svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

26 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังเดินเข้าสู่สมรภูมิทางการเมืองร้อนแรง เมื่อฝ่ายค้านพุ่งเป้าไปที่การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง"นายกฯประยุทธ์" อยู่ครบ 8 ปีเมื่อไหร่ มาร่วมพิจารณากัน

 

หมายเหตุ -  ดร.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร อาจารย์จากสำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  และ อาจารย์ธนันท์ เศรษฐพันธ์ นักวิชาการอิสระ ได้มีการทำข้อเสนอเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ของ"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" ไว้อย่างน่าสนใจ "เนชั่นทีวี"ออนไลน์  จึงขอนำเสนอในตอนที่สาม

 

อ่านเพิ่มเติม >>> 

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

ตอนที่ 3 การนับระยะเวลาตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

เราได้เห็นมาแล้วในตอนที่ ๑ ว่า การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น ต้องนับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรกด้วย ในตอนที่ ๒ ยังเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ประเพณีการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ในวาระเริ่มแรก จะนับตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ได้รับแต่งตั้ง หรือได้รับเลือกตั้ง การนับแบบนี้ปรากฏทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ และฉบับที่แล้ว ๆ มาตั้งแต่ฉบับปี ๒๔๘๙  แม้จะสรุปได้ว่า การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะต้องนับต้ังแต่ได้รับพระบรมราชโอการแต่งตั้งเมื่อปี ๒๕๕๗ แต่เพื่อ หนักแน่นขึ้น ตอนนี้จะสำรวจดูความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าของคณะรัฐมนตรีในวาระ เริ่มแรก โดยไล่เลียงจากฉบับปี ๒๔๘๙ มา ผ่านถ้อยคำและเนื้อหาของบทบัญญัติ

 

 

 

ความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าของคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรก  

 

การพิจารณาความหมายของบทบัญญัติอีกทางหนึ่ง โดยการย้อนกลับไปดูบทบัญญัตินั้นๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ๆ มา บทบัญญัติต่าง ๆ มักจะเป็นการนำบทบัญญัติที่เคยใช้มาก่อน มาบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายฉบับใหม่ หรือไม่ก็นำมาแก้ไขเพิ่มเติม บางกรณีก็เพียงแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้ รัดกุม บางกรณีก็แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้กระทำการเหมาะแก่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายฉบับใหม่

 

สำหรับบทบัญญัติที่ให้คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก นั้น มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำนี้ต่างกันเป็น ๔ อย่างเป็นลำดับ คือ "อยู่ในตำแหน่ง"  "คงอยู่ในตำแหน่ง"  "เป็น" และ "คงเป็น"  

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๘๙ บัญญัติว่า "ให้คณะรัฐมนตรีซึ่งบริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันใช้ รัฐธรรมนูญนี้อยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการไปจนกว่าจะได้ตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่"  

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๙๒ และฉบับปี ๒๔๙๕ บัญญัติไว้ทำนองเดียวกันกับฉบับปี๒๔๘๙ แต่เพิ่มเติมคำว่า "คง" หน้าคำว่า "อยู่ในตำแหน่ง" เป็น "ให้คณะรัฐมนตรีซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) [พุทธศักราช ๒๔๙๐] คงอยู่ในตำแหน่งบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาต่อไปก่อน และพ้นจากตำแหน่งเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนชุด ที่ได้รับเลือกตั้งเพิ่มขึ้นตามความในมาตรา ๑๘๔ เข้ารับหน้าที่..."

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

การดำรงตำแหน่งของคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกของรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับนี้ จึงเป็นการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าอย่างชัดเจน และโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๙๒ และฉบับ ปี ๒๔๙๕ ก็มีถ้อยคำให้บริหารราชการแผ่นดิน "ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา"  

 

รัฐสภาที่ว่านี้ เป็นรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๙๐ กับตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๗๕ ซึ่งนำกลับมาใช้อีกครั้ง เมื่อปี ๒๔๙๔

 

มาถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๑๑ ได้แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า "(คง) อยู่ในตำแหน่ง" เป็น  "ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหาร ราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือคณะรัฐมนตรีใหม่หากจะมีขึ้นภายหลัง เป็นคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญนี้" การแก้ไขเพิ่มเติมนี้ได้ทำให้คณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวมีสถานะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากขึ้น และยังมีบทบัญญัติให้ใช้บังคับบทบัญญัติหลักมาตราหนึ่งด้วย คือ "ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๓ วรรคสอง มาใช้บังคับโดย อนุโลม "มาตรา ๑๔๓ วรรคสอง คือ "คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานไปจนกว่าจะตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่" สังเกตว่า การบัญญัติให้ใช้มาตรา ๑๔๓ โดยอนุโลม ก็แสดง ด้วยว่าคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกยังไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติหลักเต็มที่นัก ชวนให้เข้าใจว่า "ตามรัฐธรรมนูญนี้" เป็นส่วนขยายของคำว่า "บริหารราชการแผ่นดิน" คือให้การบริหารราชการแผ่นอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั่นเอง

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๑๗ บัญญัติเหมือนกับฉบับปี ๒๕๑๑ ว่า "ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือคณะรัฐมนตรีหากจะมีขึ้นก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๒๓๓ เป็นคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญนี้…" แต่มีบทบัญญัติ เพิ่มเติมต่างไป เป็น "และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๗๙ และมาตรา ๑๘๐ มาใช้บังคับแก่การ ดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีตามมาตรานี้ " การที่บัญญัติว่า "มิให้นำ…..มาใช้บังคับ" ก็หมายความว่า มีการใช้บังคับบทบัญญัติหลักที่เกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๗๙ ว่าด้วยรัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการประจำมิได้ กับมาตรา ๑๘๐ ว่าด้วยการมีผลประโยชน์จากรัฐหรือการขัดกันแห่งผลประโยชน์

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๒๑ บัญญัติไว้เหมือนกับฉบับปี ๒๕๑๗ แต่ยกเว้นบทบัญญัติหรือมิให้นำมาใช้บังคับนั้นได้ยกเว้นเฉพาะบทบัญญัติที่ว่าด้วยรัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการประจำ ผู้พิพากษาและ ตุลาการ มิได้

 

จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๑๑ ฉบับปี ๒๕๑๗ และฉบับปี ๒๕๒๑ บัญญัติให้คณะ รัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกมีสถานะเป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีถ้อยคำในบทบัญญัติว่า "ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือ คณะรัฐมนตรีใหม่หากจะมีขึ้นภายหลัง..." การที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นในระหว่างวาระเริ่มแรก มี สถานะเดียวกับคณะรัฐมนตรีชุดที่อยู่ก่อนหรือในวันประกาศรัฐธรรมนูญนั้น ก็แสดงว่าคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรก ยังคงไม่มีสถานะตามบัญญัติหลักอย่างสมบูรณ์

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

รัฐธรรมนูญฉบับถาวรปี ๒๕๓๔ ได้แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำใหม่เป็น "ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้..." และยกเว้นมิให้ ใช้บังคับบทบัญญัติตามอย่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๑๗ ถ้อยคำว่า "เป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้" เป็นการรับรองสถานะว่าอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของรัฐธรรมนูญอย่างมีน้ำหนักมากขึ้นและรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๓๘ ได้เพิ่มเติมคำว่า "คง" หน้าคำว่า "เป็น" และเพิ่มเติมถ้อยคำส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเป็น "...คงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" การเพิ่มเติม คำว่า "คง"แสดงให้เห็นถึงความเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรก ยังเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฉบับก่อนหน้า

 

คำว่า "...คงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"ใช้ต่อมาอีกในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ กับฉบับปี ๒๕๕๐ และในฉบับปี ๒๕๖๐ ได้ตัดคำว่า "คง" ออก ข้อสังเกตสำคัญของ รัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับนี้ คือการนำบทบัญญัติหลักว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสำหรับคณะรัฐมนตรีและว่าด้วยรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งเฉพาะตนมาใช้บังคับ โดยผ่านการยกเว้นบางประการ

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ บทบัญญัติหลักห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เป็นรัฐมนตรี แต่สำหรับคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกยกเว้นไว้ บทบัญญัติได้บัญญัติความเป็นรัฐมนตรี และการได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีไว้ในมาตรา ๒๐๑ ถึงมาตรา ๒๐๔ ก็ยกเว้นไว้ ในมาตรา ๒๐๖ ว่า ด้วยคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ก็ยกเว้นข้อที่เกี่ยวกับอายุ การศึกษา และการเป็นหรือเคยเป็น สมาชิกวุฒิสภามาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ยกเว้นบทบัญญัติที่ให้รัฐมนตรีต้องไม่มี หุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ยกเว้นบทบัญญัติที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทั้งคณะบาง ประการ และยกเว้นบทบัญญัติที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวบางประการ

