svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ร่างพ.ร.บ.งบฯปี 66"ฉลุย ที่ประชุมสภาลงมติเห็นชอบผ่านวาระแรกคะแนนท่วมท้น

02 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายกฯลุงตู่ ฉลุย สภาฯเห็นชอบ "ร่างพ.ร.บ.งบฯปี 66 "วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท ผ่านวาระแรก ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 72 คน ขณะที่รองโฆษกภูมิใจไทยแจงสื่อสยบข่าว ปมเหตุ ชาดา ไทยเศรษฐ์ ปะทะคารมเดือดณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ พรรคชาติไทยพัฒนา ยันไม่มีการตบหน้าขว้างโทรศัพท์

 

3 มิ.ย.65  การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา"ร่าง พ.ร.บ.งบฯปี66"  วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท ได้ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.- 2 มิ.ย. โดยหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลงเมื่อเวลา 01.00 น. ของวันที่ 3 มิ.ย.  นายชวน หลีกภัย  ประธานสภา  ได้ขอมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 หรือไม่     

 

"ร่างพ.ร.บ.งบฯปี 66"ฉลุย ที่ประชุมสภาลงมติเห็นชอบผ่านวาระแรกคะแนนท่วมท้น

 

โดยที่ประชุมได้มีการเสียบบัตรแสดงตน มีผู้เข้าร่วมประชุม  472  เสียง  มติเห็นชอบ 278  เสียง ไม่เห็นด้วย 192  เสียง งดออกเสียง  2   เสียง  ไม่ลงคะแนน  0  เสียง  

 

"ร่างพ.ร.บ.งบฯปี 66"ฉลุย ที่ประชุมสภาลงมติเห็นชอบผ่านวาระแรกคะแนนท่วมท้น

 

จากนั้นที่ประชุมได้เสนอรายชื่อ กรรมาธิการวิสามัญงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จำนวน 72 คน   ประกอบด้วย สัดส่วนคณะรัฐมนตรี (ครม.)  18 คน 

 

พรรคการเมือง 54 คน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 15 คน  พรรคพลังประชารัฐ  11 คน   พรรคภูมิใจไทย 7 คน  พรรคประชาธิปัตย์  6 คน พรรคก้าวไกล 6 คน  พรรคเศรษฐกิจไทย 2 คน  พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคประชาชาติ 1 คน พรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน พรรคเพื่อชาติ 1 คน พรรครวมพลังประชาชาติไทย 1 คน พรรคพลังท้องถิ่นไท 1 คน   โดยมีกำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 30 วัน ซึ่งที่ประชุมนัดวันประชุมกรรมาธิการฯ ในวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมงบประมาณ

 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในบรรดากมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ  72 คน พบว่ามี ส.ส.พรรคเศรษฐกิจไทยเข้าเป็น กมธ. 3 คน แยกเป็นโควต้าพรรคเอง 2 คน คือ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ มือขวาร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า   และ น.ส.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสงคราม  ส่วนอีกคน คือ นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร อยู่ในโควต้า ครม. ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นไปตามกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่า ทางฟากผู้กองคนดังได้เจรจาต่อรองขอโควต้า สำหรับ ส.ส.เศรษฐกิจไทย 3 คนที่เป็น กมธ. เป็นสายตรงผู้กองทั้งหมด

 

 


นอกจากนี้ ในส่วนของพรรคเศรษฐกิจใหม่ (ที่เคยเป็นพรรคนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์  แล้วหันมาหนุนรัฐบาล มี 6 เสียง) ได้โควต้า 1 ที่นั่ง คือ นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ หัวหน้าพรรค  ซึ่งรายนี้ได้ไปร่วมรับประทานอาหารกับ นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร หรือ ส.ส.โจ้ พรรคเพื่อไทยด้วยโดยไปพร้อมกับนายพิเชษฐ สถิรชวาล  ส่วนพรรคเล็ก นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค จากพรรคไทรักธรรม แกนนำกลุ่ม 16 ที่เข้าพบนายกฯได้เป็น กมธ.โควต้าครม.อีกด้วย

 

"ร่างพ.ร.บ.งบฯปี 66"ฉลุย ที่ประชุมสภาลงมติเห็นชอบผ่านวาระแรกคะแนนท่วมท้น

สำหรับรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566

 

