svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นายกฯ สั่งเบรกขึ้นค่าไฟงวดกันยายนนี้ พร้อมเร่งช่วย"กฟผ." แบกหนี้แสนล้าน

08 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายกฯ ห่วงการปรับขึ้นค่า ft สั่งเบรกขึ้นค่าไฟฟ้า งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 ย้ำหากยันขึ้นค่าไฟตามมติเดิม กระทรวงพลังงานต้องหามาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง รับห่วงสภาพคล่อง"กฟผ." เตรียมหาทางช่วยแบกรับหนี้เกือบแสนล้าน

8 สิงหาคม 2565 การขึ้นค่าไฟฟ้า ถูกสั่งเบรก ล่าสุด นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (ft) งวดเดือนก.ย.-ธ.ค. 2565 มาก โดยให้กระทรวงพลังงานดูในเรื่องของมาตรการรองรับช่วยเหลือ

 

ขณะนี้จะเร่งหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ส่วนผลจะออกมาตามมติบอร์กกพ. อนุมัติเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 ในอัตรา คือ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 68.66 สตางค์ต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันเดือนพ.ค.-ส.ค. 2565 ที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย และเมื่อรวมค่าไฟเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 4.72 บาทต่อหน่วย หรือไม่นั้น คงต้องหารือกันต่อไป

 

นายกฯ สั่งเบรกขึ้นค่าไฟงวดกันยายนนี้ พร้อมเร่งช่วย"กฟผ." แบกหนี้แสนล้าน

ทั้งนี้ เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน 3.79 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมที่ประชาชนต้องจ่ายจะอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงและผลจากเงินบาทที่อ่อนค่า โดยแนวทางนี้ถือเป็นอัตราต่ำสุด เพราะยังไม่มีการคืนหนี้ให้กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่แบกรับต้นทุนเชื้อเพลิงมาตั้งแต่ปี 2564 และการรับภาระงวดใหม่นี้ จะทำให้กฟผ.แบกรับภาระค่าเอฟทีราว 1.7 แสนล้านบาท

 

" การแบกรับภาระค่าเอฟทีของกฟผ. ยอมรับว่าก็มีความเป็นห่วงซึ่งรัฐบาลก็จะเข้ามาดูแล เพราะค่าเอฟทีจะกระทบไปถึงสภาพคล่องของกฟผ.ด้วย ภาครัฐจะต้องเข้าไปดูว่าในการที่กฟผ.ได้เข้าไปช่วยแล้วขาดอะไรไปบ้าง และจะต้องมีการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างไร ตอนนี้ก็กำลังทำมาตรการต่าง ๆ อาทิ เงินกู้เพิ่มเติม เป็นต้น "

 

นายกฯ สั่งเบรกขึ้นค่าไฟงวดกันยายนนี้ พร้อมเร่งช่วย"กฟผ." แบกหนี้แสนล้าน

นายกุลิศ กล่าวอีกว่า ท่านนายกฯ เป็นห่วงเรื่องผลกระทบ เพราะถ้าขึ้นแล้วจะมีมาตรการอะไรมาช่วยเหลือได้บ้าง ต้องหารือกกพ.เพราะเป็นหน่วยงานที่กำกับและดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ และหากขึ้นจะต้องดูมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดภาระผลกระทบตรงนี้ไปได้

 

ส่วนการจะทบทวนหรือปรับเปลี่ยนมติบอร์ดกกพ.ที่ออกไปแล้วหรือไม่นั้น ส่วนตัวจะไปก้าวล่วง เพราะเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของกกพ. รัฐบาลจะต้องดูคือถ้าขึ้นค่าเอฟทีจริง มาตรการที่รัฐจะต้องช่วยเหลือผลกระทบโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยจะต้องทำอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องหารือกันต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม การผลิตก๊าซธรรมชาติของแหล่งเอราวัณที่ยังไม่ได้ตามเป้าก็เป็นอีกสาเหตุ ซึ่งตอนนี้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. อยู่ระหว่างเร่งกำลังผลิต เพราะเมื่อของเดิมไม่ได้มีการขุดเพิ่ม จึงทำให้กำลังการผลิตลดลง ปตท.สผ.ได้เร่งกำลังผลิตขึ้นมา

 

จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับมาจากปตท.สผ.ระบุว่าอย่างน้อย ๆ กำลังผลิตสิ้นปี 2565 จะมีไม่ต่ำกว่า 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันมีกำลังผลิตที่ 300 กว่าล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  เพราะปตท.สผ.สามารถเข้าพื้นที่ได้วันที่ 24 เม.ย. 2565 จึงต้องใช้เวลาในการเริ่งกำลังผลิต มองว่าปตท.สผ.ก็ทุ่มเทกำลังต่าง ๆ ทั้งการนำเรือขุดและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามากและทำเต็มความสามารถอยู่แล้ว

นายกฯ สั่งเบรกขึ้นค่าไฟงวดกันยายนนี้ พร้อมเร่งช่วย"กฟผ." แบกหนี้แสนล้าน

รายงานข่าวระบุว่า โจทย์ที่รัฐบาลต้องการมี 2 แนวทาง คือ

  • 1. กกพ.พิจารณาแนวทางต่ออายุมาตรการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ประเภทบ้านอยู่อาศัย และประเภทกิจการขยาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงสิ้นปี 2565 โดยผู้ใช้ไฟกลุ่มดังกล่าวที่จ่ายค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าจากการลดค่าเอฟที ที่ 0.2338 บาทต่อหน่วย (จ่ายเท่าอัตราเดิมเดือนม.ค.-ส.ค. 2565) ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว รัฐบาลเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้ แต่ครั้งนี้รัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณมาให้ กกพ.จึงไม่สามารถดำเนินการให้ได้
  • 2. หากไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่มีงบประมาณ อยากขอให้ กกพ.พิจารณาแนวทางสูตรคิดคำนวณค่าไฟใหม่ภายใต้เกณฑ์ใครใช้ไฟน้อยให้ค่าเอฟทีอัตราต่ำ ใครใช้ไฟมากให้จ่ายค่าไฟสูง แต่กกพ.ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เพราะต้อใช้เวลาเพราะจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นกับผู้ที่มส่วนด้ส่วนเสีย และอาจจะต้องเสนอเข้าคณะกรรมการนโยบายพลังงานชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

นายกฯ สั่งเบรกขึ้นค่าไฟงวดกันยายนนี้ พร้อมเร่งช่วย"กฟผ." แบกหนี้แสนล้าน

 

ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

logoline