svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

จิตแพทย์ดูแลกลุ่มเสี่ยง 7 ราย เหตุจับตัวประกัน พบมี 2 รายต้องติดตามใกล้ชิด

20 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทีมสหวิชาชีพเยียวยาจิตใจ ดูแลกลุ่มเสี่ยง 7 ราย เหตุจับตัวประกัน พบมี 2 ราย มีการหวาดผวา นอนไม่หลับ ต้องติดตามอาการใกล้ชิด พร้อมถอดบทเรียนเหตุกราดยิงทอร์มินอล 21 แนะนักข่าวอย่าไลฟ์สด อย่าลงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ และอย่าบอกเรื่องการทำงานของตำรวจ

จากกรณีชายเก็บของเก่าวัย 50 ปี  มีระเบิดเอ็ม 61 พร้อมใช้งาน และจับตัวหญิงวัย 54 ปี เป็นตัวประกัน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาเกลี่ยกล่อมกว่า 4 ชั่วโมง แต่ไม่เป็นผล  กระทั่งผู้ก่อเหตุเผลอทำให้ตัวประกันวิ่งหนีออกมา  ทำให้ผู้ก่อเหตุวิ่งตาม และทำทีจะขว้างระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตัดสินใจยิงปืนสะกัดจนผู้ก่อเหตุได้รับบาดเจ็บล้มลง ก่อนเข้าความคุมสถานการณ์ไว้ได้นั้น 
    หลังเกิดเหตุมีหลายหน่วยงานลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยทีมสหวิชาชีพเยียวยาจิตใจ   ซึ่งเป็นจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ลงพื้นที่ชุมชนเทพารักษ์ จาก 3 หน่วยงาน คือ   
ทีมสหวิชาชีพเยียวยาจิตใจ   โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์  ทีมเยียวยาจิตใจ รพ.ขอนแก่นและศูนย์แพทย์มิตรภาพ รพ.ขอนแก่น  ลงพื้นที่พูดคุยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ความรุนแรงจับตัวประกันที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต จากเหตุวิกฤติ ที่ชุมชนเทพารักษ์ เขตเทศบาลนครขอนแก่น 

จิตแพทย์ดูแลกลุ่มเสี่ยง 7 ราย เหตุจับตัวประกัน พบมี 2 รายต้องติดตามใกล้ชิด
 


นายแพทย์ธนวัฒน์ ขุราศี    นายแพทย์ปฏิบัติการ  ทีมสหวิชาชีพเยียวยาจิตใจ   โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์   กล่าวว่า  สำหรับการลงพื้นที่ชุมชนเทพารักษ์  พื้นที่เกิดเหตุความรุนแรงสะเทือนขวัญนั้น ทางโรงพยาบาลจะมีทีมเยียวยาจิตใจ ที่จะลงในพื้นที่ เพื่อประเมินสถานการณ์ว่ามีผู้ได้รับผลกระทบหรือไม่ อย่างไร  เมื่อมีการพูดคุยกับชาวบ้านแล้ว ประเมินว่าจะมีผลกระทบทางด้านจิตใจ ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา จากการลงพื้นที่ได้พูดคุยกับชาวบ้านที่อยู่โดยรอบ 30 คน  พบว่ามีกลุ่มเสี่ยง 7 คน เป็นผู้ใหญ่ 5 คน  และเด็ก 2 คน 
“หลังจากเกิดเหตุแล้ว ทีมสหวิชาชีพได้นำแบบประเมินลงพื้นที่เพื่อนำมาวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางจิตใจที่เกิดจากเหตุสะเทือนขวัญหรือไม่  พบว่ากลุ่มเสี่ยงมีสภาวะทางจิตใจ ทั้งนอนไม่หลับ ตกใจ วิตกกังวล ต้องปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ บางรายผวา รู้สึกไม่มีความสุข ฝันร้าย เมื่อเกิดอาการในลักษณะนี้ทางแพทย์จะประเมินอาการ 1 เดือน หากเกิน 1 เดือนแล้วอาการยังคงอยู่ ทางแพทย์จะประเมินอีกครั้งว่าเข้าข่ายซึมเศร้าหรือไม่  เพื่อวินิจฉัยเป็นโรคทางจิตใจที่เกิดจากเหตุสะเทือนขวัญหรือไม่  ที่สำคัญคือไม่ซักถามถึงเหตุการณ์ความรุนแรง เพราะหากพูดซ้ำๆเหมือนไปกระตุ้นความรู้สึกอีกรอบ” นายแพทย์ธนวัฒน์  
สำหรับกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 คน นั้น จากการพูดคุย พบว่า มีอาการผวา วิตกกังวล นอนไม่หลับ  บางรายเมื่อพบเห็นกลุ่มคนแร่ร่อน  กลุ่มคนเก็บขยะ  คนมีถุงเป้ขนาดใหญ่ ที่ไม่รู้ว่ามีวัตถุอะไร กลุ่มเสี่ยงจะมีการเชื่อมโยงคนที่มีลักษณะคล้ายกันจะเริ่มกลัว  จากรายงานมีกลุ่มเสี่ยง  2 รายที่มีอาการหนัก ทางทีมสหวิชาชีพเยียวยาจิตใจจะให้ศูนย์แพทย์มิตรภาพ รพ.ขอนแก่น ลงประเมินอาการ สอบถามอาการ หากอาการยังคงรุนแรง ทางโรงพยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จะให้ส่งตัวเข้ามาที่โรงพยาบาลเพื่อรักษาและทำจิตบำบัด

