svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ดร.กอบศักดิ์เผยข่าวดี ราคาน้ำมันโลก กลับมาที่จุดเริ่มต้นช่วงก่อนเกิดสงคราม

15 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล เผยข่าวดีประเด็นราคาน้ำมันโลกในวันนี้ ที่มีท่าทีลดลง กลับมาที่จุดเริ่มต้นในช่วงก่อนเกิดสงครามอีกครั้ง ย้ำ สะท้อนราคาน้ำมันโลกขึ้นได้ ก็ลงได้เช่นกัน งานนี้ผู้ใช้รถเตรียมเฮ อาจมีข่าวดี ของราคาน้ำมันให้ชื่นใจ

ชวนคนใช้รถ มาร่วมจับตาที่โพสต์ที่น่าสนใจมากๆ ของ ทางด้าน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่และเลขานุการ  ธนาคารกรุงเทพ  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Kobsak Pootrakool" ย้ำว่า  

หลังราคาน้ำมันโลกได้พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ไปอยู่ที่ 130-140 ดอลลาร์/บาเรล ทำให้หลายๆ คนกังวลใจว่าจะเกิดปัญหา Stagflation นั้น มาถึงวันนี้ ราคาน้ำมันโลกได้ลดลง กลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนเกิดสงครามอีกครั้ง

..

ภาพประวัติศาสตร์

เริ่มกลับไปที่เดิม !!!! ข่าวดี !!!!

หลังราคาน้ำมันโลกได้พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ไปอยู่ที่ 130-140 ดอลลาร์/บาเรล

ทำให้หลายๆ คนกังวลใจว่าจะเกิดปัญหา Stagflation นั้น

มาถึงวันนี้ ราคาน้ำมันโลกได้ลดลง กลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนเกิดสงครามอีกครั้ง

ราคาน้ำมัน Brent ต่ำสุดวันนี้ที่ 94.5 ดอลลาร์/บาเรล

ราคาน้ำมัน WTI ต่ำสุดวันนี้ที่ 90.56 ดอลลาร์/บาเรล

ต่ำกว่าระดับจุดเริ่มต้น !!!

ก่อนปรับตัวขึ้น

 

สะท้อนว่า ราคาน้ำมันโลกขึ้นได้ ก็ลงได้เช่นกัน

และหมายความต่อไปว่า สิ่งที่ทุกคนกังวลใจ "ราคาน้ำมันโลกจะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อโลกพุ่งไปเรื่อยๆ" ตอนนี้ได้คลี่คลายไปบ้างแล้ว ภาวะความไม่สมดุลระหว่าง Supply และ Demand ในตลาดน้ำมันโลก เริ่มดีขึ้น

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การที่น้ำมันของรัสเซียซึ่งถูก Sanctions จากสหรัฐและพันธมิตร ได้ถูกส่งไปประเทศอื่นๆ แทนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ทำให้ปริมาณน้ำมันส่งออกในโลกกลับเป็นปกติมากขึ้น และจากความกังวลใจว่าจะเกิด Global Recession ในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดความต้องการใช้น้ำมันลง

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะราคาน้ำมันโลกเป็นต้นตอหลักของเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา

ถ้าราคาน้ำมันปรับตัวดีขึ้น การ Peak ของเงินเฟ้อก็จะตามมาในช่วงต่อไป

มาลุ้นกันนะครับว่า ราคาน้ำมันโลกในครึ่งหลังของปี จะปรับขึ้นไปสูงเหมือนช่วงแรกของสงครามอีกรอบ ได้หรือไม่

หากราคาน้ำมันโลกไม่ขึ้นสูงไปเช่นเดิม ยังวิ่งอยู่ที่ประมาณ 100 ดอลลาร์/บาเรล แรงกดดันต่อเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ ในครึ่งหลังของปีก็จะค่อยๆ ลดลง

สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อก็จะบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น

ซึ่งในเรื่องนี้ หากไม่มีอะไรพลิกผันจนเกินไป คงต้องบอกว่า

สถานการณ์ตลาดน้ำมันโลกในช่วงครึ่งหลังของปี จะต่างจากช่วงครึ่งแรก

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ

(1) รัสเซียเริ่มมีช่องทางในการขายน้ำมัน เมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ ที่น้ำมันจากรัสเซียหายไปจากตลาด ต้องไปหาจากแหล่งอื่นๆ แทน ทำให้เกิด Energy Price Shock

การที่รัสเซียส่งออกน้ำมันได้ คือจุดเปลี่ยน ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยบรรเทาสถานการณ์พลังงานโลก

(2) การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้โอกาสการเกิด Global Recession เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เรื่องนี้จะทำให้นักลงทุนไม่กล้าเก็งกำไรในราคาน้ำมันโลกมากเหมือนช่วงแรกๆ

เรื่องนี้ก็เป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดพลังงานโลก เพราะเมื่อนักลงทุนไม่กล้าเก็งกำไรกันเต็มที่ ราคาน้ำมันต่อให้ขึ้น ก็คงขึ้นได้ไม่เท่าช่วงแรกๆ ครับ

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ

#ภาพประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจ #PerfectStorm

 

ก่อนหน้านี้ ประธาน FET ยังได้โพสต์ถึงประเด็การลงทุนอย่างน่าสนใจ สำหรับคอข่าวและนักลมทุนที่ร่วมอ่านอย่างท่วมท้น

ใจความระบุว่า ...

