svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"มีดอรัญญิก-มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว" 2 SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

12 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาเอสเอ็มอี ปลื้ม งานการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา” สุรินทร์ โมเดล 2” ล้นทะลักเกินโค้วต้า ประธานชุมชนผลิตมีดอรัญญิก เผยสุดดีใจที่ได้ร่วมงาน หลังโควิดทำตลาดซบเซา ขณะผู้จัดการสหกรณ์ฯประสานกสิกิจ ตั้งเป้า "มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว" ลุยตลาดอาเซียนเต็มตัว

การจัดงานมหกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาหรือ "สุรินทร์ โมเดลเฟส 2” ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2565 ณ ตลาดการค้าอาเซียน ด่านช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ โดยสภาวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมไทยร่วมกับคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร จ.สุรินทร์และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้จัดขึ้น เริ่มมีความคึกคัก

 

โดยในส่วนของสภาเอสเอ็มอีไทย ปรากฎว่า มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากทั่วประเทศต่างให้ความสนใจตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ล่าสุดเกือบ 100 ราย ซึ่งเกินโควตาที่กำหนดไว้ไม่เกิน 80 รายเท่านั้น โดยแบ่งเป็นหมวดต่างๆ ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 47 ราย หมวดเสื้อผ้าและของใช้ในบ้าน 14 ราย หมวดสมุนไพร ยาและเวชภัณฑ์ 6 ราย หมวดวัสดุก่อนสร้าง 3 รายและหมวดเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3 รายและบางรายอยู่ระหว่างการตัดสินใจ

"มีดอรัญญิก-มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว" 2 SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

นายไพบูลย์ ศรีสุข ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมมีดอรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา หนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานครั้งนี้เผยว่ารู้สึกดีใจที่มีโอกาสได้เข้าร่วมงานครั้งนี้ ปกติจะไปออกงานที่เมืองทองธานีเป็นประจำ แต่หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด เพราะไม่มีการออกงานที่ใดอีกเลยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตลาดมีดก็ซบเซาไปด้วย ขณะเดียวกันก็ไม่มีนักท่องเที่ยว ผู้สนใจมาดูงาน ทำให้การค้าขายมีดไม่ดีเหมือนแต่ก่อน

“ช่วงโควิดระบาดหนัก ๆ  ไม่มีนักท่องเที่ยวค้าขายลดน้อยลง คนทำมีดก็เหลือน้อยลงเขาไปหาอย่างอื่นทำแทน ตอนนี้มีเพียง 2หมู่บ้านในตำบลท่าช้างที่มีอาชีพทำมีดอย่างเดียว เพราะเขาไม่มีที่นาหรืองานอย่างอื่นทำคือบ้านต้นโพธิ์และบ้านไผ่หนอง  ส่วนวิธีการทำสมัยนี้ก็ต่างจากสมัยก่อน ซึ่งสมัยนี้ใช้ระบบไฟฟ้าหมดแล้วต่างจากกับสมัยก่อนใช้แรงคนทำ ปัจจุบันมีไว้ทำโชว์นักท่องเที่ยวเท่านั้น”นายไพบูลย์เผย

"มีดอรัญญิก-มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว" 2 SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมมีดอรัญญิก ยังระบุอีกว่าด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทำให้การผลิตมีดอรัญญิกในวันนี้ได้เปลี่ยนเป้าหมายจากเดิมผลิตมีดอย่างเดียวก็กับมาผลิตวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือทำการเกษตรมากขึ้น อย่างเช่น จอบ เสียม พร้า  สำหรับใช้งานภาคการเกษตร นอกจากนี้ยังมีมีดทำครับและอุปกรณ์ชุดครัว อาทิ ช้อนซ้อม สินค้ากลุ่มนี้จะเป็นแฮนเมดเน้นตลาดส่งออกเป็นหลัก 

 

