svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

24 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แพทย์ออกมาสันนิษฐานถึงสาเหตุการเสียชีวิต "บีม ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์" นักแสดงหนุ่มดาวรุ่ง พระเอกคนดังจากซีรีส์”เคว้ง” อาจจะมาจาก "ภาวะใหลตาย" ภัยร้าย ภัยเงียบ ซึ่งตามข้อมูลแล้วเรียกว่า ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดเรื่องเศร้าเช่นนี้ขึ้นในสังคม ซึ่งมีความใกล้ตัวอย่างมาก

อีกหนึ่งรายงานข่าวสุดเศร้าของคนบันเทิง หลัง "บีม ปภังกร" เสียชีวิต ขณะนอนหลับ โดยญาติพยายามปลุกแต่ไม่ตื่น จึงเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาล นั่นคือข้อมูลเบื้องต้น ที่ชี้เหตุความเศร้าที่เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว และสร้างความสลดใจไปถึงผู้คนในวงการบันเทิง หลังมีการยืนยันว่า "บีม ปภังกร " นักแสดงหนุ่มดาวรุ่งที่กำลังมีผลงานให้ชมกันหลายเรื่องนั้นได้เสียชีวิตลงแล้วอย่างกะทันหัน

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

ขณะที่แพทย์ได้ออกมาสันนิษฐานถึงสาเหตุจากเสียชีวิตของนักแสดงหนุ่มคาดว่าเกิดจาก "ภาวะใหลตาย" หรือ brugada syndrome (บรูกาดาซินโดรม)" นั่นเอง

 

ล่าสุด จากเปิดเผยข้อมูลจากทางด้าน นพ.มานพ พิทักษ์ภากร"  หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก ร่วมแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของนักแสดงหนุ่ม  "บีม ปภังกร" พร้อมระบุข้อความคาดการถึงสาเหตุการเสียชีวิตของนักแสดงหนุ่ม ใจความระบุว่า

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

 

 

...

เวลาเห็นข่าวแบบนี้ อยากให้เห็นความสำคัญของ "ภาวะใหลตาย"(SUDS) ซึ่งพบบ่อยในคนเอเชียโดยเฉพาะผู้ชายอายุน้อย สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง (malignant arrhythmia) ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากโรคพันธุกรรม มีกลายพันธุ์ของยีนหลายชนิด เช่น long QT syndrome, Brugada syndrome, ARVD หรือกลุ่ม cardiomyopathy ปัจจุบันนี้ สามารถให้การวินิจฉัยได้ด้วย next generation sequencing"

...

นอกจากนี้ คุณหมอมานพ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยชี้ถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิด "ภาวะใหลตาย" มีเนื้อหาว่า "การทำ molecular autopsy ช่วยหาเหตุการเสียชีวิต และค้นหาสมาชิกครอบครัวที่เสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้ ข้อมูลการศึกษาคนไทยที่ใหลตาย การชันสูตรศพและ molecular autopsy หาสาเหตุการเสียชีวิตได้ถึง 81% (ข้อมูลเพิ่มเติม)

ยีนก่อโรคใหลตายมีหลายยีน แม้บางโรคจะรู้จักกันดีเช่น Brugada syndrome แต่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่พบว่าไม่ได้เกิดจากยีนก่อโรคนี้ (ปัจจุบันมีหลักฐานว่า Brugada syndrome มีลักษณะเป็น polygenic มากกว่าจะเป็น single gene disorder แล้ว อ่านเพิ่มเติมที่นี่ ยังมียีนก่อโรคอื่นที่พบได้ เช่น long QT, cardiomyopathy, arrhythmogenic right ventricular dysplasia เป็นต้น

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

นอกจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้ว มีโรคพันธุกรรมอื่นที่ก่อให้เกิดหัวใจหยุดเต้นหรือเสียชีวิตเฉียบพลันได้คล้ายใหลตาย เช่น Marfan syndrome, aortic rupture, ลิ่มเลือดอุดตันในปอดจาก thrombophilia, เส้นเลือดหัวใจอุดตันจาก familial dyslipidemia ซึ่งการตรวจศพจะบอกได้ครับ RIP"

..


 

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

ขอขอบคุณข้อมูล-ภาพจาก : มานพ พิทักษ์ภากร , รามาแชนแนล

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

ภาวะการ "นอนหลับ" หรือที่เรียกว่าอาการ "โรคใหลตาย" เสียชีวิตนั้น ปัจจุบันเกิดขึ้นกับคนไทยปีนึงจำนวนไม่น้อย ส่วนในทางการแพทย์จะเรียกว่า "brugada syndrome" (บรูกาดาซินโดรม) มักจะพบในผู้ชายวัยทำงาน อายุช่วง 25-55 ปี อาการ คือ จู่ๆ จะเกิดการเต้นของหัวใจห้องล่างแบบผิดปรกติ ซึ่งอาจเกิดจากตัวกระตุ้นบางอย่าง เช่น เป็นไข้ ไม่สบาย เกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติ ซึ่งหากเป็นนานและไม่กลับมาเป็นการเต้นแบบปรกติ ก็จะทำให้เสียชีวิตได้

 

มีข้อมูลดีๆ จากทางโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการใหลตาย ว่า โรคใหลตาย เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการนำเกลือแร่โซเดียมเข้าออกเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงและเสียชีวิตกะทันหันได้ 
 

ปัจจัยส่งเสริมทำให้ผู้ป่วยมีพันธุกรรมโรคใหลตายเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิต 
- การเป็นไข้สูง
-การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
-การใช้ยานอนหลับ
-การขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม

การรักษาโรค
ลดและเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมที่กล่าวมาด้านบน เช่น ถ้ามีไข้สูง ควรใช้ยาลดไข้ ลดและเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
การฝังเครื่องกระตุกหัวใจเข้าไปในร่างกาย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- จับผู้ป่วยนอนราบ ระหว่างรอรถพยาบาล
- ประเมินผู้ป่วย หากไม่หายใจหรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบลงราว 5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัวเป็นชุดในความถี่ราว 100 ครั้ง/นาที จนผู้ป่วยรู้ตัว
-ไม่ควรงัดปากคนไข้ด้วยของแข็ง เพราะอาจเป็นอันตรายและระลึกเสมอว่าคนที่เป็นโรคไหลตายอาจจะมีโรคอื่นของสมอง เช่น ลมชัก โรคหัวใจที่อาจเป็นต้นเหตุให้หมดสติได้เช่นกัน

สำหรับ "โรคใหลตาย" พบในคนไทยผู้ชายมากกว่าผู้หญิง จากสถิติอยู่ที่ 40 รายต่อ 100,000แสนราย ปัจจุบันกำลังมีสถาบันวิจัย ศึกษาพันธกรรมคนไทย เพื่อศึกษาโรคนี้อยู่

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

รศ.พญ.สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาวะใหลตาย อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบ ที่คร่าชีวิต คนไทยไม่ควรมองข้าม

logoline