โดยออมสิน และ ธ.ก.ส. มีหนี้เสียมากที่สุด เพราะได้ช่วยเหลือลูกหนี้จำนวนมาก แต่เมื่อดำเนินมาตรการที่เป็นนโยบายรัฐจะส่งผลให้เกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้น แต่หนี้เสียบางส่วนหากอยู่เป็นนโยบายรัฐบาลพร้อมจะชดเชยให้ คงไม่ปล่อยให้ธนาคารรัฐดำเนินมาตรการจนหมดตัว เพราะธนาคารก็ต้องกันสำรองไว้ตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. และต้องมีสภาพคล่องเพียงพอคล้ายกับธนาคารพาณิชย์ เพียงแต่บทบาทในการช่วยเหลือประชาชนจะมีมากกว่า และยังได้รับการชดเชยจากรัฐบาลด้วย
วิธีการดึงลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียให้กลับมาเป็นหนี้ปกติ เช่น การใช้มาตรการพักหนี้ และหาโครงการที่ทำให้เกิดรายได้ หรือมีค่าตอบแทน หรือมีผลกำไร เพื่อนำเงินมาชำระหนี้เก่า ส่วนหนี้ใหม่พักไว้ก่อน โดยมีระยะเวลาปลอดหนี้ที่ชัดเจน
ลูกค้า ธ.ก.ส.ที่เป็นหนี้เสียประมาณ 10 ล้านราย ต้องดึงเข้าโครงการพักชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ ลดดอกเบี้ย และทำให้มีรายได้เพิ่ม ด้วยการปล่อยกู้เพื่อเป็นทุนในการทำอาชีพเสริม เช่น การปลูกผักหรือพืชเสริม เมื่อขายได้ ก็ให้หักกำไร 50% มาชำระหนี้เดิม ส่วนหนี้ใหม่ให้พักไว้ก่อน ซึ่งการทำแบบนี้อาจเป็นการทำให้มีหนี้พอกขึ้นมา แต่หากไม่ทำก็จะไม่มีทุนที่จะทำให้เกิดรายได้ขึ้นมาเช่นกัน
ที่ผ่านมา หน่วยงานอาจจะคิดแต่เรื่องของการกู้เงิน แต่ไม่ได้คิดเรื่องของแหล่งรายได้ที่ต้องมีมากขึ้น ไม่ใช่แค่เงินเดือน หรือค่าจ้าง ซึ่งบางคนอาจต้องทำงานเพิ่มมากกว่า 1 งาน หรือแม้แต่เกษตรกร จะต้องปลูกพืชเสริมนอกเหนือจากพืชหลัก เช่น เกษตรกรที่ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ รายได้ที่เข้ามาก็จบ ทำให้รายได้ไม่สม่ำเสมอ จึงต้องปลูกพืชเสริม