svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

2สถานการณ์ร้อน"ยุบสภาฯ-ยึดฐานที่มั่นพลังประชารัฐ"

04 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลายคนต่างตั้งคำถาม รัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะยุบสภาเมื่อไหร่ ? การยุบสภาน่าจะเกิดขึ้นแน่ แต่จะยุบสภาก่อนเปิดสภาเดือน พ.ค. หรือหลัง APEC

บรรยากาศตอนนี้อยู่ในสภาวะที่เร่งรัด เร่าร้อนไปด้วยเรื่องของการยุบสภาหรือจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะสถานการณ์ในขณะนี้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอนจากปัญหาข้างใน ตอนนี้สถานการณ์ที่บีบรัฐบาล มีอยู่สองเรื่อง "ยุบ กับ ยึด"

 

ปัจจุบันรัฐบาลลุงตู่เดินหน้าไปข้างหน้ายากมาก สาเหตุที่ไปต่อยาก

  1. สภาไม่เป็นมิตร ล่มบ่อย การขับเคลื่อนประเทศลำบาก
  2. พรรคร่วมรัฐบาลไว้ใจยาก
  3. พปชร.อ่อนแอไม่มีเสถียรภาพ ส.ส.ฝ่ายค้าน (งูเห่า) พึงพายาก

2สถานการณ์ร้อน"ยุบสภาฯ-ยึดฐานที่มั่นพลังประชารัฐ"

นี่คือปัญหาที่ลุงตู่ต้องพิจารณาทางการเมือง ถ้ารัฐบาลลุงตู่เดินหน้าต่อไปจะเจอพันธกิจอะไรบ้าง 

4 พันธกิจ ประยุทธ์

 

  • พิจารณากฎหมาย พ.ร.ป. 2 ฉบับ
  • เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.และนายกเมืองพัทยา
  • ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2566
  • Killing Zone (เปิดประชุมสภา พ.ค.)
  • จัดการประชุมเอเปก

2สถานการณ์ร้อน"ยุบสภาฯ-ยึดฐานที่มั่นพลังประชารัฐ"

เป้าหมายสำคัญคือจะทำยังไงให้เดินไปสู่มรสุมเดือนพฤษภาคมแล้วไม่ถูกขึงอยู่ในสภาคนเดียว ในแง่ของการล้มโดยสภา จะมีกฎหมายใดที่จะเข้าสภาบ้าง

  • ร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับ
  • ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2566

2สถานการณ์ร้อน"ยุบสภาฯ-ยึดฐานที่มั่นพลังประชารัฐ"

ถ้ากฎหมายไม่ผ่านนายกต้องยุบสภา เพราะฉะนั้นในแง่มิติของสภาในการพิจารณากฎหมาย ไฮไลท์จะไปอยู่ที่กฎหมายการเงินคืองบประมาณ แต่ในสถานการณ์ตอนนี้สภาไม่เป็นมิตร กลายเป็นปัญหาและจุดอ่อนของรัฐบาล

 

สถิติสภาล่ม 15 ครั้ง

ปี 2562

 

  • ครั้งที่ 1 24 ก.ค.
  • ครั้งที่ 2 27 พ.ย.
  • ครั้งที่ 3 28 พ.ย.

ปี 2563

  • ครั้งที่ 4 8 ก.ค.

ปี 2564

  • ครั้งที่ 5 30 มิ.ย.
  • ครั้งที่ 6 1 ก.ค.
  • ครั้งที่ 7 10 ก.ย.
  • ครั้งที่ 8 17 ก.ย.
  • ครั้งที่ 9 3 พ.ย.
  • ครั้งที่ 10 17 พ.ย.
  • ครั้งที่ 11 15 ธ.ค.
  • ครั้งที่ 12 17 ธ.ค.

ปี 2565

 

  • ครั้งที่ 13 19 ม.ค.
  • ครั้งที่ 14 3 ก.พ.
  • ครั้งที่ 15 4 ก.พ.

2สถานการณ์ร้อน"ยุบสภาฯ-ยึดฐานที่มั่นพลังประชารัฐ"

 

 

กระบวนการบริหารประเทศมี 3 ขา ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการและฝ่ายรัฐสภา ที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาออกกฏหมาย ฝ่ายบริหารกับสภาต้องเดินคู่กัน แต่มันมีปัญหา

 

ทางออก 3 พันธกิจ

 

  • เปิดประชุมสภาวิสามัญพิจารณาพ.ร.ป. 2 ฉบับ
  • จัดเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก่อน พ.ค.
  • หากร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ไม่เข้าสภา เลือกใช้หลักการงบประมาณไป 'พลางก่อน

**รธน. 2560 มาตรา 141

บัญญัติให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณ รายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน 

ประกอบกับ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 12

บัญญัตให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด

2สถานการณ์ร้อน"ยุบสภาฯ-ยึดฐานที่มั่นพลังประชารัฐ"

เพราะฉะนั้นทางออกของเรื่องราวเหล่านี้และวิกฤติของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องฝ่าด่านไปให้ได้ กลไกกติกาของบ้านเมืองก็จะเดินหน้าไปได้ แต่สถานการณ์ไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะกลเกมทางการเมืองในขณะนี้ล้วนแล้วแต่พุ่งไปที่เดียว "เร่งรัดให้นำไปสู่การยุบสภา" เลือกของพลเอกประยุทธ์ก็ยังมีอยู่สองทางเลือก จะไปรีแบนพลังประชารัฐหรือไปตั้งพรรคใหม่เพื่อรองรับหากพลังประชารัฐไม่สามารถรีโนเวทได้

ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร

logoline