svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

28 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศทำหนังสือถึงสาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป ให้รักษาพยาบาลผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.นี้ เป็นต้นไป เสมือนโรคประจำถิ่น แต่จะประกาศเป็นโรคประจำถิ่นอีก 4 เดือนข้างหน้า

ถ้าใครติดโควิดแต่อาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ให้รักษาที่บ้าน ตอนนี้สถิติทุกเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราผู้ป่วยที่เข้าขั้นโคม่า อัตราการเสียชีวิตของคนที่ติดเชื้อไวรัสโอมิครอน สูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า แต่อะไรที่ดลใจให้หน่วยงานรัฐ ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาชีวิตผู้คนต้องปรับวิธี

 

สถิติผู้ติดเชื้อในวันนี้

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

ยอดการติดเชื้อแบบรวม ATK 

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

อะไรที่ทำให้รัฐบาลต้องปรับแนวทางปฏิบัติ เปลี่ยนผ่านจากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) ภายใน 4 เดือน เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic)

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

สิ่งที่จะเริ่มในวันพรุ่งนี้คือวันที่ 1 มีนาคมตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และที่นายกออกมาแถลง "เจอ แจก จบ" คำถามคือจะจบแบบนั้นหรือไม่ 

 

นี่เป็นครั้งแรกที่แนวทางปฏิบัติบอกว่าจะทำในอีก 4 เดือนข้างหน้า แต่การปฎิบัติเริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้

 

ก่อนหน้านี้ในที่ประชุม ครม. กระทรวงสาธารณสุขเสนอเรื่องระบบการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยติดโควิดมาเป็นผู้รักษาพยาบาลตามสิทธิ์ฟรี 

  • 21 ก.พ.65 วันที่ 1 มี.ค.2565 สธ.ประกาศให้โควิดใช้ UCEP Plus
  • หลักการ UCEP Plus ผู้ป่วยโควิดอาการหนักรักษาฟรีทุกที่อาการน้อย รักษาตามสิทธิ์ที่มี
  • 22 ก.พ. 2565 มติครม.สั่งยกเลิกประกาศสธ. ให้ผู้ป่วยโควิดรักษาฟรีทุกที่

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

ปลัดกระทรวงสาธารณสุขร่อนจดหมายด่วนที่สุด

 

ประเทศไทย ขณะนี้ตรวจพบการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และรวดเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยแบบโรคประจำถิ่น (Endemic) ตั้งแต่ 1 มี.ค. 65 ขอให้เพิ่มการจัดบริการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการหรือป่วยไม่มาก ให้สังเกตตัวเองที่บ้าน (Self Observation) ตามความสมัครใจ รายละเอียดตามแนวทางของกรมการแพทย์ (OR Code)

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

 

นักข่าวไปถามปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ถาม : ผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวควรทำอย่างไร?

ตอบ "ทางการแพทย์แนะนำให้ผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย (กลุ่มสีเขียว) ให้เข้ารับการดูแลที่บ้าน (HI) หรือศูนย์ชุมชน(CI) หากสภาพบ้านไม่เอื้ออำนวย"

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

ถาม : กรณีที่ครม.ให้กลับมาทบทวนกรณีสธ. จะออกประกาศกำหนดให้ผู้ติดโควิด19 กลุ่มสีเขียวไม่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีได้ทุกที่ (UCEP โควิด19) แต่ให้รักษาฟรีตามสิทธิ์

ตอบ : "มอบให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)"

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

ถาม : งบประมาณค่าบริการโควิด19 พอหรือไม่?

ตอบ "มีการจ่ายงบประมาณค่าบริการโควิด19 เป็นแสนล้านบาท เป็นหน่วยบริการภาครัฐ ราว 70,000 ล้านบาท เอกชน ราว 27,000 ล้านบาท และสัดส่วน 88% จ่ายให้สำหรับค่ารักษาผู้ติดเชื้อกลุ่มอาการสีเขียว คือ ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย และในส่วนของผู้ติดเชื้อต่างด้าวอีกราว 4,000-5,000 ล้านบาท" "ที่ผ่านมาจำเป็นต้องนำผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวเข้าอยู่ในรพ.เปลี่ยนแปลงไปสู่สีแดงได้ง่าย แต่ในสายพันธุ์โอมิครอน มีมากกว่า 90% ที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะในวัยหนุ่มสาว"

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

แผน "เจอ แจก จบ" 

 

  • เป็นผู้ป่วยนอกไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ควบคู่ไปกับ ระบบการดูแลรักษาที่บ้านหรือชุมชน
  • เมื่อผู้ป่วยได้ยืนยันผลเป็นบวกด้วย ATK แล้ว แจ้งขอเข้ารับการรักษาในระบบ
  • แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษา 3 สูตร

- ยาฟาวิพิราเวียร์

- ยาฟ้าทะลายโจร

- ยารักษาตามอาการ เช่นยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก

เริ่ม 1 มี.ค. 2565

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

ค่ารักษาพยาบาลต่อราย

ผู้ป่วยสีเขียว

 

  • โรงพยาบาลรัฐ เฉลี่ยคำรักษา 23,248 บาท ต่อราย
  • โรงพยาบาลเอกชน 50,326 บาท ต่อราย

ผู้ป่วยสีเหลือง

 

  • โรงพยาบาลรัฐ เฉลี่ยค่ารักษา 81,844 บาท ต่อราย
  • โรงพยาบาลเอกชน 92,752 บาท ต่อราย

ผู้ป่วยสีแดง

 

  • โรงพยาบาลรัฐ เฉลี่ยค่ารักษา 252,182 บาท ต่อราย
  • โรงพยาบาลเอกชน 375,428 บาท ต่อราย

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

**ล่าสุด 1 มี.ค.นี้ ปรับราคาใหม่ สีเขียว ค่ารักษารายล: 12,000 บาท สีเหลือง 69,300 บาท และสีแดง 214,400 บาท

 

เพราะฉะนั้นปัญหาที่ต้องการตัดวงจรคือ "เจอ แจก จบ" แล้วให้รักษาเป็นโรคประจำถิ่น จะได้ไม่ต้องจ่ายในส่วนนี้ ลดต้นทุนงบประมาณลง

 

ปัจจัยที่ทำให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

  • 'เชื้อโรค' ความรุนแรงลดลง ไม่ทำให้ป่วยหนัก หรือเสียชีวิต
  • 'คน' มีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
  • 'สิ่งแวดล้อม' มีการจัดการความเสี่ยง และเตรียมระบบสาธารณสุข และยารองรับ

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข บอกว่า รัฐบาลต้องใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และให้มั่นใจว่าเรามีทรัพยากรเพียงพอ ทั้งยา เตียง แพทย์ และบุคลากรต่างๆ ปรับการทำงานให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ไม่มีการถอดสิทธิที่ประชาชนเคยได้ แต่ทำให้ระบบสาธารณสุขมั่นคงเข้มแข็งมากขึ้น

รัฐบาลปรับวงจร "เจอ แจก จบ" โควิด "โรคประจำถิ่น"

การทำเช่นนี้ประชาชนที่เจอวิกฤตโควิดปรับตัวกันอย่างไร เป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาล

ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงษ์อักษร

logoline