svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

นับถอยหลังวันศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตา "8 ปีนายกฯ" กับปมปัญหายึดตามมาตราในรธน.

16 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายการคมชัดลึก ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวีออนไลน์ ดำเนินรายการโดย วราวิทย์ ฉิมมณี เชิญ "สมชาย แสวงการ" วุฒิสมาชิก และ"สมชัย ศรีสุทธิยากร" อดีตกกต.ร่วมกันวิเคราะห์การวินิจฉัยของศาลรธน.ปม 8 ปีนายกฯ วันที่ 30 ก.ย.นี้ จะเป็นไปในทิศทางใด (ชมคลิป)

 

สมชัย ถาม “ประยุทธ์” ไม่นับนายกฯ ปี 57 แต่รับเงิน 2 ทาง

 

"สมชัย ศรีสุทธิยากร" -  ประเด็นที่หนึ่ง 22 มิถุนายน ปี 57 ท่านยืดอำนาจเป็นหัวหน้า คสช. ผมยอมรับว่าท่านไม่ใช่นายกรัฐมนตรีแต่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ คือมีอำนาจรัฐอยู่ในมือจะทำอะไรก็ได้ตราบใดก็ตามที่ท่านไม่มีรัฐธรรมนูญฉนับชั่วคราว ตราบใดก็ตามถ้าท่านไม่มาขอให้สนช.ลงมติเพื่อเลือกให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านยังคงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ตลอดไป แต่คำถามคือทำไมท่านจะต้องให้สนช.หรือสภานิติบัญญัติมาลงมติเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี เอาตำแหน่งนี้ทำไมละ พอเอาตำแหน่งนี้มันแปลว่าท่านมีตำแหน่งทั้งสองอย่าง

 

นับถอยหลังวันศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตา "8 ปีนายกฯ" กับปมปัญหายึดตามมาตราในรธน.

 

กล่าวคือ เป็น"หัวหน้าคสช."และก็เป็น"นายกรัฐมนตรี"ด้วย และกินเงินเดือนสองทางเลยนะ 124,900 บาทท  างนี้ก็รับทางนั้นก็รับ เพราะฉะนั้นตรงนี้แปลว่า ความเป็นนายกรัฐมนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงนั้นแล้ว ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2557 แล้วก็เป็นมาเรื่อยๆจนถึงการเลือกตั้งปี 62 ท่านก็เป็นต่อ ดังนั้นท่านไม่ได้หายไปไหน ถ้าท่านเป็นหัวหน้าคสช.อย่างเดียว อยู่ตลอดตลอดไปเลยไม่ต้องมีนายกรัฐมนตรีไม่มีใครว่าเลย จะไม่มีใครตั้งคำถามเลยว่าท่านอยู่มา 8 ปี ท่านเอาตำแหน่งนายกฯทำไม  ถ้าเก่งจริงก็ใช้ชื่อท่านผู้นำไปสิ เก่งจริงก็เป็นชื่อตำแหน่งใหญ่โตก็ทำไป จะไม่มีใครตั้งข้อสังเกตว่าท่านเป็นนายกฯครบ 8 ปีหรือไม่

 

แต่เมื่อมีกระบวนการแต่งตั้ง มี"สนช."ซึ่งก็เป็นคนตั้งเองก็ให้มาเลือกท่านเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อาจจะสง่างามไม่ถึงที่สุดเพราะยังไม่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไปร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นตรงนี้อยู่ที่ว่าการใช้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นหรือไม่เป็น แล้วเจตนาของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเจตนาที่ต้องการให้แก้ปัญหาทางการเมือง จากการผูกขาดอำนาจทางการเมืองยาวเกินไปหรือเปล่า

สมชัย  ศรีสุทธิยากร  อดีตกรรมการการเลือกตั้ง และสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย

"สมชัย ศรีสุทธิยากร" - ผมมองว่ารัฐธรรมนูญ เขียนมาเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  การมีรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการมีปัญหาทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะฉะนั้นเมื่อเขียนแล้วรัฐธรรมนูญก็ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างในกรณีของมาตรา 158 วรรคสี่ เขาก็มีคำอธิบายที่ชัดเจนในเชิงเจตนารมณ์บอกว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดอำนาจทางการเมืองยาวนานเกินไป จนกระทั่งเป็นวิกฤติของบ้านเมือง เป็นวิกฤตการณ์ทางการเมือง

 

เพราะฉะนั้นต้องมองครับว่าวิกฤติเกิดขึ้นจากอะไร   เพราะอยู่นานใช่หรือเปล่าของอำนาจนานใช่ไหม แล้วในกรณีแบบนี้ คุณครองอำนาจในฐานะที่เป็นคณะรัฐประหารมาแล้วตั้ง 5 ปี แล้วคุณยังจะมาอ้างอีกหรือว่าคุณจะอยู่อีก 8 ปีจากการเลือกตั้ง ก็ยิ่งสร้างความขัดแย้งในบ้านเมืองเกิดขึ้น ตรรกะบอกว่าต้องอ่านมาตรา 158 ให้ครบทั้งสี่วรรค ผมว่าถ้าตีแบบนี้ยิ่งวินาศไปใหญ่ มาตรา 158 ต้องเป็นการเลือกนายกฯตามมาตรา 159 พอมาดูมาตรา 159 เป็นการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร คำถามคือปี 62 ไม่ได้เลือกสภาผู้แทนราษฎรแต่เลือกจากส.ว. บทเฉพาะกาลมาตรา 272

