svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สศก.หวั่นปัญหาโรคระบาดฉุดตลาด 'โคเนื้อ'

06 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สศก. หวั่น ปัญหาโรคระบาด ภาวะเศรษฐกิจหดตัว ต้นทุนผลิตเพิ่ม กระทบการพัฒนาศักยภาพโคเนื้อ ผ่านกองทุนเอฟทีเอ รุดลงพื้นที่เก็บข้อมูล ถกทางแก้ทิศทางเดียวกัน

นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาคปศุสัตว์ ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 การแพร่ระบาดของโรคลัมปิสกิน (Lumpy Skin Disease) และโรคปากเท้าเปื่อยในโค รวมถึงภาวะเศรษฐกิจหดตัวต้นทุนด้านอาหารสัตว์และค่าขนส่งที่สูงขึ้น จึงอาจส่งผลกระทบบางส่วนต่อแผนการดำเนินงานกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือ กองทุน FTA ใน โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อรองรับ FTA

 

สศก. จึงได้ลงพื้นที่และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเข้ามากำกับดูแล ติดตามควบคุมการดำเนินงานของทั้ง 4 เครือข่าย และ 1 บริษัท ให้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน การลงพื้นที่ครั้งนี้ สศก. ในฐานะหน่วยงานผู้ดูแลกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือ กองทุน FTA ได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว โดยกำหนดแผนจะลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานรวมถึงการหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ไตรมาส เพื่อสร้างระบบการเลี้ยงโคตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้เป็นไปอย่างครบวงจร โดยจะมีการรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรทั้ง 4 เครือข่าย ที่ขอรับการสนับสนุน ให้ทราบต่อไป

สศก.หวั่นปัญหาโรคระบาดฉุดตลาด 'โคเนื้อ'

ประกอบด้วย 1. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อล้านนา จังหวัดเชียงราย 2. วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อคุณภาพดีตากฟ้าจังหวัดนครสวรรค์ 3. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทย จังหวัดราชบุรี 4. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาโคเนื้อ จังหวัดตาก และบริษัท พรีเมียม บีฟ จำกัด มีระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี ตั้งแต่ปี 2563 – 2571 วงเงินสนับสนุน 161.78 ล้านบาท โดยมีกรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อรองรับ FTA มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคให้สามารถแข่งขันได้ พัฒนาประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์เพิ่มมูลค่า ลดต้นทุน สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายการผลิตตลอดห่วงโซ่ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถการตลาด สามารถแข่งขันรองรับผลกระทบที่จะเกิดจาก FTA โดยได้ดำเนินการการก่อสร้างคอกกลาง โรงเก็บอาหาร สำนักงาน อาคารปฏิบัติการ และปรับปรุงคอกกลาง ซื้อโคก่อนขุนและปัจจัยการผลิต เพื่อเข้าเลี้ยงขุนในคอกกลาง (Central Feedlot) จัดซื้อครุภัณฑ์และอุปกรณ์ และซื้อโคขุนปลายน้ำเพื่อแปรสภาพ

 

“ สินค้าโคเนื้อ นับเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากตลาดภายในประเทศอย่างมาก แต่ปริมาณการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งหากประเทศไทย สามารถผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพได้ จะส่งผลให้ไทยสามารถลดการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศได้ ยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ ตั้งแต่ผลิตจนถึงตลาด ซึ่งกองทุน FTA ยินดีให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่ม “

logoline