สัดส่วนคณะรัฐมนตรี 18 คน


1.นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
2.นายสันติ พร้อมพัฒน์ (รัฐมนตรีข่วยว่าการกระทรวงการคลัง)
3.นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร (ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ)
4.นายอนุชา นาคาสัย (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
5.นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)
6.นายนิโรธ สุทรเลขา (ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ และประธานวิปรัฐบาล)
7.นายวราเทพ รัตนากร (อดีตรัฐมนตรี)
8.นายบุญลือ ประเสริฐโสภา (ส.ส.ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย)
9.นางสาวผ่องศรี ธาราภูมิ (คณะทำงานประธานสภาผู้แทนราษฎร)
10.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา)
11.นายไผ่ ลิกค์ (ส.ส.กำแพงเพชร พรรคเศรษฐกิจไทย)
12.นายพาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์ (ส.ส.นครปฐม พรรคชาติไทยพัฒนา)
13.นายชาดา ไทยเศรษฐ์ (ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย)
14.นายสรวุฒิ เนื่องจํานงค์ (ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ)
15.พลโทกิตติ นิมิหุต
16.นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
17.นายนพดล พลเสน
18.นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค (ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทรักธรรม และกลุ่ม16)

 

 

สัดส่วนพรรคเพื่อไทย 15 คน


1.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
2.นายเกรียง กัลป์ตินันท์
3.นายสุทิน คลังแสง
4.นายสงวน พงษ์มณี
5.นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
6.นายวิชาญ มีนชัยนันท์
7.นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
8.นายโกศล ปัทมะ
9.นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์
10.นายนพดล เหลือทองนารา
11.นางอนุรักษ์ บุญศล
12.นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม
13.นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา
14.นางสาวจิราพร สินธุไพร
15.นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล

 

สัดส่วนพรรคพลังประชารัฐ 11 คน

1.นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย
2.พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา
3.นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์
4.นายต่อศักดิ์ อัศวเหม
5.นายสัญญา นิลสุพรรณ
6.นายจักรัตน์ พั้วช่วย
7.นายสมเกียรติ วอนเพียร
8.นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง
9.นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ
10.นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา
11.นายสุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์

สัดส่วนพรรคภูมิใจไทย 7 คน


1.นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช
2.นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์
3.นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน
4.นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ
5.นายเอกราช ช่างเหลา
6.นางนันทนา สงฆ์ประชา (ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาภิวัฒน์)
7.นายปวีณ แซ่จึง (อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย)

 

สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ 6 คน

1.นายสาคร เกี่ยวข้อง
2.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
3.นพ.บัญญัติ เจตนจันทร์
4.นายธีรภัทร พริ้งศุลกะ
5.นายชัยชนะ เดชเดโช
6.นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์

สัดส่วนพรรคก้าวไกล 6 คน

1.นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล
2.นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
3.นายวาโย อัศวรุ่งเรือง
4.นายกัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี
5.นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
6.นายพริษฐ์ วัชรสินธุ

 

สัดส่วนพรรคเศรษฐกิจไทย 2 คน

1.นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
2.นางสาวจอมขวัญ กลับบ้านเกาะ

 

พรรคชาติไทยพัฒนา 

1.นายอนุรักษ์ จุรีมาศ

 

พรรคเสรีรวมไทย

1.นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

 

พรรคประชาชาติ

1.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง

 

พรรคเศรษฐกิจใหม่
1.นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์


พรรคเพื่อชาติ
1.นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช

 

พรรครวมพลังประชาชาติไทย
1.นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์

 

พรรคพลังท้องถิ่นไท
1.ศาสตราจารย์โกวิทย์ พวงงาม

 

จากนั้นพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ในนามของรัฐบาลขอขอบคุณประธานและสมาชิกทุกท่านที่ได้ร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  แม้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จะอยู่ภายใต้วงเงินจำกัดรัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับประชาชนและผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ

 

"ร่างพ.ร.บ.งบฯปี 66"ฉลุย ที่ประชุมสภาลงมติเห็นชอบผ่านวาระแรกคะแนนท่วมท้น

 

โดยการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฉบับนี้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมภายหลังจากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์โลกในปัจจุบันตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดความต่อเนื่องในการสร้างโอกาสสร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำ  และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและเติบโต

