svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

นักวิชาการชี้3ปัจจัยรัฐบาล"บิ๊กตู่"เริ่มนับถอยหลัง

04 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"พรรคพลังประชารัฐ-สัมพันธ์ 3 ป-สัมพันธ์พรรคร่วมรัฐบาล" 3 ปัจจัยที่ทำให้เก้าอี้นายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ สั่นคลอน และเริ่มเข้าสู่โหมดนับถอยหลัง

นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2540 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์เหตุการณ์สภาฯล่มซ้ำซาก จะเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบกับสถานภาพนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งมีหลายด้าน ดังนี้

นักวิชาการชี้3ปัจจัยรัฐบาล\"บิ๊กตู่\"เริ่มนับถอยหลัง

ปัจจัยที่ 1 พรรคการเมือง นั่นคือพรรคพลังประชารัฐ ภายหลังจากขับส.ส.กลุ่มร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ออกไป เอกภาพในพรรคก็เริ่มขาดเอกภาพ กลุ่มก๊วนต่างๆ เริ่มจับมือกันชัดเจน รวมถึงกลุ่มสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งมีจำนวนส.ส.ไม่มาก 

 

ปัจจัยที่ 2 พี่น้อง "3 ป" ไม่เหมือนเดิม ซึ่งคนทั่วไปดูออกว่าระหว่าง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่เหตุการณ์อภิปรายไม่ไว้วางใจที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และน.ส.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ถูกปลดจากรัฐมนตรี แบบฟ้าผ่า นับแต่นั้นมา พล.อ.ประวิตร โดดอุ้มผู้กองธรรมนัส เต็มร้อย ปล่อยให้ป.ป๊อก และป.ประยุทธ์ จับมือกันเดินสายลงพื้นที่ ซึ่งส.ส.ที่ไปต้อนรับนายกฯ กับพล.อ.อนุพงษ์ ก็เป็นคนละก๊วนกับส.ส.กลุ่มร.อ.ธรรมนัส ขนไปต้อนรับคณะบิ๊กป้อม

นักวิชาการชี้3ปัจจัยรัฐบาล\"บิ๊กตู่\"เริ่มนับถอยหลัง

ปัจจัยที่ 3 อาจารย์คมสัน บอกว่า จากการพูดคุย กับส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล หลายคนไม่อยากให้ยุบสภาฯ แต่หวังจะรอ "ส้มหล่น" คือ พล.อ.ประยุทธ์ ถอดใจลาออกเปิดให้สภาฯ เลือกนายกฯ ซึ่งทั้ง พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย ต่างก็หวังว่า หัวหน้าพรรคของตนจะมีโอกาส ได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นว่า พรรคร่วมรัฐบาล ก็ไม่ได้กลมเกลียวหรือสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ 100 % หัวหน้าพรรคร่วมต่างก็หวังว่าตนเองจะได้เป็น "ตาอยู่"

นักวิชาการชี้3ปัจจัยรัฐบาล\"บิ๊กตู่\"เริ่มนับถอยหลัง

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ทั้งหมดนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิต ท่านนี้เชื่อว่า นายกฯ ยื้อไปได้ไกลที่สุดคือ เม.ย.65 นี้เท่านั้น 

นักวิชาการชี้3ปัจจัยรัฐบาล\"บิ๊กตู่\"เริ่มนับถอยหลัง

เปิด ส.ส. พรรคไหนใครแสดงตน ไม่แสดงตน จน “สภาล่ม” ซ้ำซาก

 

 

ภายหลังการประชุมสภาฯ 4 ก.พ.65 ได้เกิดเหตุ “สภาฯล่ม” ซ้ำซาก เนื่องจากมีส.ส.แสดงตน จำนวน 195 คน ทำให้ไม่ครบองค์ประชุม คือ 237 คน

ตรวจสอบพบว่า 

พรรคเพื่อไทย

แสดงตน 2 คน คือ นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ และนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. ไม่แสดงตน 129 คน 


พรรคก้าวไกล

แสดงตน 43 คน ไม่แสดงตน 8 คน  

 

พรรคเสรีรวมไทย

แสดงตน 1 คน ได้แก่ น.ส.ธนภร โสมทองแดง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่แสดงตน 9 คน 


พรรคประชาชาติ

แสดงตน 1 คน คือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่แสดงตน 6 คน

 

พรรคเพื่อชาติ

ไม่แสดงตนทั้ง 6 คน

 

พรรคพลังประชารัฐ

แสดงตน 54 คน ไม่แสดงตน 43 คน 

ส.ส.ที่ย้ายออกจากพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 19 คน แสดงตนเพียง 1 คน คือ นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น ที่เหลืออีก 18 คน ไม่แสดงตน 

 

