม.ปลาย มีโอกาสได้รับทุนการศึกษา เรียนต่อมหาวิทยาลัย จนจบปริญญาตรี แต่ถูกปฏิเสธทุนการศึกษา เพราะไม่มีสัญชาติไทย ทำให้รู้สึกด้อยค่า และโดนกีดกันทางการศึกษา ในเวลาเดียวกัน ถึงแม้ว่า พ่อแม่เราจะมาจากฝั่งเมียนมา แต่เราเองเกิดในไทย ไม่ได้มีความผูกพันธ์กับประเทศต้นทางเลย แต่กลับถูกตีตราว่า เป็นต่างด้าว ปัจจุบันยังมีเด็กไม่มีเอกสารทางทะเบียน อีกจำนวนมาก และไม่ได้รับโอกาส ตามที่ พ.ร.บ.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ 
\"ก้าวไกล\" จี้ มท.- ศธ. ถอดบทเรียน ส่ง \"เด็ก นร.ไร้สัญชาติ\" 126 คน กลับเมียนมา
 

logoline