 

ทั้งนี้ต้องขอฝากให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณนำข้อเสนอแนะของสมาชิกไปใช้ประกอบรายละเอียดของพระราชบัญญัติให้เป็นไปด้วยความรอบคอบยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนตามที่มุ่งหวังไว้ทุกประการ

 

ทั้งนี้ เมื่อช่วงค่ำของการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมารายจ่าย  พ.ศ.2566 วันสุดท้าย เกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้น  ภายหลัง นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายประมาณ 30 นาที ซึ่งมีการสับสนเรื่องรายชื่อในคิวอภิปรายสำหรับเวลาที่เหลืออยู่ก่อนปิดการประชุม ทำให้นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนาไม่พอใจ ลุกขึ้นประท้วงว่า นายชาดาไม่มีชื่อในคิวอภิปราย 

 

นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ รองโฆษกพรรคภูมิใจไทย

 

ทั้งนี้มีการโต้แย้งกันไปมา โดยนายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมได้พยายามขอให้ทั้งคู่นั่งลงหลายครั้ง อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ภายในห้องยังไม่สงบปรากฏว่า นายชาดา พร้อมกับ ส.ส. พรรคภูมิใจไทย อีกหลายคนเดินตรงไป นายณัฐวุฒิ เพื่อเข้าไปเคลียร์มีเสียงโวยวายสร้างความตกตะลึงในที่ประชุม ระหว่างนั้น มีนายประภัตร โพธสุธน  รมช.เกษตรและสหกรณ์  และนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา เข้าไปช่วยเจรจา นายชาดาจึงเดินออกจากห้องประชุม และให้ ส.ส. เรียกตัว นายณัฐวุฒิ ออกไปคุยนอกห้อง แต่นายณัฐวุฒิยังอยู่ในห้องประชุมไม่ได้เดินตามไป

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม>>>

ถกงบเดือด! "ชาดา" ตบหน้า ณัฐวุฒิ กลางสภาไม่พอใจถูกโวยลัดคิวอภิปราย (มีคลิป)

 

นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ รองโฆษกพรรคภูมิใจไทย  ได้ลงมาชี้แจงสื่อมวลชนถึงกระแสข่าว ที่ระบุว่า นายชาดา ไทยเศรษฐ ส.ส. ภูมิใจไทย ได้ปะทะคารม และตบหน้านายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส. ชาติไทยพัฒนาโดยยืนยันได้ เพราะอยู่ในเหตุการณ์ ไม่มีการทำร้ายร่างกาย ถึงเนื้อถึงตัว และไม่มีการปัดแย่งโทรศัพท์ ตามที่มีการเสนอข่าว  ส่วนที่ ส.ส.คนอื่นเล่า ว่ามีการตบหน้า ตบหัว  เชื่อว่าที่เล่าไปคนละทิศละทางเพราะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์  


สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว นายชาดา ได้เดินไป เพื่อสอบถามว่า ติดใจอะไร หรือมีปัญหาอะไรกับตน  จากที่นายณัฐวุฒิ ใช้คำว่า ประชาชนชั้น 1 ชั้น 2 ซึ่งก็เคลียร์กันพักหนึ่ง  โดยที่มีผู้ใหญ่ของพรรคชาติไทยพัฒนา ได้พยายามทำความเข้าใจ และให้นายณัฐวุฒินั่งลง  แต่ยอมรับว่า นายชาดา เดินไปด้วยอารมณ์ที่โมโห

 

ส่วนที่นายณัฐวุฒิ พูดว่าการกระทำแบบนี้ จะเข้าข่ายทำผิดจริยธรรมได้นั้น เข้าใจว่า อาจจะมาจากอารมณ์ ที่กลัวว่าถูกข่มขู่ คุกคาม และหลังจากนั้น นายชาดา ก็เดินออกไป โดยไม่ได้มีการเคลียร์หลังห้องประชุมสภา  และ เชื่อคงไม่มีปัญหา และนายณัฐวุฒิ ได้อภิปรายพูดถึงเรื่องการให้อภัยแล้ว อีกอย่าง นายชาดา และนายณัฐวุฒิ เคยอยู่พรรคเดียวกัน คือพรรคชาติไทย

 

 

 

logoline