 

แล้วถ้าปี 66 โดยกำหนดให้หลักการให้พรรคการเมืองต้องเปิดเผยรายชื่อบุคคลชื่อพรรคการเมืองมีมติ โดยกำหนดให้หลักการให้พรรคการเมืองต้องเปิดเผยรายชื่อบุคคลชื่อพรรคการเมืองมีมติว่าจะให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรมี จำนวน 19 ฉบับที่แล้วทั้งหมด และวิธีการ ไม่วินาศหรือ  ก็ยังเป็นส.ว.เหมือนเดิมเมื่อไม่ยอมแก้รัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น หมายความว่า ถ้าตีความเอาทุกวรรคในมาตรา 158 และมาตรา 159 นายกฯที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งหน้าปี 66 ก็ยังไม่เริ่มนับหนึ่ง ดังนั้นถ้า"พล.อ.ประยุทธ์" ยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังสามารถลุ้นต่อไปได้ถึงปี 70 เลย ปี 70 ถึงจะเป็นจุดเริ่มต้นไปอีก 8 ปี เพราะฉะนั้นท่านจะอยู่ได้ถึงปี 78 ถ้าเอาอย่างนี้ไป


สมชาย  แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา

 

ส.ว.สมชาย อ่านรัฐธรรมนูญและเจตนารมณ์ ทุกมาตรา นายกฯ อยู่ต่อ  

 

"สมชาย แสวงการ" - บทเฉพาะกาลเขียนไว้ว่าเฉพาะกาล จะเฉพาะกาล เช่นบางเรื่องปฏิรูปภายใน 1 ปีให้ออกกฎหมายเรื่องตำรวจ มีมาตรา 272 เรื่องที่อาจารย์พูดนี่แหละโดยเป็นคำถามพ่วงผ่าน 15,100,000 กว่าเสียง  บอกให้เอามา โดยใส่มาด้วย เพราะฉะนั้นจึงเกิดมาตรา 158 159 88 ตามนี้ แต่ตามนี้เสร็จไม่พอมันมีมาตรา 272 มากำกับมาใช้ชั่วคราว  โอเคอาจจะเกี่ยวกับผมในปีหรือสองปีข้างหน้าก็ว่าไป แต่ผมหมดแล้วก็ต้องกลับมาใช้มาตรา 158 159 88 แต่ย้ำนะว่ามันไม่นับที่ปี 2570 มองข้อกฎหมายต่างกัน

 

นับถอยหลังวันศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตา "8 ปีนายกฯ" กับปมปัญหายึดตามมาตราในรธน.

 

ผมเรียนว่าจริงอยู่"พล.อ.ประยุทธ์" มายึดอำนาจ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ ซึ่งสนช.เลือก สนช.ไม่ได้เป็นรัฐสภาไม่ได้เป็นวุฒิสภา ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและลงนามโดยรับสนองโดยท่านประธานพรเพชร   ฉบับที่ 2 คือท่านชวน 9 มิถุนายน 2562 ถ้าจะนับว่า "พล.อ.ประยุทธ์" เป็นนายกเมื่อไหร่ ก็เรียกว่าหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ได้ เรียกว่าเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ บางประเทศเขาเรียกท่านผู้นำอะไรก็แล้วแต่ เป็นการยึดอำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่ถ้าจะนับจริงๆต้องนับที่ 22 พฤษภาคม 2557 ไม่ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีนะ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557  ล้มอำนาจบริหาร ล้มอำนาจตุลาการล้มอํานาจนิติบัญญัติ อันนี้มองทางนิติศาสตร์รัฐศาสตร์ได้   

 

ขออนุญาตทำไมถึงมองว่ามาตรา 158 159 และ 88 มันสัมพันธ์กัน แต่มันมี 272 มาทำให้เปลี่ยนมันเลยมี 2 ทฤษฎีอีกอันนึงก็คือว่าเดี๋ยว 264 มันก็เลยมาถูกตีความไปด้วยในเรื่องของการให้รักษาการ ผมตีว่าเมื่อดำรงตำแหน่งตามนี้คือต้องให้ 158 159 88 เป็นที่มาก่อน  จากนั้น 272 นำมาใช้บทเฉพาะกาลจึงต้องถูกนับ 1 ใหม่

 

ประการที่ 2 ผมเห็นด้วยที่เขียนไว้ในจุดมุ่งหมายรัฐธรรมนูญ คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้วางหลักการใหม่ในการแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งจะต้องเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 159 โดยกำหนดหลักการให้นักการเมืองต้องเปิดเผยรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคการเมืองมีมติว่าจะให้เสนอสภาผู้แทนราษฎร นี่ก็ต่างจากรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับที่แล้วทั้งหมดแล้ว

 

ชมคลิป >>>  ร่วมถกอนาคต "ประยุทธ์" 8 ปี

 


 

logoline