svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ส่องนโยบายด้านสังคมของผู้สมัคร "ผู้ว่าฯกทม."เวทีดีเบต

16 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ส่องนโยบายด้านสังคมของผู้สมัคร "ผู้ว่าฯกทม." จากเวทีดีเบต ประชันวิสัยทัศน์ โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งจัดโดยเครือเนชั่นกรุ๊ป" สรุปสาระสำคัญ เรื่องของ “สิทธิ์ของคนพิการต้องเท่าเทียม" และเรื่อง"การแก้ปัญหาเรื่องปากท้อง การค้าขายหาบเร่แผงลอย"

นาวาตรีศิธา ทิวารี ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.หมายเลข 11  ตอบคำถามเรื่อง “สิทธิ์ของคนพิการต้องเท่าเทียม" ว่า คนที่ถูกละเลยมาตลอด อันดับแรกคือ สิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสิทธิที่ครอบคลุมทั้งหมดของคนพิการและกรุงเทพมหานคร รวมถึงหน่วยงานของรัฐ ไม่เคยให้ความสำคัญ และไม่เคยให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง อันดับแรกสิ่งอำนวยความสะดวกทางสัญจรไปมา กรุงเทพมหานคร พูดมาตลอดว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งคนพิการไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างเดียวแต่อยู่หลังสุด  เช่น สกายวอร์กคนพิการเขาไม่ได้มองเห็นเหมือนคนทั่วไป เพราะไม่ได้ใช้งาน จึงมองว่าเป็นอัตลักษณ์

 

ดังนั้น หน่วยงานกรุงเทพมหานคร จะต้องทำให้คนทุกคนเข้าถึงการบริการของภาครัฐ หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด ต้องส่งเสริมการสร้างงานให้กับคนพิการ โดยหน่วยงานของกรุงเทพมหานครต้องมีโควตาเข้ารับทำงาน เช่นเดียวกันต้องมีการรับเขาเพิ่มทักษะ เข้าไปศึกษาอาชีพ ส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและหน่วยราชการอื่นๆ เรื่องงบประมาณที่จะใช้ถ้าจะมีสิ่งปลูกสร้างหากมีผู้ว่าฯ ชื่อ ศิธา สเปคงานที่โผล่ออกมา ถ้าคนพิการเข้าถึงไม่ได้ตนจะไม่ให้ผ่าน จะต้องมีการจัดงบประมาณให้คนพิการเข้าถึง ซึ่งเป็นสิ่งที่กรุงเทพมหานครไม่เคยจริงจังมาก่อน 

นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.หมายเลข 3  ตอบคำถามเรื่อง “สิทธิ์ของคนพิการต้องเท่าเทียม" ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือสิทธิที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ตนได้เคยคุยกับคนพิการ หลากหลายเขาเหล่านั้นไม่ได้ต้องการความสงสาร แต่ต้องการที่จะใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง ในสังคมเหมือนคนปกติคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นในยุคของผู้ว่าฯที่ชื่อ สกลธี อย่างแรกคือ สถาปัตย์ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของผู้พิการจะหมดไป ที่ต้องได้รับการแก้ไขทั้งการคมนาคมขนส่ง​ รวมไปถึงทางเท้า

 

นอกจากนี้คือ การให้ความรู้กับผู้พิการ ซึ่งในชั้นประถมนั้นไม่มีปัญหา แต่เมื่อขึ้นชั้นมัธยมและมัธยมปลาย ที่จะรับคนพิการยังมีโรงเรียนน้อยมากที่จะรับผู้พิการ ทั้งด้านสติปัญญาและร่างกาย ซึ่งผู้ว่าฯที่ชื่อ สกลธี จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องทำให้ผู้พิการเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม รวมถึงการประกอบอาชีพ หน่วยงานกรุงเทพฯจะต้องจ้างผู้พิการตามกฎหมายอย่างน้อย 1% หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน ก็ไม่มีหน่วยงานไหนจ้าง ก่อนตนออกมาจากรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จ้าง 300 กว่าตำแหน่ง

 

แต่หากตนได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯจะจ้างให้ครบ 1% เป็นหน่วยงานแรกของเมืองไทย การจ้าง จะต้องไม่มีข้อจำกัดเยอะ จะต้องวุฒิปริญญาตรีหรืออะไร​ แค่จ้างตามวุฒิม. 6 / ม. 5 / มหาลัย ได้ทุกคน ต้องทำให้อาชีพของเขาอยู่กันอย่างมีศักดิ์ศรี ตนเชื่ออย่างหนึ่งว่า ถึงจุดหนึ่งอาจจะต้องมีวิชาชีพให้กับผู้พิการเรียน ซึ่งวันนี้ก็ทำแล้วคือ ปลูกพืชเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ให้เขาอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างมีศักดิ์ศรี