ช่วงนี้ลงทุนยาก !!!

เมื่อวานนี้ หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐออกมาเกินคาดที่ 9.1%

เทียบกับที่เคยคาดไว้ที่ 8.8%

ตลาดก็เหวี่ยงใส่นักลงทุนทันที

โดยจะเห็นได้จากตลาดค่าเงินที่ผันผวนหนัก

ค่าเงินดอลลาร์ที่สวิงไปมาบวกลบ 1% จาก 107.7 แข็งค่าไปที่ 108.6 และอ่อนลงมาที่ 107.4

ส่วนค่าเงินยูโรที่ Break Parity ไปช่วงพริบตา ก่อนจะกลับมาที่เดิม

สำหรับตลาดหุ้นก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน Dow Jones Future, Nasdaq Future รวมไปถึงตลาดอื่นๆ ทั่วโลก ปรับลดลงทันที คนละหลายร้อยจุด

หลังตลาดเปิด ตลาดก็ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้าง

แต่ท้ายที่สุดก็ปรับลดลงอีก เมื่อนักวิเคราะห์เริ่มออกมาพูดมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นนี้ เฟดจำเป็นที่จะต้องจัดยาแรงต่อไป

อย่างน้อย 0.75% ในการประชุมปลายเดือน

นอกจากนี้ตัวเลข Fed Funds Futures เริ่มชี้ว่า ตลาดคิดว่าในการประชุมปลายเดือนนี้ในวันที่ 26-27 มีโอกาสถึง 67% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 1.0% !!!

ทำให้ทุกสายตามองไปว่า เฟดจะเลือกชุดยาที่แรงขึ้นจากเดิม อีกหรือไม่ หรือจะไปกับ 0.75% ตามที่บอกไว้ก่อนหน้า

ซึ่งการคาดเดาเหล่านี้ ทั้งหมดเป็นผลมาจาก "อัตราการเร่งตัวของเงินเฟ้อ" ที่เห็นจากข้อมูลเงินเฟ้อที่ประกาศออกมา

Headline Inflation เดือนล่าสุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า +1.3%

Core Inflation เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า +0.7%

สูงสุดในรอบ 12 เดือน !!!

สะท้อนว่า เงินเฟ้อยังมีแรงส่งอีกมาก

นอกจากนี้ การที่ Core inflation ได้หักเอาราคาน้ำมันออกแล้ว ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงในเดือนกรกฏาคม ก็พอจะช่วยให้ Headline inflation ลดในเดือนถัดๆ ไปได้บ้าง

แต่ Core inflation ซึ่งเฟดจับตามองอย่างใกล้ชิด อาจจะไปต่ออีกระยะ

ทั้งหมดนี้ หมายความว่า เฟดยังต้องใช้ยาแรงต่อ

ส่วนที่บอกว่า "ช่วงนี้ลงทุนยาก" ก็เพราะ การปรับตัวของ Assets ต่างๆ ช่วงนี้ ไม่ได้ขึ้นกับ Fundamentals อย่างเดียว

การดูกราฟ ก็มีข้อจำกัด

เพราะที่ทำให้ตลาดปรับตัวขึ้นลง นอกจากได้รับผลจากตัวเลขต่างๆ แล้ว (ซึ่งตอนนี้อ่อนไหวกับตัวเลขเป็นพิเศษ) ยังมีผลจากคำพูดของทางการ (ที่ไม่ชัดเจนว่าท่านจะพูดอะไร จะออกมาตรการอะไร) และจากการปั่นตลาดของนักวิเคราะห์ ที่กำลังคาดเดาประเมินทิศทางว่า

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

เงินเฟ้อจะปรับตัวอย่างไร

ตกลงเศรษฐกิจยังไปได้ หรือไปไม่ได้แล้ว

สิ่งที่อยู่ในใจเฟดคืออะไร

เฟดจะเอาจริงแค่ไหน

เฟดจะทำอะไรต่อไป

คาดขึ้นวัน คาดลงวัน

ทั้งหมดนี้ ตลาดจึงผันผวนเป็นพิเศษ และทำให้การปรับตัวของตลาดมาจากการคาดเดาต่างๆ เหล่านี้ ไปอีกระยะ

ก็ขอให้ทุกคนถนอมตัว รักษาตัวจากช่วงตลาดผันผวน

เพราะเมื่อพ้นจากช่วง Turbulence 2022 ไปแล้ว

ก็จะง่ายขึ้นครับ

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน

#ท่องเศรษฐกิจกับดรกอบ #EconomicTurbulence2022

 

 

logoline