svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เปิดสถิติ “ราคามาม่า” ดัชนีเศรษฐกิจไทยในรอบ 50 ปี ขึ้นมากี่ครั้ง ?

28 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดสติติ “ราคามาม่า” หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทย ในรอบ 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 – 2565 ขึ้นราคามาแล้วกี่ครั้ง ?

จากกรณีข่าวการขึ้น “ราคามาม่า” หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่นับว่าเป็นดัชนีชี้วัดสภาพเศรษฐกิจของไทย โดย “มาม่า” จะมีการปรับขึ้นราคาในวันที่ 1 พ.ค. นี้ โดยซัพพลายเออร์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเด้นท์ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตรามาม่า ได้ทยอยแจ้งการปรับขึ้นราคาสินค้าไปยังคู่ค้าต่าง ๆ หลังจากที่พยายามตรึงราคามาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

 

โดยสินค้าที่มาม่า แจ้งปรับราคา หลัก ๆ จะเป็นกลุ่มเส้นสีเหลือง อาทิ รสต้มยำกุ้ง รสหมูสับ เป็นต้น โดยมีการปรับราคาขายส่งเพิ่มขึ้นอีก 2 - 3 บาท/กล่อง (30 ซอง) หรือ 10 - 14 บาท/ลัง (6 กล่อง หรือ 180 ซอง) ส่วนเส้นขาว เช่น เส้นหมี่น้ำใส และมาม่า คัพ ยังไม่มีการปรับราคา

 

เปิดสถิติ “ราคามาม่า” ดัชนีเศรษฐกิจไทยในรอบ 50 ปี ขึ้นมากี่ครั้ง ?

 

โดยราคาขายมาม่าปรับเป็นกล่องละ 145 บาท จากเดิม 143 บาท และลังละ 870 บาท จากเดิม 858 บาท และในตลาดจะเริ่มทยอยใช้ราคาใหม่นี้ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. นี้ เป็นต้นไป

 

หลังจากที่ราคาขายส่งปรับขึ้นดังกล่าวแล้ว คาดว่าอีกสัก 1 - 2 สัปดาห์ หรืออย่างช้า 1 เดือน ราคาขายปลีกในท้องตลาดก็จะทยอยปรับขึ้นตามมา และมีความเป็นได้ที่อาจจะปรับขึ้นเฉลี่ยซองละ 0.50-1 บาท จากเดิมที่ขายในราคา 6 บาท

 

อย่างไรก็ตามหากหากย้อนสถิติการขึ้นราคามาม่า “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า

การปรับราคามาม่าเกิดขึ้นมาแล้ว รวมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ดังนี้

 

ปี 2515 - ซองละ 2 บาท

เป็นราคาขายครั้งแรกหลังบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 โดยการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ชำนาญทางเทคโนโลยีการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กับบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ผู้รับผิดชอบการตลาดและจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเบื้องต้น มูลค่า 6 ล้านบาท เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในเครื่องหมายการค้า "มาม่า"

 

ปี 2540 – ซองละ 5 บาท

เป็นการปรับราคานับตั้งแต่เกิดวิกฤตฟองสบู่แตก ปี พ.ศ.2540 ที่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ส่งผลให้ต้นทุน ปรับเพิ่มขึ้นจากผลพวงการลอยตัวค่าเงินบาท

ปี 2550 – ซองละ 6 บาท

เป็นการขอปรับราคาในช่วงไตรมาส 4 ปี 2550 โดยมีเหตุผลการปรับราคามาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแป้งสาลี และน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ

 

เปิดสถิติ “ราคามาม่า” ดัชนีเศรษฐกิจไทยในรอบ 50 ปี ขึ้นมากี่ครั้ง ?

 

ปี 2565 – เพิ่มซองละ 0.50-1 บาท (พ.ค.เป็นต้นไป) 

สาเหตุของการปรับคล้ายกับปี 40 และ 50 ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ต้นทุนสูงขึ้น ทั้งจากค่าขนส่ง ที่รัฐบาลจะมีการปรับลอยตัวน้ำมันดีเซล 1 พ.ค. 65 และวัตถุดิบสำคัญ อาทิ แป้ง น้ำมันพืช และอื่นๆที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระลอกๆ ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

 

ที่มา :ฐานเศรษฐกิจ

logoline