svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ศาลปกครอง วินิจฉัย รฟม.แก้เกณฑ์ประมูล "สายสีส้ม" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

09 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศาลปกครองกลาง พิพากษารฟม.เปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ BTS

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC เปิดเผยภายหลังเข้านับฟังคำพิพากษาศาลกปครองกลางวันนี้ ว่า ศาลปกครอง กลางชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เหตุดังกล่าวไม่ได้ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับบริษัทฯ BTS

 

ศาลปกครอง วินิจฉัย รฟม.แก้เกณฑ์ประมูล \"สายสีส้ม\" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ต่อมา ศาลปกครองกลาง ได้ออกเอกสารข่าวคำพิพากษายกฟ้อง ในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ


(วินิจฉัยในข้อหาฟ้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าที่ปรึกษาทางเทคนิคและค่าที่ปรึกษาทางกฎหมาย)
อ่านคำวินิจฉัยได้ที่นี่

สำหรับวันนี้ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 3240/3563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 และ รฟม. รวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ฟ้องว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน

 

ศาลปกครอง วินิจฉัย รฟม.แก้เกณฑ์ประมูล \"สายสีส้ม\" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก การจัดหาระบบรถไฟฟ้าการให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย

การยื่นฟ้องระหว่างบีทีเอส และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ รฟม. เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แม้ว่าก่อนหน้านี้ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุน
 

 

ศาลปกครอง วินิจฉัย รฟม.แก้เกณฑ์ประมูล \"สายสีส้ม\" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

แต่ปัจจุบันยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 3 คดี ประกอบด้วย

  1. ศาลปกครอง คดีที่ภาครัฐออกประกาศยกเลิกประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม
  2. คดีเรียกร้องค่าเสียหาย จากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประกวดราคา
  3. คดีตามกระบวนการศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง 1 คดี ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาคดี

 

ทั้งนี้กรณีการฟ้องร้องดังกล่าวเกิดขึ้นจาก คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

logoline