พรรคภูมิใจไทย

แสดงตน 33 คน ไม่แสดงตน 25 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้กักตัวโควิด 7 คน 

 

พรรคประชาธิปัตย์

แสดงตน 35 คน ไม่แสดงตน 15 คน

 

พรรคชาติไทยพัฒนา

แสดงตน 6 คน ไม่แสดงตน 6 คน 

 

พรรคชาติพัฒนา

แสดงตนครบทั้ง 4 คน 


พรรคเศรษฐกิจใหม่

แสดงตน 4 คน ไม่แสดงตน 2 คน 

 

พรรคพลังท้องถิ่นไท

แสดงตน 4 คน มีเพียง น.ส.กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี เท่านั้นที่ไม่แสดงตน 

 

พรรครวมพลังประชาชาติไทย

แสดงตน 3 คน ไม่แสดงตน 2 คน คือ นายสุพล จุลใส ส.ส.ชุมพร และ น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

 

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

ไม่แสดงตนทั้ง 2 คน 

 

พรรคเล็กที่มีส.ส.เพียงคนเดียว ที่ไม่แสดงตน ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคพลังชาติไทย พรรคพลังธรรมใหม่ พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคพลังปวงชนไทย พรรคเพื่อชาติไทย 


พรรคเล็กที่มีส.ส.หนึ่งคน และแสดงตน คือ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคไทรักธรรม และ พรรคพลเมืองไทย

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าส.ส.ฝ่ายค้านส่วนใหญ่อยู่ในห้องประชุม แต่ไม่ยอมแสดงตนเป็นองค์ประชุม รวมถึง นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ไม่แสดงตนทั้งที่นั่งอยู่ข้าง นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทรักธรรม ที่แสดงตนเป็นองค์ประชุม 

 

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ แถลงว่า เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 65 เวลา 18.25 น. ในการตรวจสอบองค์ประชุมเพื่อลงมติร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง ส.ส. พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ และจากผลการโหวตนั้นองค์ประชุมขาดไป 4 เสียง โดยตนได้จัดทำรายงานเป็นการโหวตครั้งที่ 143 พบว่า พรรคพลังประชารัฐ มี ส.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ 97 คน มี ส.ส. โหวต 83 คน คิดเป็นร้อยละ 85.57 ซึ่งถือว่าเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลที่มี ส.ส. โหวตมากที่สุด

 

สำหรับในภาพรวมนั้น มี ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล โหวต 175 คน คิดเป็นร้อยละ 65.54 แต่ที่น่าสนใจคือ ส.ส.พรรคเพื่อไทย มี ส.ส. โหวต 14 คน คิดเป็นร้อยละ 10.69

 

ส่วนพรรคก้าวไกล มี ส.ส. โหวต 42 คน คิดเป็นร้อยละ 80.77 โดย ส.ส.ฝ่ายค้านมีจำนวนทั้งสิ้น 208 คน มาโหวต 59 คน คิดเป็นร้อยละ 28.37 เท่านั้น จึงเป็นผลให้องค์ประชุมขาดไป 4 เสียง ซึ่งในเวลานั้นเป็นเวลาเย็นและ ส.ส. หลายคนอาจติดภารกิจ

 

จากการเปรียบเทียบการโหวตในช่วงเช้าซึ่งเป็นการโหวตครั้งที่ 131 ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. .... พบว่า พรรคพลังประชารัฐ มี ส.ส. โหวต 84 คน คิดเป็นร้อยละ 86.60

 

ส่วนพรรคภูมิใจไทยนั้นตามปกติแล้วจำนวน ส.ส. ที่โหวตจะสูงมากแต่เนื่องจากถูกกักตัวจากโรคโควิด-19 จึงมาโหวตเพียง 59.32  แต่โดยรวมแล้ว มี ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล โหวต 204 คน คิดเป็นร้อยละ 76.40 สำหรับพรรคเพื่อไทย มี ส.ส. โหวต 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.58 ส่วนพรรคก้าวไกล มี ส.ส. โหวต 31 คน คิดเป็นร้อยละ 59.62

 

อีกทั้งยังได้จัดทำรายงานผลการติดตามการโหวตในเดือน ธ.ค. 64 ซึ่งมีจำนวน 70 โหวต พบว่า มี ส.ส. 7 คน ที่ไม่เคยมาโหวตเลย ในขณะที่มี ส.ส. จำนวน 50 คน ที่มาโหวตทุกครั้ง

 

นอกจากนี้ ได้จัดทำรายงานการโหวตของ ส.ส. โดยเรียงตามเลขที่บัตรอีกด้วย จึงขอมอบข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะให้สื่อมวลชนได้ใช้เพื่อติดตามตรวจสอบการทำหน้าที่ของ ส.ส.ต่อไป

logoline