svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทนายตั้ม - ชัยวุฒิ แนะแนวทางเป็นพลเมืองดีอย่างไรไม่ให้ซวยตกเป็นเหยื่อ PDPA

10 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทำแบบไหนไม่ให้ซวย! "ทนายตั้ม - ชัยวุฒิ" แนะแนวทางเป็นพลเมืองดีอย่างไรไม่ให้ซวยตกเป็นเหยื่อ PDPA หลังมีดราม่า พลเมืองดีถ่ายคลิป เคนลี ทะเลาะแฟนสาว แต่จะถูกดำเนินคดีฐานละเมิดสิทธิ์

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลอย่างมากวานนี้ (9 มิ.ย.) กรณีมีพลเมืองถ่ายคลิปและเข้าช่วยเหลือ เหตุการณ์ที่ เคนลี Take Me Out ทำร้ายร่างกายแฟนสาว แต่สุดท้ายกลับตาลปัดถูกฝ่ายชายไม่พอใจ ด่าไม่ให้มายุ่ง พร้อมขู่เอาผิด PDPA คนถ่ายคลิปนาทีทำร้ายแฟนสาวฐานละเมิดสิทธิ์ หลังขอให้ลบไปแล้วแต่ก็ไม่ยอมลบ (อ่านข่าว) 

ดราม่าดังกล่าวทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของชาวเน็ตเป็นอย่างมาก โดยส่วนมากวิจารณ์กฎหมาย PDPA อย่างรุนแรง ถึงขนาดระบุว่า เป็นกฎหมายที่เปิดช่องให้คนร้ายและคนหัวหมอเอาผิดพลเมืองดี หรือหาประโยชน์จากผู้อื่น ๆ บางคนถึงขนาดบอกว่า ต่อไปใครจะกล้าเป็นคนดี ฯลฯ 

 

 

ดราม่า พลเมืองดีถ่ายคลิปแต่จะโดนเอาผิด PDPA

ดราม่า พลเมืองดีถ่ายคลิปแต่จะโดนเอาผิด PDPA
 

ล่าสุดวันนี้ (10 มิ.ย.) ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ได้ให้ความเห็นทางข้อกฎหมายถึงเหตุการณ์ลักษณะนี้่ผ่านทาง เพจเฟซบุ๊ก ษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ โดยระบุว่า 

 

การบันทึกภาพหรือคลิปวีดีโอเพื่อเป็นหลักฐานทางคดี ไม่จำต้องได้รับความยินยอมใด ๆ ครับ แต่การนำมาโพสอาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา หรือกฎหมายใหม่ PDPA ยกเว้นแต่ว่า เซ็นเซอร์หน้าบุคคลอื่นให้เป็นบุคคลนิรนามก่อน คำแนะนำคือหากเกิดเหตุสุดวิสัย หรือเป็นพยานในเหตุอาชญากรรมใด ๆ สามารถบันทึกภาพและวีดีโอเพื่อนำเป็นหลักฐาน และส่งเจ้าหน้าที่ดีที่สุด แบบนี้สามารถดำเนินคดีได้ โดยไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนด้วยนะครับ
#ข้อกฎหมายกับทนายตั้ม #เป็นพลเมืองดียังไงให้ไม่ซวย

 

 

ทนายตั้ม แนะแนวทางป้องกันตกเป็นจำเลยจาก PDPA
 

ขณะที่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การที่เราเห็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ แล้วถ่ายภาพ/วีดิโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน สามารถทำได้ แต่ควรให้ส่งหลักฐานเหล่านี้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย การที่เราเอาภาพหรือคลิปที่ไม่เหมาะสมมาโพสต์หรือมาแชร์เอง เป็นการไปละเมิดสิทธิผู้อื่น อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพราะเขาเป็นผู้เสียหายจากสิ่งที่ท่านทำ แต่ถ้าเก็บคลิปเก็บภาพแล้วนำไปให้เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นพยานหลักฐาน เพื่อประโยชน์ในทางรูปคดีอันนี้ทำได้อยู่แล้ว

 

กฎหมาย PDPA มุ่งที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลของพี่น้องประชาชนที่ไปเก็บไว้ที่เราให้ไว้กับร้านค้า หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเขาต้องเก็บข้อมูลของเราให้ดีไม่ให้รั่วไหล ถ้าจะนำไปใช้ประโยชน์ก็ต้องขอความยินยอมจากเรา และห้ามนำไปใช้ทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความเสียหาย นี่คือหลักการสำคัญขอกฎหมาย

 

แต่เรื่องการโพสต์ การแชร์ การให้ข่าวต่าง ๆ ไม่ได้เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ เพียงแต่อาจจะไปผิดกฎหมายอื่น เป็นการละเมิดสิทธิบุคคลมีการฟ้องแพ่ง เรียกร้องค่าเสียหายกันอันนี้อีกเรื่องหนึ่ง อยากให้มองว่าเจตนารมณ์ของ PDPA คุ้มครองข้อมูลของเราที่เก็บไว้ในร้านค้าหรือองค์กรต่าง ๆ ไม่ให้รั่วไหลนี่คือหัวใจสำคัญ

 

ประชาชนเป็นเจ้าของข้อมูลสำคัญของตัวท่านเอง เวลาท่านให้ข้อมูลกับบุคคล ร้านค้า หรือหน่วยงานต่าง ๆ ท่านมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมให้นำข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลส่วนบุคคล ร้านค้าหรือหน่วยงานไม่มีสิทธินำข้อมูลไปเปิดเผย 

 

 

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม (ดีอีเอส)

 

ประชาชนเป็นเจ้าของข้อมูลสำคัญของตัวท่านเอง เวลาท่านให้ข้อมูลกับบุคคล ร้านค้า หรือหน่วยงานต่าง ๆ ท่านมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมให้นำข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลส่วนบุคคล ร้านค้าหรือหน่วยงานไม่มีสิทธินำข้อมูลไปเปิดเผย หากนำไปเปิดเผยจะมีความผิดตามกฎหมาย PDPA ประชาชนควรติดตามหากมีใครนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้ไปใช้ หรือนำไปเผยแพร่ทำให้เกิดความเสียหายกับตัวเราสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย PDPA

 

ข้อที่สำคัญเราก็ต้องพยายามประสานงานกับภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ให้มีการเก็บข้อมูล ให้มีมาตรฐาน ให้มีระบบที่ดี ไม่ให้มีข้อมูลรั่วไหล ข้อมูลที่ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ประชาชนก็จะมีสิทธิ์ในข้อมูลของท่าน ท่านต้องคอยติดตามว่าข้อมูลนี้ว่า ใครนำไปใช้ในทางไม่ชอบหรือไม่ ถ้าท่านพบก็แจ้งร้องเรียนมาทางสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราต้องมาช่วยกัน แก้ปัญหาให้พี่น้อง ประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิในข้อมูลของท่าน

logoline