svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ก้าวไกล"หารือกลุ่มไฟฟ้าฯเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

20 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"พิธา ลิ้มเจริญรัตน์-ศิริกัญญา ตันสกุล" พบกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หารือแนวทางยกระดับเทคโนโลยีประเทศ ให้สอดรับกับโลกอนาคต ในการทำเศรษฐกิจคาร์บอนเป็นศูนย์

20 กันยายน 2565 "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย "น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล" ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าพบ "ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์" ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ

 

"ก้าวไกล"หารือกลุ่มไฟฟ้าฯเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

 

โดย นายพิธา กล่าวว่า หลังจากปิดสมัยประชุมสภา ตนได้นั่งรถไฟไปพบกับมุขมนตรีและสภาอุตสาหกรรมของปีนัง เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ต่อเนื่องกันในวันนี้ (20ก.ย.) จึงได้ขอเข้าพบประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ ซึ่งภาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนที่มีความสำคัญกับประเทศ

 

ทั้งนี้ เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกกว่า 2.2 ล้านล้านบาท และจ้างงานถึง 750,000 คน ในวันนี้จึงได้มาหารือถอดบทเรียนการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอด 40 กว่าปีที่ผ่านมา และทำให้ได้เข้าใจถึงสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมในไทยต้องสู้มาตลอดหลายสิบปี เช่น
 

1) โครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับสินค้าสำเร็จรูป ถึงแม้เรื่องนี้จะมีมาตรการมารับมือบ้างแล้ว แต่ก็ทำให้สินค้าแบรนด์ของไทยเอง ไม่สามารถตั้งไข่ได้ในยุคแรกเริ่ม ผลทำให้ธุรกิจที่ต้องการขายสินค้าให้ตลาดไทย จึงมีการย้ายฐานการผลิตไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน และส่งออกกลับมาไทยมีความคุ้มค่ามากกว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงการคลังได้มีการออกระเบียบมาช่วยผู้ประกอบการเรื่องนี้

 

"ก้าวไกล"หารือกลุ่มไฟฟ้าฯเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

 

2) เรื่องมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ไทยมีมาตรฐานบังคับของสินค้าอุตสาหกรรมไม่มากเพียงพอจะป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำจากต่างประเทศ เช่น RoHS ฯลฯ ทำให้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสารต้องห้าม เข้ามาตีตลาด หรือนำเข้าเป็นขยะเข้ามาเลยได้ ในขณะที่ผู้ประกอบการส่งออกของไทย ต้องทำตามมาตรฐานที่สูงของต่างชาติในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ให้ไม่มี ตะกั่ว ปรอท และแคดเมี่ยม เพื่อการส่งออก ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงกว่า

 

3) ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีในทุกระดับนับแสนคน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงอาชีวะ และวิศวกร ทำให้ต่างชาติไม่สนใจที่จะมาลงทุนในไทย และภาครัฐก็ไม่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้มีความพยายามอย่างจริงจังที่จะพัฒนาบุคลากรด้าน STEM มีความพยายามในอดีตที่ผ่านมา ที่จะนำอาชีวะจากต่างชาติเข้ามาเรียนในโรงงาน เพื่อช่วยงานในอุตสาหกรรม ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในวงกว้างได้ เพราะขาดการประสานงานกันระหว่างการอาชีวะ กระทรวงแรงงาน ทำให้ภาคธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการกับภาครัฐเสี่ยงผิดกฎหมายแรงงานเสียเอง  
 

นอกจากนี้ จากการถอดบทเรียนร่วมกันยังทำให้ได้เห็นภาพว่า ภาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่รองรับการเข้าสู่เศรษฐกิจที่คาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Industries ที่ทั้งโลกต้องแข่งกันในอนาคต ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า โซลาร์เซลล์ SMART Grid ต่างๆ ก็เป็นอิเล็กทรอนิกส์เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการแปลงและควบคุมพลังงานไฟฟ้า หรือ Power Electronics ที่ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำได้

 

"ก้าวไกล"หารือกลุ่มไฟฟ้าฯเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

 

อย่างไรก็ตาม หรือแม้แต่การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ใช้เทคโนโลยีที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ก็สามารถเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ดี ลดการทำเหมืองแร่ได้ โดยในรายงานของ UNEP ระบุว่า ในขยะอิเล็กทรอนิกส์มีแร่ทองคำต่อน้ำหนักมากกว่าสินแร่ทองคำในการทำเหมืองทองคำจริงๆ ถึง 100 เท่า

 

"ก้าวไกล"หารือกลุ่มไฟฟ้าฯเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

logoline