svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมวิทย์ ฯ แจงเดลตาครอนยังไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่

10 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แจง เดลตาครอน ยังไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ เบื้องต้นการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด- 19 พบสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้น ภาพรวม ร้อยละ 35.17

10 มกราคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ ถึงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด- 19 ว่า จากการสุ่มตัวอย่างสายพันธุ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ร้อยละ 35 .17 ยอดรวมสะสม ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 5,397 ราย 

 

ทั้งนี้ พบสายพันธุ์โอมิครอน แล้ว 71 จังหวัด โดยมี 6 จังหวัดที่ยังไม่พบการรายงาน ได้แก่ น่าน ตาก ชัยนาทอ่างทอง พังงาน ราธิวาส 

กรมวิทย์ ฯ แจงเดลตาครอนยังไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่

โดย 10 จังหวัดที่พบสายพันธุ์โอมิครอน เกิน 100 ราย อันดับ 1  คือ กรุงเทพฯมหานคร ในจำนวนนี้พบในกลุ่มที่เดินทางจากต่างประเทศเข้าไทย เช่นเดียวกับที่จังหวัดภูเก็ต ส่วนจังหวัดในภาคอีสานเป็นการพบสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ 

 

สำหรับ 10 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เกิน 100 ราย ได้แก่กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานีมหาสารคาม อุดรธานี ขอนแก่น


ย้ำการตรวจ เชื้อโควิด-19 เพื่อดูสายพันธุ์ขณะนี้ ยังเป็นการตรวจเฉพาะเจาะจง ซึ่งกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าไทย แล้วพบติดเชื้อโควิด-19 จะมีการตรวจหาสายพันธุ์ทุกคน โดยพบร้อยละ 90 เป็นสายพันธุ์โอมิครอน การตรวจหาสายพันธุ์ไม่ได้แยกผู้ป่วย แต่เพื่อดูสถานการณ์การระบาดภาพรวมของประเทศ ไม่จำเป็นต้องตรวจหาสายพันธุ์ทุกคนที่ติดเชื้อ

 

กรมวิทย์ ฯ แจงเดลตาครอนยังไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่

ส่วนการรายงานพบ เดลต้าครอน นายแพทย์ศุภกิจ ระบุว่า รายงานจากประเทศไซปรัส ส่งข้อมูลไปให้ GSAID จีเซท  24 ตัวอย่าง เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว  และพบว่าในจำนวนตัวอย่างนั้น มีการกลายพันธุ์ทั้งเดลต้า และ โอมิครอน  ด้วยกัน

 

เมื่อเอาข้อมูลมาดูพบว่าเป็นจริงตามรายงาน  แต่ส่วนที่เป็นโอมิครอน เหมือนกันกับ 24 ตัวอย่าง แต่ส่วนที่เป็นเดลต้ามีความแตกต่าง  นัยยะสำคัญ คือ หากเป็นสายพันธุ์ใหม่ เดลต้าครอน คงต้องตรวจเชื้อเจอทั้ง 2 ชนิด ดังนั้น 24 ราย ของไซปรัส พบว่า มีรหัสพันธุกรรมแตกต่างกัน แต่มีโอมิครอน เหมือนกันหมด ทำให้ 24 ราย ยังจัดชั้นการค้นพบอยู่ในสายพันธุ์เดลต้า

กรมวิทย์ ฯ แจงเดลตาครอนยังไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่

ข้อมูลดังกล่าวน่าจะเกิดจากการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ สารพันธุกรรมของเชื้อโอมิครอนในตัวอย่างผู้ติดเชื้อเดลต้า ซึ่งเป็นไปได้มากที่สุดทำให้พบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียวกัน ส่วนการติดเชื้อร่วมหลายสายพันธุ์ในคนเดียวมีโอกาสน้อยมาก ซึ่งจากข้อมูล โอกาสที่เกิดจากสายพันธุ์ผสมในตัวอย่างเดียวกัน หรือ "ไฮบริด" หรือสายพันธุ์ใหม่มีความเป็นไปได้ต่ำมาก 

 

ส่วนชุดตรวจ ATK กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำชุดตรวจ ATK ที่ผ่านการอนุมัติ อย.100 กว่าชนิด สุ่มมา 8 ยี่ห้อ  พบว่าผลการทดสอบชุดตรวจจำนวน 8 ยี่ห้อ ชุดตรวจทุกชุดสามารถตรวจจับเชื้อโควิด-19 ได้ และปัจจุบันยังไม่มีชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ที่ตรวจหาสายพันธุ์โอมิครอนเฉพาะ 

 

ส่วนการวินิจฉัยผู้ติดเชื้อโควิด-19 หากเป็นผู้สงสัยติดเชื้อ จะเริ่มด้วยการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ก่อน  หากพบผลบวกไม่มีอาการหรืออาการน้อย และไม่มีความเสี่ยงทางการแพทย์ ก็จะเข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน และศูนย์พักคอยชุมชน แต่หากมีอาการหรือมีความเสี่ยงทางการแพทย์ ก็จะถูกจับตรวจ RT-PCR และเข้าโรงพยาบาล หากผลเป็นลบ ไม่มีอาการแต่มีประวัติเสี่ยง ก็จะต้องเฝ้าสังเกตอาการตัวเองกักตัวเอง และให้ตรวจ ATK ทุก 3 วันหรือเมื่อมีอาการ แต่หากไม่มีความเสี่ยงก็ให้ปฏิบัติตนเองตามมาตรการสาธารณสุข

กรมวิทย์ ฯ แจงเดลตาครอนยังไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่

logoline