“ที่ขายดีอย่างชุดช้อมซ้อมแฮนเมด คู่ละ 200 จะทำส่งญี่ปุ่นเป็นหลัก แล้วยังมีกลุ่มลูกค้าซื้อเป็นของฝากของขวัญ ช่วงนี้จะสั่งซื้อให้ผู้เกษียณอายุราชการกันเยอะพอสมควร” นายไพบูลย์กล่าวและยังวางเป้าขยายการตลาดสินค้าไว้ที่กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วย ดังนั้นงานสุรินทร์ โมเดลเฟส2 จึงเป็นช่องทางในการขยายตลาดมีดอรัญญิกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เนื่องจากมีความต้องการใช้เครื่องมือทำการเกษตรสูงมาก จึงอยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจมาเที่ยวหมู่บ้านการผลิตมีดอรัญญิกที่บ้านต้นโพธิ์และบ้านไผ่หนอง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งขณะนี้ให้เยี่ยมชมทุกวันตามปกติหรือเจอกันในงานสุรินทร์ โมเดลเฟส 2 ปลายเดือนนี้

"มีดอรัญญิก-มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว" 2 SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

"มีดอรัญญิก-มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว" 2 SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

ขณะที่ นายศักดา เนติพัฒน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรประสานกสิกิจ จำกัด อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ผู้ประกอบการอีกรายที่เข้าร่วมงานนี้กล่าวว่ามะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วเกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นพันธุ์ต้นเตี้ย ผลมีลักษณะกลมรี ก้นจีบ 3 จีบอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นคุณลักษณะของพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว มีรสชาติหอม หวานอร่อย มีจุดเด่นต่างจากมะพร้าวน้ำหอมที่อื่น นอกจากมะพร้าวน้ำหอมแล้ว สหกรณ์ฯก็ยังมีมผลิตภัณฑ์เด่นอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ น้ำตาลช่อดอกมะพร้าว น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลไซรับ ปลาสลิด กุ้ง เป็นต้น

 

“ที่นี่เป็นดินแดน 3 น้ำคือน้ำเค็ม น้ำจืดและน้ำกร่อยมารวมกัน ทำให้มะพร้าวบ้านแพ้วจึงมีรสชาติหอมหวานอร่อย อย่างน้ำตาลช่อดอกมะพร้าวตอนนี้ผลส่งออกไปยังเปรู ประเทศอเมริกาใต้  ขณะนี้ก็กำลังขยายมาทางประเทศในอาเซียน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียด้วย”ผู้จัดการสหกรณ์ฯคนเดิมกล่าวและว่าข้อดีของน้ำตาลไซรับจากดอกมะพร้าวคนเป็นเบาหวานก็สามารถบริโภคได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้จะส่งตามร้านกาแฟเป็นหลัก

"มีดอรัญญิก-มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว" 2 SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

สำหรับสหกรณ์การเกษตรประสานกสิกิจ จำกัดเดิมชื่อสหกรณ์ประสานกสิกิจ ไม่จำกัดสินใช้ เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2484 โดยพระยาประสานสิริราษฎร นายอำเภอบ้านแพ้วในสมัยนั้น ก่อตั้งขึ้นเป็นไปตามหลักสหกรณ์รวมซื้อ รวมขาย หาตลาดจำหน่ายให้แก่สมาชิก โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 108 ราย ปัจจุบันมีสมาชิก 300 กว่าคน ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนมะพร้าวน้ำหอม เลี้ยงกุ้งขาวและปลาสลิด  

 

“ช่วงโควิด-19ระบาดหนักๆ ไม่มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา มะพร้าวเริ่มด็อบลง จากราคาลูกละ 15-20 บาทช่วงก่อนโควิด วันนี้เหลือลูกไม่ถึง 10 บาท ก็อยากขบอคุณสภาเอสเอ้มอีไทยที่ให้โอกาสกลุ่มเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวบ้านแพ้วไปออกบูธในงานสุรินทร์ โมเดลเฟส 2 คิดว่าจะเป็นโอกาสดีในการขยายตลาดมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาด้วย”นายศักดากล่าวย้ำ

 

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาหรือสุรินทร์ โมเดลเฟส2 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2565 ณ ตลาดการค้าอาเซียน ด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์นั้น ภายในงานพบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี(SMEs) จากทั่วประเทศที่ขนสินค้าประเภทอาหาร เกษตรแปรรูป สิ่งทอ เครื่องประดับ พร้อมกิจกรรมอื่นๆ มากมาย อาทิ การสัมมนา Online Hybrid กิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจการค้าระหว่างนักธุรกิจไทย กับ นักธุรกิจกัมพูชาและพบกับสินค้าคุณภาพมากมายที่จะมาจัดกิจกรรมการตลาดแบบเทขายราคาถูกตลอด 3 วัน

logoline