svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

08 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ม.หอการค้าไทย เผยปี 64 มูลค่าส่งออกทุเรียน 1.8 แสนล้านบาท ส่วนปี 65 คาดส่งออกเพิ่มเป็น 2 แสนล้านบาท เงินสะพัดในประเทศ 7 แสนล้านบาทแต่คาดในปี 5 ปี ยังเสี่ยงสูง จากส่งออกลดลง ความสัมพันธ์จีนสั่นคลอน

        นายอัทธ์  พิศาลวานิช  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 64 เป็นต้นมา มูลค่าส่งออกทุเรียนของไทยสูงกว่ามูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง โดยทุเรียน มูลค่าอยู่ที่ 187,278 ล้านบาท ขณะที่ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง อยู่ที่ 100,477 ล้านบาท, 91,430 ล้านบาท และ 43,103 ล้านบาทตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเงินสะพัดในประเทศในห่วงโซ่การผลิตทุเรียนทั้งระบบ ทั้งเกษตรกร ล้ง แรงงาน โลจิสติกส์ ค่าบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ สูงถึง 640,000 ล้านบาท ส่วนปี 65 คาดจะมีมูลค่าส่งออก 200,000 ล้านบาทและมีเงินสะพัดในประเทศ 700,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6%หรือ 60,000 ล้านบาท จากปี 64

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

         อย่างไรก็ตาม จากการที่ศูนย์ได้จัดทำดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย(DURI)ครั้งแรกในโลก พบว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 65-69) ดัชนีมีค่าเท่ากับ51, 54, 57, 55และ60ตามลำดับแสดงว่า ทุเรียนไทยมีความเสี่ยงสูง (ค่าดัชนีมากกว่า 50 หมายถึง ความเสี่ยงสูง, เท่ากับ 50 หมายถึง ปกติ และน้อยกว่า 50 หมายถึง ความเสี่ยงน้อย)

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

        โดยความเสี่ยงดังกล่าวมาจาก การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอย่างมหาศาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือในปี 64 เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าจากปี 54เพิ่มจากกว่า 600,000 ไร่ เป็นกว่า 900,000 ไร่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออก ที่โค่นต้นยางพารา

เพื่อปลูกทุเรียน ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 337,648 ตัน จากเดิมที่เฉลี่ย 70,703 ตัน และในปี 69 ผลผลิตจะเพิ่มเป็น 2.9 ล้านตัน หากไม่สามารถบริหารจัดการได้ดี จะซ้ำรอยพืชชนิดอื่น ที่เกษตรกรแห่ปลูกมากจนผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ และประสบปัญหาขาดทุน

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

        นอกจากนี้ ยังมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก และมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะเข้ามาแย่งส่วนตลาดส่งออกของไทยได้ แม้คาดว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 69 ไทยจะยังครองแชมป์ส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของโลกด้วยปริมาณ 1.9 ล้านตัน แต่ส่วนแบ่งตลาดอาจลดลงเหลือ76%จากปัจจุบันที่ 85%โดยมาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว จะมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นทั้งหมด เพราะคาดว่า การส่งออกทุเรียนของอาเซียนอื่นจะเพิ่มขึ้น 82.5%หรือ 448,033 ตันในปี 69

         ขณะเดียวกัน หากความสัมพันธ์กับจีนมีปัญหา อาจทำให้จีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าทุเรียนอันดับ 1 ของไทย และนำเข้ากว่า 90%ของการส่งออกทุเรียนไทยไปโลก ซึ่งปี 65 คาดนำเข้าราว 850,000-950,000 ตัน ลดการนำเข้าลงได้ และจะทำให้ราคาทุเรียนไทยลดลงทันที โดยคาดว่า หากปี 65-69 จีนนำเข้าทุเรียนไทยน้อยกว่า 10%ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ซึ่งเป็นตลาดขายส่งผลไม้ขนาดใหญ่ในจีนตอนใต้ จะอยู่ที่เฉลี่ยกิโลกรัม (กก.) ละ 271 บาท และราคาที่ชาวสวนขายได้หน้าสวน อยู่ที่กก.ละ 136 บาท แต่หากจีนต้องการนำเข้ามากกว่า 15%ราคาขายส่งคาดจะเฉลี่ยที่ กก.ละ 361 บาท

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

       “ความเสี่ยงทุเรียนไทย นอกจากมาจากปัจจัยหลักข้างต้นแล้ว ยังจะมาจากคุณภาพทุเรียนที่อ่อนหรือแก่เกินไป มีปัญหาทุเรียนประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์ทุเรียนไทยแล้วส่งออก ปัญหาการขนส่ง ขาดแคลนแรงงาน ตลาดถูกควบคุมโดยล้ง สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อผลผลิต และโรคระบาด ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้ ทำให้คาดว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ทุเรียนไทยมีโอกาสพังได้ 30% จาก 100% หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 37,000 ล้านบาท จากมูลค่าส่งออกปัจจุบันที่ราว 200,000 ล้านบาท”

ม.หอการค้าไทยหวั่น 5 ปี ส่งออก 'ทุเรียน' ไทยลดลง

        อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ทุเรียนไทยยังคง “ปัง” ไทยต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน ควบคุมคุณภาพการส่งออกให้ดี ไม่ให้เกษตรกรตัดทุเรียนที่อ่อน หรือแก่เกินไป ซึ่งจะช่วยทำให้จีน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ เพิ่มการนำเข้าจากไทยได้ จากปัจจุบัน ที่ชาวจีนบริโภคทุเรียนเพียง 9%ของประชากรทั้งประเทศ แสดงให้เห็นว่า ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับการส่งออกทุเรียนไปจีน ขณะเดียวกันไทยต้องมีแผนบริหารจัดการทุเรียนที่แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ เช่น ปริมาณผลผลิต ปริมาณการส่งออก-บริโภคในประเทศ ข้อมูลด้านต่างๆ ของคู่แข่ง

 

logoline