svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เผยที่มาในการตั้งชื่อ "เสือโคร่ง" ในผืนป่าประเทศไทย

27 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมอุทยานฯ เปิดเผยข้อมูลไม่ลับฉบับนักวิจัย ในการตั้งชื่อ "เสือโคร่ง" ในผืนป่า โดยเฉพาะในผืนป่าห้วยขาแข้ง และผืนป่าตะวันออก เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงนักอนุรักษ์ นักวิชาการ

27 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก "ห้วยขาแข้งสืบสาน" ได้เปิดเผยถึงที่มาของชื่อเสือโคร่ง ในผืนป่าห้วยขาแข้ง โดยที่มาของการตั้งชื่อเสือโคร่งนั้น แรกทีเดียวจะใช้ระบบตัวอักษร และตัวเลขลำดับ เช่น T5,T6 

 

ต่อมาก็ใช้วิธีการกำกับด้วยรัหสพื้นที่ เช่น HKK 212 คือ เสือโคร่งบุบผา ซึ่งอยู่ที่ห้วยขาแข้ง TYE หรือ TYW ก็หมายถึงเสือโคร่งที่พบในผืนป่าทุ่งใหญ่ตะวันออก หรือ ทุ่งใหญ่ตะวันตก 

 

"เสือโคร่งบุบผา" ภาพจาก เฟซบุ๊ก : ห้วยขาแข้งสืบสาน

แต่อะไรที่เป็นรหัสมันดูแข็งกระด้าง ไม่ชวนรู้จัก โดยชื่อที่ใช้สื่อสารได้ดีกว่าน่าจะเป็นชื่อตามบุคลคล จึงได้ตั้งชื่อตัวเด่นๆ จากบุคคลที่ระลึกถึง เช่น "สิทธิตรี" มาจากชื่อปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผู้ล่วงลับ ปลัดศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช หรือชื่อ "บุบผา" ก็มาจากนักวิจัยอาวุโส รตยา อุทิศ ชัชวาลย์ พิไล สืบสาน สานสืบ ฯลฯ ก็ล้วนเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่องานอนุรักษ์หรือนักวิชาการในบ้านเรา 

 

แต่ก็ใช่ว่าจะเลือกเฉพาะชื่อผู้อาวุโส ยังมีรุ่นเยาว์อย่าง "วีระยา" ลงมาจนถึง "รุ้งนภา" วีระพงศ์ ไปจนถึง "สันต์ภพ" รวมทั้งยังมีการเอาชื่อลูกเจ้าหน้าที่ หรือจากลักษณะภายนอกที่เห็นมาตั้งชื่อเสือโคร่งด้วย

 

"ข้าวจี่" ภาพจาก เฟซบุ๊ก : ห้วยขาแข้งสืบสาน

โดยสรุปหลักในการ "ตั้งชื่อเสือโคร่ง" ในป่านี้ สรุปไม่ค่อยได้ เพราะนอกจากรหัสกำกับที่คนทั่วไปคงไม่มีใครจำได้แล้ว ส่วนใหญ่ทั้งหมดมาจากบุคคล "อันเป็นที่รัก" และอยู่ในแวดวงแห่งชีวิตของผู้ตั้ง ชื่อเหล่านี้จึงตั้งเพื่อเป็นเกียรติด้วย แต่ก็ตั้งเพื่อให้ระลึกถึงบ้างเหมือนกัน แต่เหนืออื่นใด ตั้งไว้ด้วยความรักทั้งสิ้น

 

เผยที่มาในการตั้งชื่อ "เสือโคร่ง" ในผืนป่าประเทศไทย

logoline