svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น

17 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ไม่กล่าวหาคดีมันเส้น จงใจละเว้นหน้าที่ ดักคอหวั่นซ้ำรอยคดีไม้ล้างป่าช้า GT-200 เล่นงานแค่ผู้ปฏิบัติงานแต่ปล่อยผู้มีอำนาจ ย้ำความจำเป็นเปลี่ยนที่มา ป.ป.ช. ควรยึดโยงปชช.

16 ธันวาคม 2565 นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เลื่อนพิจารณาชี้มูลคดีการระบายมันสำปะหลังในสต็อกรัฐบาล หรือ “คดีมันเส้น” โดยยังไม่มีมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหารายใด
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
รายงานข่าว ระบุว่า ประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ คือการพิจารณาสำนวนกรณีกล่าวหา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสําปะหลัง เนื่องจากกรรมการ ป.ป.ช. บางรายทักท้วงว่า ในขั้นตอนการไต่สวน ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหานายไตรรงค์ แต่กลับแจ้งข้อกล่าวหาผู้เกี่ยวข้องระดับสูงสุด แค่ปลัดกระทรวงเท่านั้น โดย ป.ป.ช. เลื่อนการลงมติชี้มูลออกไปเป็นวันที่ 19 ธ.ค.นี้

นายจิรัฏฐ์ กล่าวว่า การตัดผู้ต้องสงสัยออกด้วยการไม่กล่าวหาความผิด ไม่เป็นคุณแต่อาจเป็นโทษ เพราะการไม่กล่าวหา เป็นการสรุปไปก่อนการไต่สวนจริงแล้วว่า บุคคลนั้นบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคล ที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจจนนำไปสู่การทุจริตและสร้างความเสียหายแก่ประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องรีบตัดความเป็นไปได้นี้ออก อีกทั้งการกล่าวหาความผิด หรือแม้แต่การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. ก็ไม่ได้ถือเป็นที่สิ้นสุด ยังมีกระบวนการต่อสู้คดีในชั้นอัยการและชั้นศาลอีกนาน กว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
“การประชุมในวันที่ 19 ธ.ค. หาก ป.ป.ช. เลือกที่จะละเว้นการเรียกไต่สวน ชี้มูล และกล่าวหานายไตรรงค์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายมันสําปะหลัง ในขณะเกิดการทุจริตนั้น จะถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ให้รับโทษทางวินัยหรือทางอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และกระทำฐานจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 25 รวมถึงจงใจไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อที่ 13 หรือไม่” นายจิรัฏฐ์ กล่าว

นายจิรัฏฐ์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องไม่ทำให้เรื่องนี้ซ้ำรอยคดีทุจริตจัดซื้อ GT200 ที่ ป.ป.ช. ใช้เวลากว่า 10 ปีสืบหาความจริง แต่กลับได้ข้อสรุปสั้น ๆ เพียงว่าความเสียหายจากการทุจริตจัดซื้อ GT200 เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่เท่านั้น โดยต้นปี 65 ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ปิดคดีทุจริตจัดซื้อ GT200 โดยมีมติชี้มูลความผิดทั้งหมดแก่เจ้าหน้าที่ในระดับผู้ปฏิบัติงานไม่กี่คน ทั้งที่บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
ในขณะที่กระบวนการพิจารณาไม่มีการเรียกไต่สวนหรือกล่าวหา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบกในขณะนั้น ในฐานะผู้ลงนามอนุมัติหลักการ และอนุมัติจัดซื้อ GT200 เกือบทั้งหมด ทั้งที่ลายมือลงนามอนุมัติสั่งซื้อของทั้ง 3 คน ปรากฏชัดเจนอยู่ในเอกสารหลักฐานการจัดซื้อ GT200 แต่เมื่อมีมติชี้มูลความผิด ป.ป.ช. ไม่เอ่ยชื่อคนอนุมัติสั่งซื้อทั้ง 3 เลยแม้แต่คำเดียวในเอกสารสำนวนหลายร้อยหน้า 
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
“การประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 19 ธ.ค. หากผลเป็นไปตามแนวโน้มที่กล่าวมา จะเกิดคำถามตัวโต ๆ ในสังคมว่า การที่นายไตรรงค์ รอดจากการถูก คณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวหาและไต่สวนคดีมันเส้นครั้งนี้ เป็นเพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งจะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งนายไตรรงค์ ให้มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ใช่หรือไม่” นายจิรัฏฐ์ ระบุ
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
นายจิรัฏฐ์ กล่าวต่อว่า พรรคก้าวไกลเห็นปัญหาการทำงานของ ป.ป.ช. ในรูปแบบปัจจุบัน ที่กรรมการทุกคนถูกรับรองโดย ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทำให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยถึงความเป็นกลางและมาตรฐานในการทำงาน เราจึงเสนอนโยบายปรับกระบวนการสรรหา ให้กรรมการ ป.ป.ช. 9 คน มีที่มาที่หลากหลาย ยึดโยงประชาชน และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ผ่านการเสนอชื่อจากทั้งผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน และจากที่ประชุมศาล
"ก้าวไกล" กังขา "ป.ป.ช." ด่วนตัดชื่อ "ไตรรงค์" ชี้มูลความผิดคดีมันเส้น
โดยทุกคนที่จะรับตำแหน่ง ต้องผ่านการรับรองโดยเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงเพิ่มกลไกในรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนริเริ่มกระบวนการถอดถอน ป.ป.ช. ได้ ผ่านการเข้าชื่อ 20,000 รายชื่อ คล้ายกับกลไกที่เคยมีในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่า ป.ป.ช. จะทำงานอย่างเข้มข้นในการตรวจสอบทุกรัฐบาล ทุกหน่วยงาน ทุกบุคคล อย่างไร้ข้อยกเว้น

logoline