svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

คลอด พ.ร.บ.ป้องกันทำผิดซ้ำทางเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง ประกาศลง"ราชกิจจาฯ"

26 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงปี 65 โดยให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565  "ราชกิจจาฯ" ได้เผยแพร่  พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕   โดยให้มีผลบังคับเมื่อพ้นก้าหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

เนื้อความโดยสรุป ดังนี้  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิด เกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พระราชบัญญัตินี้ มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจ้ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

 

ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๘ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อใช้เป็นบทบัญญัติในการป้องกันและเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรม สร้างความปลอดภัยให้สังคม แก้ไขปัญหาและลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้ สอดคล้องกับเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

 

คลอด พ.ร.บ.ป้องกันทำผิดซ้ำทางเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง ประกาศลง\"ราชกิจจาฯ\"

 

คลอด พ.ร.บ.ป้องกันทำผิดซ้ำทางเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง ประกาศลง\"ราชกิจจาฯ\"

 

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า "พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำ ความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕"

 

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นก้าหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับแก่การกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๗๘ มาตรา ๒๗๙ มาตรา ๒๘๓ ทวิ มาตรา ๒๘๔ มาตรา ๒๘๘ มาตรา ๒๘๙ มาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๗ มาตรา ๒๙๘ และมาตรา ๓๑๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีศาลมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตราหนึ่งมาตราใดตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง แม้ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษในความผิดอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในวรรคหนึ่งก็ตาม ก็ให้นำพระราชบัญญัตินี้ ไปใช้บังคับด้วย

 

มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดตามบทบัญญัติมาตราหนึ่ง มาตราใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓ ในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี

 

มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้

"คุมขัง" หมายความว่า การควบคุมนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษหรือผู้ถูกเฝ้าระวังไว้ ในเขตกำหนดเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ  

 

"ศาล" หมายความว่า ศาลยุติธรรมที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันการกระท้าความผิดซ้ำ 

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมคุมประพฤติ

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๖ บทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาใดซึ่งพระราชบัญญัตินี้ มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี

 

มาตรา ๗ ให้ประธานศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอัยการสูงสุด รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอ้านาจของตน  ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีอ้านาจออกข้อบังคับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวง และอัยการสูงสุดมีอำนาจออกข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอ้านาจของตน ข้อบังคับและกฎกระทรวงนั้น  เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

สำหรับ  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้  คือ เนื่องจากผู้กระทำความผิดอาญา บางประเภทที่เกี่ยวข้องกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิด ทางเพศกับเด็ก การฆาตกรรม การท้าร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่ เมื่อถูกจำคุกจนพ้นโทษและได้รับ การปล่อยตัวสู่สังคมแล้ว

 

"น.ส.รัชดา  ธนาดิเรก" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ด้าน "น.ส.รัชดา  ธนาดิเรก" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า  กฎหมายฉบับนี้ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง อาทิ

 

1.กำหนดให้มีคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ มีหน้าที่ เช่น กำหนดนโยบายและแผนการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิด ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ และคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ มีหน้าที่ เช่น กำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ เป็นต้น

 

2.มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด เช่น พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ใช้มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ ด้วยมาตรการทางการแพทย์ หรือมาตรการอื่นๆ ที่รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมกำหนดในกฎกระทรวง

 

3.มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ หากมีเหตุให้เชื่อว่านักโทษเด็ดขาดจะกระทำความผิดซ้ำภายหลังพ้นโทษ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษได้ เช่น ห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหาย ห้ามทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด ห้ามเข้าเขตกำหนด ห้ามออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ห้ามก่อให้เกิดอันตรายต่อละแวกชุมชนที่ตนพักอาศัย ให้พักอาศัยในสถานที่ที่กำหนด เป็นต้น

 

4.มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ ศาลอาจมีคำสั่งให้ใช้มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษแก่นักโทษเด็ดขาด หากศาลเห็นว่ามีเหตุเชื่อได้ว่าผู้นั้นจะไปกระทำความผิดซ้ำ และไม่มีมาตรการอื่นใดที่อาจป้องกันไม่ให้ไปกระทำความผิดได้

 

5.การคุมขังฉุกเฉิน กรณีมีเหตุเชื่อได้ว่าผู้ถูกเฝ้าระวังจะกระทำความผิดและมีเหตุฉุกเฉิน หากไม่มีมาตรการอื่นที่อาจป้องกันไม่ให้ผู้ถูกเฝ้าระวังกระทำความผิดได้ เมื่อพนักงานอัยการร้องขอ ศาลอาจสั่งคุมขังฉุกเฉินผู้ถูกเฝ้าระวังได้ไม่เกิน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง

 

ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวไปใช้บังคับกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล รวมถึงกรณีที่จะมีการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตามที่กำหนดอยู่ในวันก่อนวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับด้วย

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม>>>

พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕

logoline