svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ฉลุย!ไร้เหตุรุนเเรง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสร้างโรงงานน้ำตาลปทุมรัตน์

18 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เวทีความเห็น โรงน้ำตาลปทุมรัตต์ฉลุย! ไร้เหตุรุนเเรง เดินหน้าจัดทำรายงาน EIA เกี่ยวกับการสร้างโรงงานน้ำตาลเเละโรงไฟฟ้าชีวมวล(ชานอ้อย) ร้อยเอ็ด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา09.00น.บริษัทสมานฉันท์กรับใหญ่จำกัดได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่สอง(ค.2)เพื่อจัดทำรายงานEIAเกี่ยวกับการสร้างโรงงานน้ำตาลเเละโรงไฟฟ้าชีวมวล(ชานอ้อย)ที่ต.โนนสวรรค์ อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด

โดยมีประชาชนในพื้นที่ ส่วนราชการเเละฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนมาก ทั้งนี้กลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงงานจำนวนหนึ่งได้ชุมนุมคัดค้านที่บริเวณริมถนนสาย202 

ฉลุย!ไร้เหตุรุนเเรง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสร้างโรงงานน้ำตาลปทุมรัตน์

โดยมีการทำกิจกรรมถือป้ายประท้วง ปราศรัยคัดค้าน การสร้างโรง งานเเละส่งเสริทการปลูกอ้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิโดยผู้คัดค้านได้เเสดงกิจกรรมปราศรัยคัดค้านบนถนน การไหว้บรรพบุรุษเพื่อให้ช่วยรักษาพื้นที่ เเละเผาชานอ้อยเเละฟางเพื่อเป็นการประท้วงหน้าทางเข้าพื้นที่จัดงาน ทั้งนี้ผู้จัดงานได้เชิญประชาชนที่คัดค้านเข้ามาลงทะเบียนเเละสามารถเเสดงความเห็นในเวทีการจัดงานได้ เเต่ผู้ชุมนุมปฏิเสธการเข้าพื้นที่เเละยุติการชุมนุมในเวลา14.00น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศภายในเวทีทั้งภาคเช้าเเละบ่ายนั้นประชาชนที่มาร่วมเวทีได้รับฟังเเละเเสดงความเห็นเกี่ยวกับโรงงานทั้งสองเเห่งว่าจะสร้างผลกระทบกับพื้นที่เช่นใดโดยตัวเเทนบริษัทชี้เเจงว่าบริษัทปฏิบัติตามกฎหมายเเละนโยบายรัฐบาลรวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบกับพื้นที่เเละประชาชนเพราะโรงงานทั้งสองเเห่งต้องอยู่กับชุมชน ประชาชนเเละสิ่งเเวดล้อมอย่างยั่งยืน

ฉลุย!ไร้เหตุรุนเเรง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสร้างโรงงานน้ำตาลปทุมรัตน์

โดยจะมีตัวเเทนไตรภาคีในการตรวจสอบกิจกรรมของโรงงานทั้งสองเเห่งตามกฎหมาย โดยโรงงานได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานจากคณะกรรมการอ้อยเเละน้ำตาลทรายเลขที่ อก0604/323 มีกำลังการผลิต2.4หมื่นตัน/อ้อย ตลอด120วันในฤดูกาลผลิตอ้อยส่วนชานอ้อยจะผลิตไฟฟ้าชีวมวล(ชานอ้อย)กำลังการผลิต 36 เมกะวัตต์เพื่อผลิตใช้ในโรงงาน

ฉลุย!ไร้เหตุรุนเเรง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสร้างโรงงานน้ำตาลปทุมรัตน์
โดยเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในแผนพัฒนาอีสานผ่านนโยบาย BCGที่จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำความยากจน เน้นเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยใช้ชานอ้อยมาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยรัฐบาลได้มีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาลในภาคอีสาน ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาล 20 แห่ง มีพื้นที่ปลูกอ้อย 10.5 ล้านไร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศในวันนี้เป็นไปด้วยดีประชาชนในพื้นที่ได้สอบถามเเละเเสดงความเห็นกันรอบด้านเเละได้ตอบเเบบสอบถามในการเเสดงความเห็นโดยไม่มีเหตุใดๆในพื้นที่เวทีจัดงาน

 

logoline