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ บทบัญญัติหลัก ให้นายกรัฐมนตรีมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเลือกโดยมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่สำหรับนายกรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกยกเว้นไว้ สำหรับ บทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม กับว่าด้วยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวก็ได้ ยกเว้นบางประการไว้

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ในมาตรา ๒๖๔ วรรคสอง ได้บัญญัติว่า รัฐมนตรีในวาระเริ่ม แรก ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๕๗ แล้ว ยังต้อง

 

ก. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ยกเว้นบางประการ

 

ข. พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีเฉพาะตนตามมาตรา ๑๗๐ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ยกเว้นบางประการ

 

จะเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ฉบับปี ๒๕๕๐ และฉบับปี ๒๕๖๐ มีการเพิ่มความ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติหลักของรัฐธรรมนูญมากขึ้น ด้วยการให้คณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกต้อง มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามกับพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามบทบัญญัติหลัก แต่การที่มีการ ยกเว้นบางประการไว้ ก็แสดงอีกด้วยเช่นกันว่า ความเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกยังคงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า หรือตามเวลาที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

 

ความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ มีโดดเด่น มากกว่าฉบับปี ๒๕๔๐ กับฉบับปี ๒๕๕๐ ประการแรก ได้ย้ำความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับ ก่อนหน้าไว้ในมาตรา ๒๖๔ วรรคสอง ว่า "รัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งนอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักร ช ๒๕๕๗ แล้ว…" ประการที่สอง วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า

 

 การดำเนินการแต่งตั้งรัฐมนตรีในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนิน การตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๙ แต่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคสองด้วย

 

กล่าวคือ เมื่อจะแต่งตั้งรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรก ก็ให้ใช้บัญญัติตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๕๗ ไม่ได้ใช้บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ยกเว้นบทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม กับการพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีเฉพาะตน โดยยกเว้นบางประการไว้ตามวรรคสอง

 

ดังนั้น จึงชัดเจนว่า การให้คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่งในวาระ ๕ เริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ไม่ใช่การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ และคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวไม่ได้พ้นจากตำแหน่งหรือความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ในบางกรณียังมองว่าเป็นตำแหน่งเดิมด้วยซ้ำ เช่น การใช้คำว่า "คงเป็น" เพียงแต่มาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้นจึงเป็นเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในวาระเริ่มแรก การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

การพิจารณาปัญหาการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่อภิปรายกันตามสื่อสารมวลชน มักพิจารณาเพียงถ้อยคำบทบัญญัติ มาตรา ๒๖๔ วรรคหนึ่ง กับมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ โดยตีความถ้อยคำประกอบหลักกฎหมายบาง ประการ จึงมีปัญหาความเห็นไม่ลงรอยกัน

 

ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า บทบัญญัติมาตรา ๒๖๔ มีสี่วรรค วรรคสอง ว่าด้วยคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว โดยยกเว้น บางประการไว้ด้วย แต่ไม่ได้ยกเว้นบทบัญญัติที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตาม มาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ แสดงให้เห็นว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ใช้หลักกฎหมายเหมือนอย่างที่ผู้เสนอ ความเห็นบางท่านใช้ โดยเฉพาะผู้มีความเห็นว่า บทบัญญัติจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบุคคลหนึ่ง ๆ นั้น ต้องใช้กับกรณีนายกรัฐมนตรีที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ซึ่งมาจากการเสนอชื่อของพรรคการเมือง และได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

เมื่อเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติให้จำกัด ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบุคคลหนึ่ง ๆ โดยจำกัดระยะเวลาไว้ ๘ ปี แต่ให้นับระยะ เวลาที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกัน เมื่อบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๔๙ มาดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ก็ให้ใช้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความเป็น รัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามบทบัญญัติหลัก และยกเว้นบางประการไว้ แต่ไม่ได้ยกเว้นบทบัญญัติที่ให้ "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปีมิได้" ด้วยเช่นกัน

