svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นักวิชาการชี้ นโยบาย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ฉุด ศก. ลงเหว!

07 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มธ. ประเมิน นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทของพรรคเพื่อไทย ส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งค่าครองชีพสูง เพิ่มความเหลื่อมล้ำ ชี้ภาคธุรกิจจะไม่ง้อแรงงาน และ หันใช้เทคโนโลยี มาทดแทนมากขึ้น

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการคณะทำงานจัดการองค์ความรู้และสื่อสารสาธารณะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์นโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 600 บาทต่อวัน ของพรรคเพื่อไทย ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า  ในช่วงเวลาที่ผ่านมา นโยบายการปรับขึ้น ค่าแรงแบบก้าวกระโดด มักดีต่อพรรคการเมือง แต่ไม่เป็นผลดี กับ ประขาชน เพราะเมื่อผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงขึ้น ค่าครองชีพก็จะปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ธุรกิจรายเล็กไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้ก็ต้องปิดตัวลง

โดยนโยบายค่าแรง ที่กระโดดเป็น 600 เท่ากันทั่วประเทศนั้น จะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำย้อนกลับ เพราะทำลายโอกาสการได้งาน ในจังหวัดที่ไม่ใช่แม่เหล็ก ทางเศรษฐกิจ คนจะเดินทาง มาหาโอกาสทำงานในจังหวัดที่เจริญแล้ว เพราะน่าจะมีความสามารถ ในการจ่ายได้มากกว่า เมื่อแรงงานออกจากจังหวัด ความเจริญก็ไหลออกตามมาด้วย กำลังซื้อในจังหวัดจะลดลง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ด้านรายได้ระหว่างจังหวัดมากขึ้น

สำหรับภาคธุรกิจเอง นโยบายเช่นนี้จะเป็นแรงกดดันให้เกิดการจ้างงานน้อยลง จะเห็นได้จากหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ภาคธุรกิจได้เปลี่ยนมาใช้ เทคโนโลยีแทนแรงงาน ซึ่งมีความคุ้มค่าและต้นทุนต่ำในระยะยาว  ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ ธุรกิจต่างชาติอาจะเลือกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า อย่างเวียดนาม และยังเป็นโอกาสให้แรงงานผิดกฎหมายไหลเข้าไทยมากขึ้น ซึ่งแรงงานเหล่านี้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามกฎหมาย

ดร.เกียรติอนันต์  กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ค่าครองชีพที่จะปรับขึ้นอย่างแน่นอน และอาจนไปสู่โครงการประชานิยม ดูแลค่าครองชีพจากรัฐบาลไม่จบสิ้น  และ การขึ้นค่าแรงเช่นนี้ก็ไม่ได้การันตีได้ว่า แรงงานไทย จะได้งานทุกคน เพราะภาคธุรกิจต่างๆเริ่มมีทิศทางการจ้างงาน ในกลุ่มแรงงานฝีมือ ที่มีทักษะมากกว่า

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

logoline