svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โอมิครอน กลายพันธุ์ BA.2 ถูกระบุเป็นสายพันธุ์ ล่องหน ในไทย ติดเชื้อแล้ว 2 ราย

25 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดข้อมูลการกลายพันธุ์ โอมิครอน 3 สายพันธุ์ พบ BA.2 ล่องหน ติดเชื้อในไทย 2 ราย กลายพันธุ์ 70-80 ตำแหน่ง ล่าสุด UKHSA จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องสอบสวน

25 มกราคม 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบการกลายพันธุ์ โอมิครอน (Omicron) โดยระบุว่า โอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 และสายพันธุ์ย่อย  BA.2 และ BA.3  ในประเทศไทย

 

ธรรมชาติของไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อเกิดมีสายพันธุ์หลัก ก็จะติดตามมาด้วยการกลายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ย่อย  ในกรณีของโอมิครอนจะมีสายพันธุ์หลักเป็น “B.1.1.529” หรือ “BA.1”  แล้วเริ่มมีการกลายพันธุ์ไปอีก 2 สายพันธุ์ย่อยคือ“BA.2” และ “BA.3” 

 

โอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทั่วโลกทั้งสิ้น 514,417 ราย(8%) พบในประเทศไทย  561 ราย(23%)

 

กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 60-70 ตำแหน่ง (จากจีโนมทั้งสาย 3 หมื่นตำแหน่ง)

 

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรม ทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วทั้งสิ้น 10,811 ราย (<0.5%) พบในประเทศไทย  2 ราย(1%) 

 

กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 70-80 ตำแหน่ง

 

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์  รพ.รามาธิบดีตรวจพบ BA.2  จำนวน 1 ตัวอย่าง ด้วยเทคโนโลยี "Mass array genotyping"  ซึ่งกำลังยืนยันผลด้วยเทคนิค "Long read, whole genome sequencing" คาดว่าจะแล้วเสร็จในอาทิตย์นี้ ส่วนผู้ติดเชื้อไม่มีอาการรุนแรง ผล X-ray มีอาการปอดบวมเล็กน้อย แพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ไปตอนนี้หายดีแล้ว ตรวจไม่พบไวรัสจากตัวอย่างสวอป

โอมิครอน กลายพันธุ์ BA.2 ถูกระบุเป็นสายพันธุ์ ล่องหน ในไทย ติดเชื้อแล้ว 2 ราย

 

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.3 ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างทั่วโลกประมาณ 86 ราย(0.5%) ยังไม่พบในประเทศไทย (not detected)

 

กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 55-65 ตำแหน่ง

 

การคัดกรองทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นเพื่อแยกสายพันธุ์ เดลตา และ โอมิครอน ออกจากกันมักจะตรวจโดยวิธี RT-PCR 3 ตำแหน่งบน 3 ยีน

 

โดยเดลตา จะถูกตรวจพบด้วย RT-PCR ครบทั้ง 3 ยีน ส่วนโอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 ตรวจด้วย RT-PCR  เพียง 2 ใน 3 ยีน เนื่องจากตรวจไม่พบ S ยีน หรือมี "S target failure (SGTF)" เนื่องจากมีการกลายพันธุเกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 (del 69-70)  บนโปรตีนหนามจนตัวตรวจจับ (PCR primers) จับยีน S ไม่ได้

 

BA.2 บางครั้งถูกเรียกว่าสายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant)” เพราะสามารถตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีน ทำให้แยกไม่ออกระหว่าง "เดลตา" กับ "BA.2" เพราะเดลตาก็ตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีนเช่นกัน

 

สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) ประกาศให้ BA.2 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องสอบสวน (Variant Under Investigation: VUI) เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565

โอมิครอน กลายพันธุ์ BA.2 ถูกระบุเป็นสายพันธุ์ ล่องหน ในไทย ติดเชื้อแล้ว 2 ราย

โอมิครอน กลายพันธุ์ BA.2 ถูกระบุเป็นสายพันธุ์ ล่องหน ในไทย ติดเชื้อแล้ว 2 ราย

ที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เนื่องจากใช้เทคโนโลยี "จีโนไทป์" จึงไม่ประสบปัญหา “S target failure (SGTF)” สามารถพัฒนาให้ชุดตรวจตรวจจับทั้ง BA.1, BA.2, และ BA.3 และ เดลตา อัลฟา เบตา แกมมา ไปพร้อมกันได้ในหลอดเดียว (single tube reaction) ภายใน 24-48 ชั่วโมง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม

 

BA.2 กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” มากที่สุดประมาณ 70-80 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนทางคลินิกว่า มีอาการรุนแรงกว่าโอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 หรือไม่ แต่คาดคะเนจากข้อมูลทางระบาดวิทยาว่า อาจแพร่ติดต่อได้เร็วกว่าโอมิครอน BA.1 อยู่บ้าง

 

BA.2 เคยได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะหมดความสนใจไป เพราะมีการระบาดอยู่ในวงจำกัด   https://www.facebook.com/CMGrama/posts/4586461878128223

 

แต่ปัจจุบันกลับพบว่า มีการระบาดแพร่กระจายมากขึ้น โดยนักวิจัยสามารถถอดรหัสพันธุกรรม ทั้งจีโนมจากตัวอย่างจากทั่วโลกได้แล้วทั้งสิ้นถึง 10,811 ราย

 

ส่วน BA.3  ทั่วโลกสามารถถอดรหัสทั้งจีโนมมาได้เพียง 86 ตัวอย่าง กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” น้อยที่สุดประมาณ  55-65 ตำแหน่ง ไม่มีข้อมูลทางคลินิกมากนัก

 

ข้อมูลและภาพจาก Center for Medical Genomics

โอมิครอน กลายพันธุ์ BA.2 ถูกระบุเป็นสายพันธุ์ ล่องหน ในไทย ติดเชื้อแล้ว 2 ราย

logoline