 

การพิจารณาถ้อยคำของบทบัญญัติประกอบกับหลักกฎหมายต่างกัน ก็ย่อมทำให้เข้าใจความ หมายของถ้อยคำนั้นต่างกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งตีความถ้อยคำว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้ว เกินแปดปีมิได้" ในความหมายกว้าง ก็จะหมายรวมไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ๖ ฉบับชั่วคราวปี ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ด้วย เนื่องจากบทบัญญัตินี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติความเป็นนายกรัฐมนตรีในมาตรา ๑๗๑ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติให้ "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่ แปดปีมิได้" 

 

ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งตีความว่า การใช้บังคับกฎหมาย ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง อำนาจใช้บังคับจึงต้อง เริ่มต้นตามเวลาที่ประกาศใช้บทบัญญัตินั้น ๆ ในกรณีนี้ "นายกรัฐมนตรี" ก็จะหมายถึงนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ เท่านั้น และถ้าจะนับรวมนายกรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรก ก็ต้องนับตั้งแต่ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

 

แต่เราควรพิจารณามาตรา ๒๖๔ ในฐานะที่ที่เป็น "บทเฉพาะกาล" กล่าวคือ เป็นหมวดที่ บทบัญญัติใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็นการใช้บังคับให้กระทำการบางประการต่างไปจากบทบัญญัติ หลัก หรือการให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก ดังนั้น บทบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๕๗ มาดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก ก็จะอยู่ในแนวเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามรัฐธรรมนูญ เราจึงเทียบเคียงบทบัญญัติเหล่านี้เพื่อทำความ เข้าใจถ้อยคำให้กระจ่างมากขึ้น

 

ตามที่นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งอื่นตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่ง ในวาระเริ่มแรก แม้จะไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ แต่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เมื่อสำรวจพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหล่านั้น ก็จะเห็นว่า ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าจะอยู่ในตำแหน่งหรือดำรงตำแหน่งต่อไปจนหมดวาระ โดยนับตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งหรือได้รับแต่งตั้ง แม้คณะกรรมการเลือกตั้งและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องพ้นจากตำแหน่งในวันประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ แต่ก็ได้รับบำเหน็จโดยคำนวณนับตั้งแต่วันได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

 

การนับระยะเวลาหรือวาระการดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก ให้นับตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ไม่ได้มีแต่เฉพาะในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ เท่านั้น เมื่อเราสำรวจไปใน รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ๆ มา ก็บัญญัติไว้เช่นนี้ จนเราอาจเรียกได้ว่า "ประเพณีการนับระยะเวล การดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญในวาระเริ่มแรก" ซึ่งจะเริ่มนับเมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งได้รับแต่งตั้ง หรือได้รับเลือกตั้ง

 

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาบทบัญญัติที่ให้คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก พิจารณาย้อนกลับไปตามรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ๆ มา ก็จะพบว่า บทบัญญัตินี้ค่อย ๆแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะการนำบทบัญญัติ หลักที่ว่าด้วยคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม กับว่าด้วยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว มาใช้ ๗ บังคับ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า และชัดเจนมากขึ้นใน รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐

 

ดังนั้นการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงต้องนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรก โดยนับตั้งแต่ ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ กับในคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นภายหลัง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก โดยนับตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

ยังมีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการนับระยะเวลาอยู่อีกประการหนึ่ง และไม่มีการอภิปรายกันตาม สื่อมวลชน คือ การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ จะนับอย่างไร โดยเหตุที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน จึงจะนับแบบ "ติดต่อกัน" หรือนับแบบ"รวมกัน" 

 

บทบัญญัติว่าด้วยการจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบุคคลหนึ่ง ๆ มีขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ และแก้ไขเพิ่มเติมใช้ต่อมาในฉบับปี ๒๕๖๐

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปีมิได้"

 

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ มาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรง ตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะ เวลา ในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง" 

 

หากพิจารณาจากถ้อยคำในบทบัญญัติทั้งสองมาตรานี้ การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ให้นับตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งครั้งแรกเรื่อยไปจนได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งครั้งถัด ๆไปและจนครบ ๘ ปี

 

ส่วนการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเป็นวาระหรือเป็นคราว ๆ แล้วนำมารวมกัน เมื่อครบ ๘ ปีก็ถือเป็นที่สิ้นสุด

