svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

พิษโควิด-เศรษฐกิจ ผลักเด็กหลุดจากระบบการศึกษา

22 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มีข้อมูลที่น่าสนใจ พบว่าช่วงโควิดระบาด2-3ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก พ่อแม่สบปัญหาเศรษฐกิจส่งเรียนไม่ไหว เด็กเรียนออนไลน์ไม่เข้าใจ สุดท้านพากันเข้ามาอยู่ในระบบกศน. สถิติพบว่าเพิ่มขึ้นทุกปี

ศาลาประชาคมหมู่บ้านภายในชุมชนแสงทองประชาสรรค์ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น คือห้องเรียนอีกรูปแบบหนึ่งของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.บ้านไผ่ นักเรียนที่นี่มีความหลากหลายทั้งเพศ อายุ ครอบครัว การมาอยู่รวมกันทำให้คุณครูต้องออกแบบการเรียนการสอนให้นั่งเรียนแบบโต๊ะกลมจับกลุ่มกลุ่มทำรายงานเพื่อความคุ้นเคย เพราะในหนึ่งสัปดาห์จะได้เจอกันเพียง1-2วันเท่านั้น 

พิษโควิด-เศรษฐกิจ ผลักเด็กหลุดจากระบบการศึกษา

นางสาวอุบล สีหา ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านไผ่ เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า เด็กส่วนใหญ่ในกศน.ส่วนหนึ่งหลุดออกมาจากระบบการศึกษาในโรงเรียนปกติช่วงสถานการณ์โควิดระบาด ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจ พ่อแม่ส่งเรียนไม่ไหว ลูกติดศูนย์ ติด ร.เพราะเรียนออนไลน์ไม่เข้าใจ สุดท้ายเด็กกลุ่มนี้ก็เข้ามาอยู่ในระบบกศน. ซึ่งสถิติพบว่ามีมากขึ้นทุกปี 

พิษโควิด-เศรษฐกิจ ผลักเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
 

นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษา ฐานะทางครอบครัวไม่เอื้อให้เรียนในระบบที่มีค่าใช้จ่ายสูง จึงจำเป็นต้องเรียน กศน. และทำงานหาเงินไปด้วย เช่นเดียวกับ นายสามารถ ชัยวิชา อายุ 25 ปี ที่ทำงานขับแกร๊บส่งอาหาร และทำงานสถานบันเทิงร่วมด้วย โดยบอกว่า แม่ย้ายถิ่นฐานมาจากพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อกลับมาบ้านเกิดที่บ้านไผ่ จึงย้ายตามแม่มา และไม่ได้เรียนต่อ ที่ผ่านมาไปสมัครงานที่ไหนไม่ค่อยมีคนรับเพราะไม่มีวุฒิการศึกษา จึงตัดสินใจมาเรียนที่ กศน.บ้านไผ่ หากจะเรียนในระบบปกติก็อายุมากแล้ว ประกอบกับฐานะทางบ้านไม่เอื้ออำนวย

พิษโควิด-เศรษฐกิจ ผลักเด็กหลุดจากระบบการศึกษา

ไม่ต่างจากนางสาวกุสุมา แต่งโยธา อายุ 20 เปิดเผยว่า ตนเองเรียนจบ ม.3 จึงตัดสินใจมาเรียนกศน. เพราะต้องการแบ่งเบาภาระทางบ้าน ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งการเรียน จึงทำควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง เพราะต้องการวุฒิการศึกษาต่อยอดสมัครงานเพื่อจะได้มีเงินเดือนที่มากขึ้น

พิษโควิด-เศรษฐกิจ ผลักเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
 

ด้านวิเชียร  ถิ่นไผ่งาม ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน หรือกศน. อ.บ้านไผ่ เปิดเผยว่า ตนเองรับผิดชอบดูแลนักเรียน 80 กว่าคน ยอมรับว่าครูกศน.ทำงานหลายหน้าที่ทั้งสอนหนักสือ และดูแลด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการรับสมัครเด็กนักเรียนไม่ได้รอให้ผู้ปกครองพามาสมัครอย่างเดียว บางครั้งคุณครูต้องลงพื้นที่ตามชุมชน หมู่บ้าน เพื่อเชิญชวนเด็กเข้ามาเรียน บางคนจบมานานวุฒิการศึกษาก็ไม่มี ครูกศน.ต้องเป็นธุระดำเนินการให้ 

พิษโควิด-เศรษฐกิจ ผลักเด็กหลุดจากระบบการศึกษา


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเรียน กศน.แต่มีศิษย์เก่าจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จ สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย และศึกษาต่อจนจบ กระทั่งมีการงานอาชีพมั่นคง โรงเรียนกศน.ทุกแห่ง จึงเปรียบเสมือนที่พึ่งของเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษา ไม่เพียงเท่านี้ทางโรงเรียนยังมีการจัดอบรมหลักสูตรฝึกอาชีพ เพื่อให้มีความรู้ติดตัวก่อนเรียนจบด้วย 

พิษโควิด-เศรษฐกิจ ผลักเด็กหลุดจากระบบการศึกษา

สุริยา ปะตะทะโย ศูนย์ข่าวภาคอีสาน เนชั่นทีวี รายงาน
 

logoline