svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

02 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค.เปิดรายชื่อ 10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด เผยข้อมูลล่าสุด ณ วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565 กทม.กลับมาติดเชื้อสูงขึ้นอีก มีผู้ป่วยโควิดรายใหม่ 1,488 ราย รองลงมาจ.ระยอง 123 ราย ส่วนอันดับที่สามวันนี้คือ จ.สิงห์บุรี 77 ราย ย้ำเตือนประชาชนคนไทยทุกคน การ์ดต้องสูง

ศบค.สรุปรายงานยอดผู้ตัวเลข ณ วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565  เวลา 12.30 น.

สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565
 ผู้ป่วยรายใหม่ 2,560 ราย
 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,234,145 ราย
 หายป่วยแล้ว 2,222,813 ราย
 เสียชีวิตสะสม 8,383 ราย

ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 4,457,580 ราย
 หายป่วยแล้ว 4,391,307 ราย
 เสียชีวิตสะสม 30,081 ราย

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 1 มิ.ย. 2565)

รวม 137,880,593 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 1 มิถุนายน 2565

ยอดฉีดทั่วประเทศ 117,528 โดส

เข็มที่ 1 : 14,194 ราย

เข็มที่ 2 : 36,741 ราย

เข็มที่ 3 : 66,593 ราย

----------------------------

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,763,884 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 52,709,567 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 28,407,142 ราย

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : MOPH-IC

 

รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565 จำนวน 34 ราย

แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข

 

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย #ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19  #ศูนย์ข้อมูลCOVID19  #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

เกาะติดสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก 
วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น. 
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 533,538,507 ราย 
อาการรุนแรง 36,688 ราย 
รักษาหายแล้ว 504,389,201 ราย 
เสียชีวิต 6,315,721 ราย 

5 อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา  จำนวน 86,146,955 ราย
2. อินเดีย  จำนวน 43,165,738 ราย
3. บราซิล  จำนวน 31,060,017 ราย
4. ฝรั่งเศส  จำนวน 29,545,397 ราย
5. เยอรมนี  จำนวน 26,422,135 ราย

สำหรับ ประเทศไทย ล่าสุดติดอยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 4,457,580 ราย

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

เปิดรายชื่อ 10 จังหวัดติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด
1.กรุงเทพมหานคร ยอด 1488 ราย
2.ระยอง ยอด 123 ราย
3. สิงห์บุรี ยอด 77 ราย

4.นครศรีธรรมราช ยอด 76 ราย
5.บุรีรัมย์ ยอด 53 ราย
6.ชลบุรี ยอด 46 ราย
7. สระแก้ว ยอด 45 ราย
8.ชัยภูมิ ยอด 39 ราย
9.สมุทรปราการ ยอด 39 ราย
10. นราธิวาส ยอด 35 ราย

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

สธ.เตรียมความพร้อม 4 ด้าน ปรับ “โควิด” สู่โรคประจำถิ่นภายใต้แนวคิด Health for Wealth

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเสนอการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับการเดินหน้าไปสู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย ภายใต้แนวคิด Health for Wealth ใช้สุขภาพสร้างความเข้มแข็งประเทศ คือ ประชาชนปลอดภัย เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยแข็งแรง

 

โดยมีเป้าหมายเพื่อคืนระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ประชาชนทุกคน ผู้ป่วยทุกโรค ได้ใช้บริการตามปกติ เนื่องจากโรคโควิด 19 ลดความรุนแรงลงมาก ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงจนกระทบกับการรักษาพยาบาลโรคอื่น ๆ อีกต่อไป โดยจะมีการเตรียมพร้อมมาตรการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

1. มาตรการด้านสาธารณสุข เดินหน้า Universal Vaccination จะเร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากกว่า 60% ปรับระบบเฝ้าระวังเน้นการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและผู้ป่วยปอดอักเสบ ผ่อนคลายมาตรการสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ ปรับแนวทางการแยกกักผู้ป่วยและกักกันผู้สัมผัส