 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.หมายเลข 8  ตอบคำถามเรื่อง"แก้ปัญหาเรื่องปากท้อง การค้าขายหาบเร่แผงลอย" ว่า หาบเร่แผงลอยเป็นสิ่งจำเป็นต้องอยู่กับคนกทม.ผู้ซื้อผู้ขายก็ต้องการ พ่อค้าแม่ค้าหายไปจากระบบเป็นหมื่นคน ดังนั้นหัวใจคือ หาบเร่แผงลอยต้องไม่เบียดเบียนคนเดินเท้า ต้องจดทะเบียนผู้ค้า อบรมให้ความรู้ด้านสุขลักษณะ ดูว่าพื้นที่ไหนมีหาบเร่แผงลอยได้ และต้องตั้งคณะกรรมการในพื้นที่ขึ้นมา ซึ่งที่ทำสำเร็จแล้วคือซอยอารีย์ มีการจัดระเบียบที่ดี และทำให้พ่อค้าแม่ค้าในห้องแถวขายดีขึ้นด้วย และควรมีการทำฮ็อกเกอร์เซ็นเตอร์ โดยหาพื้นที่ของราชการหรือเอกชนนำคนหาบเร่แผงลอยเข้าไปอยู่ แต่ต้องเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย อย่าง พื้นที่ซอยนานา มีหาบเร่แผงลอยจำนวนมาก และขณะนี้มีศูนย์โอท็อปที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ใต้ทางด่วน กทม.จึงควรเข้าไปคุยกับเอกชนแล้วนำเอาหาบเร่แผงลอยเข้าไป และจะต้องพัฒนาชีวิตให้คุณภาพดีชึ้นไม่ใช่ให้เขาอยู่ข้างถนนตลอดไป

 

นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.หมายเลข 3 ตอบคำถามเรื่อง"แก้ปัญหาเรื่องปากท้อง การค้าขายหาบเร่แผงลอย" ว่า เรื่องสตรีทฟู้ดเป็นเรื่องสำคัญของคนกรุงเทพฯ แต่เป็นปัญหาที่ต้องสร้างสมดุลให้ดี ซึ่งตนพูดในหลายวิธีหลายโอกาส ว่าจะเป็นผู้ว่าฯของคนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะเป็นผู้ว่าฯของคนเดินเท้าหรือแม่ค้า เพราะฉะนั้นในยุคของผู้ว่าฯสกลธี การค้าขายในที่สาธารณะ เพื่อช่วยคนรายได้น้อยมีอย่างแน่นอน ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นทางเท้า เพราะฉะนั้นคงขายไม่ได้ทุกจุด เพราะฉะนั้นจุดที่ผู้ว่าฯสกลธี ที่จัดให้ทำการค้าช่วยเหลือคนยากจน ต้องมีทางเท้าที่กว้างขวางเพียงพอ ไม่กระทบต่อการจราจร ของคนเดินเท้าเป็นสำคัญ   

 

นอกจากการหาพื้นที่ จะทำอย่างไรให้ผู้ค้าอยู่อย่างยั่งยืนในการช่วยเหลือทั้งระบบ อย่างแรกที่กรุงเทพฯจะช่วยได้คือ การจ่ายเงินช่วยเหลือคนรายได้น้อยรายละ 5,000 บาท โดยจ่ายคนที่ยากจนจริงๆ หากเป็นระบบที่ต้องจ่ายมากขึ้นไปอีก ต้องอาศัยพันธมิตร เช่น ธนาคารออมสิน ซึ่งในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็เลยทำโครงการกับธนาคารออมสิน ด้วยการช่วยเหลือคนยากจนอยู่แล้ว

 

เมื่อมีเงิน ต้องมีความรู้ด้วย อย่างโรงเรียนฝึกอาชีพของกทม. หลายแห่งจะสอนในเรื่องของการเย็บปักเสื้อผ้ามาขาย สอนทำอาหารหรือหลายอย่าง ซึ่งเขาก็สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ สุดท้ายเมื่อมีเงินมีความรู้ ก็คือสถานที่ขาย คงจะไม่สามารถให้ทุกที่ได้เพราะเป็นผู้ว่าฯของคนทุกคน​  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมและพัฒนาแล้วในหลายจุด รวมถึงนำพื้นที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ​ ทางใต้ทางด่วน​ ที่การรถไฟและที่ของกรมธนารักษ์ การท่าเรือ  หรือนำมาช่วยประชาชนค้าขาย หากตนได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน 
 

logoline