svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็นหลังทุ่นพัง

07 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็น หลัง “ทุ่นเตือนสึนามิ” ใช้การไม่ได้ หวั่นซ้ำรอยปี 2547

รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต เปิดเผยกับทีมข่าวเนชั่นออนไลน์กรณีเหตุแผ่นดินไหว “หมู่เกาะนิโคบาร์” และเกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมาอีกหลายครั้ง  โดยห่างภูเก็ตเพียง 500 กม. ว่า รู้สึกกังวล เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดถี่กว่าทุกครั้ง ซึ่งต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ “ทุ่นเตือนสึนามิ” ของไทยที่มีอยู่เพียง 2 ตัว ใช้การไม่ได้ รวมถึงทุ่นบริเวณโดยรอบก็ใช้งานไม่ได้เช่นกัน มีแค่เสาวัดระดับน้ำที่เกาะเมี่ยง จ.พังงา ซึ่งเตือนล่วงหน้าได้เพียง 10-15 นาที หากเกิดสึนามิขึ้นเกรงว่าจะไม่ทันการแต่อย่างไรก็ตามหากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิน 7.5 มีโอกาสที่จะทำให้เกิดสึนามิได้ ซึ่งตอนนี้ความรุนแรงยังไม่ถึง แต่ไม่ควรประมาท

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็นหลังทุ่นพัง “รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็นหลังทุ่นพัง

ดังนั้นระบบเตือนภัยสึนามิโดยใช้ทุ่นมักจะได้รับความเสียหายบ่อยครั้ง จึงไม่ใช่ทางออก แต่ระบบคาดการณ์ และเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูล จึงมีความจำเป็น โดยศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติใช้ระบบนี้เฝ้าระวัง แต่เฝ้าระวังเฉพาะเวลาทำงาน 08.00-17.00 น. ซึ่งหากเกิดกลางคืนจะทำอย่างไร รวมถึงการให้ข้อมูลความรู้กับประชาชนเพื่อให้เกิดความตระหนักเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ไม่แค่เฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น แต่ต้องให้ความรู้กับคนไทยทั้งประเทศ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเหมือนประเทศญี่ปุ่น ส่วนการซ้อมแผนภัยพิบัติ ตนมองว่าเปรียบเสมือนผักชีโรยหน้า มีเหตุการณ์ทีซักซ้อมที ระบบควรจะมีความพร้อมมากกว่านี้

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็นหลังทุ่นพัง

 

ส่วนกรณีน้ำหนุนที่หาดทรายแก้ว จ.ภูเก็ต นั้น ไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว เป็นช่วงน้ำทะเลหนุน หากเกิดจากแผ่นดินไหวจนเกิดสึนามิ ระดับน้ำจะสูงกว่านี้และเกิดขึ้นในหลายพื้นที่

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็นหลังทุ่นพัง

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็นหลังทุ่นพัง

สำหรับจุดที่ต้องเฝ้าระวังหากเกิดสึนามิก็คือ 5 จังหวัดเดิมที่เคยได้รับผลกระทบจากสึนามิเมื่อปี 2547 คือ จ.พังงา จ.ระนอง จ.กระบี่ จ.ภูเก็ต จ.สตูล

“รศ.เสรี ศุภราทิตย์” แนะเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูลมีความจำเป็นหลังทุ่นพัง

logoline