 

ดังนั้น ในเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามวาระเริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ และเป็นนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก จะนับอย่างติดต่อกันเพราะดำรงตำแหน่งต่อเนื่องติดต่อกันมาหรือจะนับอย่างรวมกันตามถ้อยคำในบทบัญญัติมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ โดยแยกเป็นวาระก่อน แล้วนำมานับรวมกัน

 

หากคำนวณระยะเวลาการดำรงนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยนับแบบติดต่อกันก็จะนับตั้งแต่วันได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗  และติดต่อกันมาจนได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒ และจะครบ ๘ ปีในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕

 

หากคำนวนระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยนับแบบรวมกันก็จะนับเป็นวาระแล้วนำมารวมกัน แยกเป็นการดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรกกับการดำรง ตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก

 

ก. การดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก นับตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นภายหลัง การเลือกตั้งทั่วไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณเข้ารับหน้าที่ รวมเป็นระยะเวลา ๔ ปี ๑๐ เดือน ๒๓ วัน

 

ข. การดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก นับแต่ วันได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒ แล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีก ๓ ปี ๑ เดือน ๘ วัน ก็ครบ ๘ ปีตามกำหนด คือวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ 

 

บันทึกส่วนเพิ่มเติม ในการสำรวจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ตีความบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี ในวาระเริ่มแรก

 

คำวินิจฉัยที่ ๑๐/๒๕๔๓ เรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ กรณี นายอนันต์ ศวัสตนานนท์ จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ เป็นคำวินิจฉัยฉบับแรกของศาล รัฐธรรมนูญที่พาดพิงถึงบทบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่งในวาระ เริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่ก่อนหน้ามีคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับการให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตาม รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก แต่จะยกไว้ไม่กล่าวถึง

 

อันที่จริง คำวินิจฉัยที่ ๑๐/๒๕๔๓ นี้ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ตีความหรืออธิบายบทบัญญัติดังกล่าวโดยตรง แต่จากคำวินิจฉัยก็แสดงการรับรองถ้อยคำในคำร้องของคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ ในคำวินิจฉัยได้สรุปข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องไว้ตอนหนึ่ง ว่า ผู้ถูกร้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตั้งแต่ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ เมื่อ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ก็ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในกรณีเข้ารับตำแหน่ง "ในกรณีที่เป็นการเข้ารับตำแหน่ง สำหรับข้าราชการการเมือง ซี่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ (๕) ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ การยื่นบัญชีแสดง รายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบจะเป็นวันใดนั้น ตามบทเฉพาะกาลมาตรา ๓๑๗ บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จึงถือได้ว่ เป็นการดำรงตำแหน่งใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้ โดยถือวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ คือวันที่ ๑๑ ตุล คม ๒๕๔๐ เป็นวันเริ่มต้นการเข้ารับตำแหน่ง…" 

 

ในการวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินฯ หรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตีความบทบัญญัติดังกล่าว แต่วินิจฉัยไปตามคำร้อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับรองการตีความของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

มีข้อสังเกตว่า ในคำวินิจฉัยส่วนตนของศาสตราจารย์โกเมน ภัทรภิรมย์ ตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความเห็นแย้ง ได้ตีความบทบัญญัติดังกล่าวว่า "พิจารณาแล้วโดยที่บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา๓๑๗ วรรคหนึ่ง ว่า "ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้คงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"ดังนั้นแม้ว่าโดยหลักการ เมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญย่อมสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญไปด้วย แต่เมื่อ รัฐธรรมนูญใหม่มีบทเฉพาะกาลให้คณะรัฐมนตรีชุดเดิมคงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ใหม่ต่อไป นายกรัฐมนตรีคนเดิมก็คงเป็นรัฐมนตรีต่อไป ไม่มีการกระทำที่แสดงว่า เป็นการเข้ารับตำแหน่งใหม่ เช่น ไม่มีการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ไม่มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ เป็นต้น...ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่า นายกรัฐมนตรีเข้ารับตำแหน่งในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ อันเป็นวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้" 

 

