svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

08 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"เทศบาลนครยะลา"จัดกิจกรรมแฟชั่นโชว์ "ปากายัน มลายู"นำผ้าท้องถิ่นที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์"ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย"เสนอชุดเครื่องแต่งกายมลายู 44 ชุด พร้อมทั้งได้นำนางแบบมืออาชีพร่วมเดินกว่า 10 ชีวิต

8 สิงหาคม 2565 นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยถึงความเป็นมาของโครงการส่งเสริมอนุรักษ์ผ้าท้องถิ่นมลายู "ปากายัน มลายู" โดยที่มาหรือจุดเริ่มต้น จากตอนที่ได้เดินหาเสียงเลือกตั้ง ได้พบปะและเห็นร้านค้าที่ขายเสื้อผ้ามลายูเป็นจำนวนมาก ทำให้รู้สึกว่าน่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคต หลังจากได้สังเกตมา ก็เลยคิดว่าน่าจะมีการยกระดับแฟชั่นมลายู

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

 

ทั้งนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นการต่อยอดสิ่งที่เทศบาลนครยะลาทำ นั่นคือ งานมลายูเดย์ @ ยะลา ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว 6 ครั้ง และได้รับการชื่นชมจากประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ตลอดจนประเทศบรูไน ซึ่งอยู่ในในคาบสมุทรมลายูแห่งนี้ ทำให้ได้เข้าไปพูดคุยกับทางกงสุลใหญ่ทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งก็ถือว่าเป็นประเทศที่เป็นพันธมิตรของเทศบาลฯ มาอย่างยาวนาน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมาโดยตลอดจึงกลายมาเป็นงานในวันนี้

 

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า เทศบาลไม่ได้มีประสบการณ์ทางด้านนี้มากนัก แต่โชคดีที่ได้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้บริหารสถาบันแฟชั่น Bangkok FA ซึ่งเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขชาวยะลา ได้เข้ามาช่วยกันทำให้งานวันนี้ประสบ-ความสำเร็จ แม้ว่าจะไม่ได้สำเร็จมากจนกระทั่งเป็นการยกระดับขึ้นมา แต่ก็ถือว่าเป็นการจุดประกาย ที่ทำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซีย

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

 

"ซึ่งในคาบสมุทรมลายูนั้น เรามีตลาดผ้ามลายูประมาณ 600 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น หากมีโอกาสในการยกระดับผู้ประกอบการ ก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการสร้างงานแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คืออาจจะเป็นในเรื่องของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะตามมา เป็นต้นน้ำก่อนที่จะมาสู่ปลายน้ำ" นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าว

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญและโชคดีอีกประการที่ทำให้งานวันนี้เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จ คือ การได้รับการสนับสนุนจาก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยเชื่อว่างาน "ปากายัน มลายู" ในวันนี้จะเป็นครั้งที่ 1 และในปีต่อไปจะมีการตั้งปฏิทินงาน "ปากายัน มลายู" ครั้งที่ 2 ในช่วง 2 เดือนก่อนรอมฎอน

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

 

อย่างไรก็ตาม โดยอาจจะมีรอมฎอน Collection ที่จะออกจำหน่ายในภาคพื้นคาบสมุทรมลายูทั้งหมด ซึ่งก็คงมีสถาบันดีไซเนอร์ทั้งจากอินโดนีเซีย และมาเลเซียได้เข้ามาร่วมกับเรา เมื่อวานหลังการแข่งขัน ทางดีไซเนอร์ทั้ง 2 ประเทศได้เข้ามาขอบคุณ และได้พูดคุยกันโดยขอให้ในปีหน้าทางเทศบาลฯ จัดงานอีกครั้งเพื่อที่จะได้เข้ามาร่วมกันใหม่

 

"จากสิ่งที่เราทำในวันนี้ จะมี Louis Vuitton ของยะลา ที่เป็นของมลายู หรืออาจจะมี Gucci ที่เป็นของยะลา หรือถึงแม้จะไม่มี Louis Vuitton Gucci Balenciaga แต่เราอาจจะมีพันธมิตรระหว่าง Global Brand กับ Local Brand ที่อาจจะขึ้นในคาบสมุทรแห่งนี้ได้ อันนำไปสู่คุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว  
 

 

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

ด้าน นายอากุส ซะโยโน ราชิด กงสุลใหญ่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา กล่าวว่า  รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ร่วมจัดงาน "ปากายัน มลายู" และได้รับโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ และรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้มีการพัฒนาในเชิงพาณิชหรือไปสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือในการด้านออกแบบ หรือในด้านต่าง ๆ ดังเช่นที่ได้มีการเสวนาในวันแรกไปแล้ว

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

 

ขณะที Nik Muhammad Faqir Bin Nik Zin ตัวแทนประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่เชิญได้เข้าร่วมในกิจกรรม "ปากายัน มลายู" ครั้งนี้ และหวังว่าโปรแกรมนี้จะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนและการต่อยอดของการออกแบบ และนักออกแบบในพื้นที่ รวมถึงระหว่างประเทศ เพื่อให้มีการผลักดันนักออกแบบในพื้นที่ไปสู่สังคมโลก

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

 

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

 

 

"เทศบาลยะลา"จัดแฟชั่นโชว์"ปากายัน มลายู"ส่งเสริมผ้าท้องถิ่นสู่สากล

logoline