จิตแพทย์ดูแลกลุ่มเสี่ยง 7 ราย เหตุจับตัวประกัน พบมี 2 รายต้องติดตามใกล้ชิด    

“จากการประเมินสำหรับในกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่ขอนแก่นนั้น  ทีมสหวิชาชีพเยียวยาจิตใจ อยู่ในขั้นสังเกตอาการ เก็บรบรวมข้อมูลกลุ่มอาการ จะถึงขั้นเป็นโรคหรือไม่ ยังไม่มีกลุ่มเสี่ยงขั้นรุนแรงที่ต้องนำตัวมารักษา   แต่หากมีกลุ่มเสี่ยงที่ยังปรับตัวไม่ได้ จะให้พูดคุยกับนักจิตบำบัดแบบประคับประคอง  ดูแลในภาวะฉุกเฉิน หากมีอาการนอนไม่หลับ จะให้ยานอนหลับแบบประคับประคอง”
นอกจากนี้นายแพทย์ธนวัฒน์  ใช้เหตุการณ์กราดยิงที่เทอร์มินอล 21 ซึ่งได้ลงพื้นที่ไปดูแลสุขภาพจิตประชาชนที่ได้รับผลกระทบ มาถอดบทเรียน โดยมองว่า สำหรับประชาชนและผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์  ที่มีส่วนสำคัญตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงหลังเกิดเหตุ โดยระหว่างที่เกิดเหตุความรุนแรงไม่ควรถ่ายทอดสด เพราะจะกระตุ้นให้สถานการณ์เกิดความรุนแรง อย่ารายงานรายละเอียดของวิธีการดำเนินกการของตำรวจ เพราะอันตราย เพราะบางเคสคนร้ายจะสามารถติดตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่ได้ตลอด  
“ส่วนหลังเกิดเหตุ ต้องคำนึงถึงการลอกเลียนพฤติกรรม การก่ออาชญากรรม ซึ่งนักข่าวมีส่วนสำคัญมากในการสื่อสาร จากงานวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อมูลว่า หากนักข่าวบอกวิธีการก่ออาชญากรรมแบบละเอียดถึงวิธีการก่อเหตุ การใช้ชีวิตของคนร้าย  จะทำให้เกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอารมณ์ร่วม และไปเร้าอารมณ์คนที่มีพื้นหลังคล้ายกับคนร้าย อาจจะมีความรุนแรงตามมาได้ การนำเสนอข่าวคนร้ายควรให้ข้อมูลแบบผิวเผิน อย่าตั้งฉายาให้คนร้าย บางทีคนที่มาติดตามจะมีความรู้สึกว่าการก่อเหตุความรุนแรงทำให้มีชื่อเสียงในแง่ร้าย”นายแพทย์ธนวัฒน์    กล่าว 

ข่าว -กวินทรา  ใจซื่อ

ภาพ-ทีมสหวิชาชีพเยียวยาจิตใจ   โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์  จ.ขอนแก่น

จิตแพทย์ดูแลกลุ่มเสี่ยง 7 ราย เหตุจับตัวประกัน พบมี 2 รายต้องติดตามใกล้ชิด

logoline