2. มาตรการด้านการแพทย์ ปรับแนวทางการดูแลรักษาโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอก เน้นดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงอาการรุนแรง และมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยภาวะ Long COVID ปรับมาตรการการดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วไป ไม่ต้องตรวจหาเชื้อโควิค 19 ยกเว้นมีอาการหวัด สงสัยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยในหรือต้องผ่าตัด จะตรวจ ATK หรือ RT-PCR ตามความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วยรายอื่นและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเตรียมระบบการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับอาการและระดับความรุนแรงของโรค เตียง บุคลากร สำรองยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลไว้อย่างเพียงพอ หากเกิดการระบาดซ้ำ
 

3. มาตรการด้านกฎหมาย สังคมและองค์กร โดยบริหารจัดการด้านกฎหมายเพื่อลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณสุข ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจะพิจารณาเสนอให้ปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งจะมีแนวทางการควบคุมป้องกันโรคคล้ายกับโรคติดต่อทั่วไป รวมถึงมีการผ่อนคลายมาตรการทางสังคม ลดการจำกัดการเดินทางและการรวมตัวของคนหมู่มาก ซึ่ง

ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ศบค.ได้เห็นชอบให้พื้นที่นำร่องท่องเที่ยวและพื้นที่เฝ้าระวัง เปิดสถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ อาบ อบ นวด หรือสถานบริการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด และเน้นย้ำประชาชนและสังคมยังเข้มมาตรการ 2U คือ Universal Prevention สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ Universal Vaccination ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม

4. มาตรการด้านการสื่อสาร ทุกภาคส่วนร่วมสร้างความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกับโควิดได้ (Living with COVID) โดยสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างความร่วมมือของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา !!

2 มิถุนายน 2565 ทางด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงการให้วัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 5 ว่า ตามนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้ให้นโยบายในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับคนไทย ด้วยการเร่งฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ที่รับวัคซีนเข็มที่ 3 ครบ 3 เดือนให้มารับเข็มที่ 4 ส่วนประชาชนทั่วไปรับเข็มที่ 3 ครบ 4 เดือนให้มารับเข็มที่ 4 และพิจารณาการให้วัคซีนเข็มที่ 5 ในกลุ่มผู้ที่มีความจำเป็น เช่น ต้องเดินทางไปต่างประเทศที่กำหนดให้รับวัคซีนในชนิดต่างๆ หรือกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เมื่อถามถึงหลักการให้วัคซีนเข็มที่ 5 ในประชาชนทั่วไปที่อยากจะขอรับการฉีด ทางสธ.ได้ส่งหนังสือไปยังหน่วยบริการฉีดแล้วหรือไม่ นพ.โอภาสกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศแนวทางการให้วัคซีนเข็มที่ 5 อย่างเป็นทางการ เนื่องจากข้อมูลการฉีดในไทยยังน้อยอยู่ แต่หากผู้ประสงค์จะรับก็ให้ติดต่อได้ที่หน่วยบริการฉีดวัคซีน โรงพยาบาล และสถานพยาบาล ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการเดิมอย่างที่เราเคยปฏิบัติกันมาคือ พิจารณาระยะเวลาให้วัคซีนและชนิดวัคซีนตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น ผู้ที่อาจไปตรวจระดับภูมิฯ มาแล้วพบว่าภูมิฯ ต่ำ หรือ ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ

เมื่อถามต่อว่าแนวทางของวัคซีนเข็ม 5 ควรจะเป็นชนิดใด

นพ.โอภาส กล่าวว่า อย่างที่เรียนว่าการฉีดจะเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากการเริ่มต้นวัคซีนแต่ละคนต่างกัน รวมถึงจุดประสงค์ที่จะฉีดด้วย เช่น ผู้ที่จะไปประเทศญี่ปุ่น ที่กำหนดวัคซีนไฟเซอร์ ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับได้ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แพทย์ก็จะพิจารณาวัคซีนเข็มกระตุ้นให้

10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุด กทม.วันนี้ยอดยังสูง 1,488 ราย

logoline