svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ดร.อนันต์ "เปิดผลทดสอบ ATK 7 ยี่ห้อ ตรวจ "โอมิครอน" ได้

26 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.อนันต์ เผยผลทดสอบประสิทธิภาพ ATK รวม 7 ยี่ห้อใช้งานในสวิตเซอร์แลนด์ ตรวจจับ "โอมิครอน" ได้ แต่เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ จะตรวจจับได้ยากกว่า

26 ธันวาคม 2564 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน (Omicron) โดยระบุว่า นักวิจัยจาก University of Geneva ทำการทดสอบประสิทธิภาพของ ATK ทั้งหมด 7 ยี่ห้อที่มีการใช้งานในสวิตเซอร์แลนด์

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ดร.อนันต์ แจง ATK สามารถตรวจโอไมครอนได้

"ดร.อนันต์ "เปิดผลทดสอบ ATK 7 ยี่ห้อ ตรวจ "โอมิครอน" ได้

ในการตรวจจับไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ต่างๆ ก่อนหน้านี้ พบว่า ATK ทั้ง 7 ยี่ห้อสามารถตรวจโอมิครอนได้ แต่ด้วยประสิทธิภาพที่ค่อนข้างต่างกัน และเมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ โอมิครอนดูเหมือนว่าจะตรวจจับได้ยากกว่าครับ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นแบบนี้ใน ATK ทุกตัวที่ทดสอบในการศึกษานี้ 

"ดร.อนันต์ "เปิดผลทดสอบ ATK 7 ยี่ห้อ ตรวจ "โอมิครอน" ได้

กราฟผลการทดลองด้านล่างนี้ แกน Y คือ ปริมาณไวรัสที่เป็นจุดที่ไวรัสสามารถตรวจวัดได้ด้วย ATK กราฟยิ่งสูงแสดงว่า ATK ยิ่งตรวจไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ ได้ดี เช่น ATK ยี่ห้อ I สามารถตรวจเดลต้าได้ต่ำสุดที่ 3.30 PFU/ml หรือ ไวรัสที่ 10^3.3 หรือ 2000 อนุภาค/ml แต่สามารถตรวจโอมิครอนได้ต่ำสุดที่ 3.5 PFU/ml หรือ 10^3.5 หรือ ประมาณ 3200 อนุภาค/ml 

"ดร.อนันต์ "เปิดผลทดสอบ ATK 7 ยี่ห้อ ตรวจ "โอมิครอน" ได้

ซึ่งจะเห็นว่าบางยี่ห้อถึงแม้จะสามารถตรวจโอมิครอนได้ แต่อาจต้องใช้ไวรัสปริมาณมากถึงจะได้ผลบวก เช่น ยี่ห้อที่ III และ ยี่ห้อที่ VI ต้องใช้ไวรัสมากถึง 10^4 หรือ 10000 อนุภาค/ml 

 

ขออนุญาตไม่ระบุยี่ห้อ ATK ที่ทำการทดลอบในโพสต์นี้นะครับว่าคืออะไร แต่ข้อมูลสามารถหาได้เพิ่มเติมในเอกสารแนบ สำหรับพิจารณาการใช้ ATK ในการตรวจหาเชื้อสายพันธุ์ต่างๆ 

"ดร.อนันต์ "เปิดผลทดสอบ ATK 7 ยี่ห้อ ตรวจ "โอมิครอน" ได้

นอกจากนี้ ดร.อนันต์ ยังได้เปิดเผยผลการทดลองของทีมวิจัยญี่ปุ่น ที่นำไวรัสโอมิครอนไปทดสอบความรุนแรงในหนูแฮมสเตอร์ โดยเปรียบเทียบกับไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม และเดลต้า พบว่าหนูแฮมสเตอร์ติดโควิดจากสายพันธุ์เดิม และเดลต้าได้ดี มีอาการเห็นชัดมากจากน้ำหนักตัวที่ลดลงหลังติดเชื้อ ส่วนหนูที่ติดโอมิครอนน้ำหนักแทบไม่ลดลงเลยเมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับเชื้อ อาการป่วยปอดติดเชื้อดูจากระดับออกซิเจนก็ไปในแนวเดียวกัน 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ดร.อนันต์ แจงดราม่าปมราคาวัคซีนโมเดอร์นา

"ดร.อนันต์ "เปิดผลทดสอบ ATK 7 ยี่ห้อ ตรวจ "โอมิครอน" ได้

เมื่อนำปอดของแฮมสเตอร์ในแต่ละกลุ่มมาตรวจสอบก็เห็นชัดว่า โอมิครอนติดปอดหนูเหล่านี้ไม่ดีเท่าไวรัสอีกสองชนิด ทีมวิจัยเชื่อว่า โอมิครอนเป็นไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตรงตำแหน่งของโปรตีนหนามสไปค์ที่ทำให้ถูกตัดโดยเอนไซม์ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเข้าสู่เซลล์ได้น้อยลง เมื่อสไปค์เปลี่ยนยาก ก็เข้าสู่เซลล์ได้ยาก ทำให้ความรุนแรงในสัตว์ทดลองน้อยลง 

 

คำอธิบายดังกล่าวยังใช้อธิบายไม่ได้ว่า ถ้าเข้าสู่เซลล์ได้ยาก เหตุใดไวรัสโอมิครอนถึงเพิ่มจำนวนได้ไวกว่าในเซลล์หลอดลมมนุษย์ถึง 70 เท่า และ แพร่กระจายได้ไวมาก  หรือ อาจเป็นไปได้ว่าหนูแฮมสเตอร์อาจจะไม่ใช่ model ที่เหมาะสมในการศึกษาความรุนแรงของโอมิครอนเหมือนสายพันธุ์อื่นแล้ว เพราะโอมิครอนจับกับโปรตีน ACE2 ของแฮมสเตอร์ไม่ดีเหมือนสายพันธุ์อื่น

"ดร.อนันต์ "เปิดผลทดสอบ ATK 7 ยี่ห้อ ตรวจ "โอมิครอน" ได้

ไม่แน่ใจว่าความสามารถในการแพร่กระจายจากแฮมสเตอร์ติดเชื้อไปหาแฮมสเตอร์จะเหมือนที่พบได้ในมนุษย์ตอนนี้หรือไม่นะครับ ถ้าไม่เหมือนคาดว่า คำถามจะกลับมาที่ทีมวิจัยว่า ตกลงโอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าขนาดนั้นจริงๆหรือ...แน่นอนครับทุกคนอยากให้โอมิครอนเป็นแบบที่พบในแฮมสเตอร์ครับ แต่ตอนนี้ผลการทดลองยังมีอีกหลายคำถามที่ต้องตอบให้ชัดเจน

 

logoline