ต่อมาใน  คำวินิจฉัยที่ ๒๗/๒๕๔๓ เรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ กรณีนายโกศล ศรีสังข์ จงใจ ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ในคำวินิจฉัยฉบับนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ ตีความบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกว่า "พิจารณาแล้ว เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงเป็นคณะรัฐมนตรีต มบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" หมายความว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐมนตรีใน คณะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ยังคงความเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป การดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญนี้ จึงต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ คือ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ เป็นวันเริ่มต้นการเข้ารับตำแหน่ง…" ส่วนความเห็นของศาสตราจารย์ โกเมน ภัทรภิรมย์ ยังคงเหมือนเดิม

 

การตีความบทบัญญัติดังกล่าวตามคำร้องของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ กับคำวินิจฉัยส่วนตนของศาสตราจารย์โกเมน ภัทรภิรมย์ มีความเห็นต่างกันที่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น จะถือว่าคณะรัฐมนตรีในวาระเริ่มแรกได้เข้ารับตำแหน่งใหม่หรือไม่ แต่มีความเห็นตรงกันว่า คณะรัฐมนตรีชุดนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าหรือในที่นี้คือ รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี ๒๕๓๘

 

ใน คำวินิจฉัยที่ ๒๐/๒๕๔๔ เรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ กรณีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ได้ตีความบทบัญญัติดังกล่าวไว้ว่า "พิจารณแล้วรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ ๑๐/๒๕๔๓ และ ๒๗/๒๕๔๓ สรุปได้ว่าให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ยังคงเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีตา มรัฐธรรมนูญต่อไป จึงต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ คือ วันที่ ๑๑ ตุล คม ๒๕๔๐ เป็นวันเริ่มต้นการเข้ารับตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง" 

 

เปิดแฟ้มวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียงวาระ"นายกฯประยุทธ์"ครบ 8 ปีเมื่อไหร่(3)

 

ในช่วงเวลาของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ มีคำวินิจฉัยที่พาดพิงถึงบทบัญญัติดังกล่าว คือ คำวินิจฉัยที่ ๕/๒๕๖๑ เรื่อง คณะกรรมการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๕) ประกอบม ตร ๑๘๗ หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความบทบัญญัติดังกล่าวไว้ว่า “...โดยที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๔ เป็น บทเฉพาะกาลที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ เพื่อความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามบทหลัก ยกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการอันเป็นกรณีที่ใช้บังคับแก่คณะรัฐมนตรีซึ่งมีที่มาตามรัฐธรรมนูญนี้เป็นการเฉพาะ รวมถึงมิให้นำการพ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรีด้วยเหตุบางประการที่กำหนดไว้ สำหรับรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับ…" 

 

และ "ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่า วันที่ได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวคือวันใด ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีแนวคำวินิจฉัยวางหลักการไว้ว่าการให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งตาม รัฐธรรมนูญฉบับก่อน ยังคงเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป จะต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ เป็นวันเริ่มต้นเข้ารับตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๐/๒๕๔๔ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ วันที่ถือว่าผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๔ ประกอบมาตรา ๑๘๗ จึงเป็นวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐…" 

 

การที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ถ้อยคำ "ได้รับแต่งตั้ง" กับ "เข้ารับตำแหน่ง" ปะปนกันในถ้อยคำนี้ เนื่องจากประเด็นการวินิจฉัยเกี่ยวข้องกับมาตรา ๑๘๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ ซึ่ง บัญญัติไว้ว่า"ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีตามวรรคหนึ่งต่อไป ให้แจ้ง ประธานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้ โอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดัง กล่าว ให้แก่นิติบุคคลซี่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ดังนั้น เพื่อจะกระทำการตามบทบัญญัติสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใน วาระเริ่มแรก จึงมีปัญหาว่า "วันที่ได้รับแต่งตั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวคือวันใด" แล้วตีความบทบัญญัติที่ ให้คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาดำรงตำแหน่งในวาระเริ่มแรก โดยเป็นไปตามคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๐/๒๕๔๔ ว่า ถือเอาวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นวันเข้ารับตำแหน่ง และในกรณี คำร้องนี้ ก็ถือเอาวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญหรือวันเข้ารับตำแหน่งนี้ เป็น "วันที่ได้รับแต่งตั้ง" ใช้ในกรณี มาตรา ๑๘๗ วรรคสอง ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จะใช้กับมาตรา ๒๖๔ วรรคหนึ่งด้วย

logoline