svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"โอมิครอน" ไวรัสโควิดกลายพันธุ์เขย่าโลก!

04 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ขณะนี้ทั่วโลกกำลังจับตาโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ที่พบส่งท้ายปี 2021ในชื่อที่เรียกกันว่า "โอมิครอน" ที่องค์การอนามัยโลก WHO จัดเป็นสายพันธุ์โควิดที่ต้องเฝ้าระวัง ลำดับที่ 5 ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ ต่อจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา

"โอมิครอน" มีจุดกำเนิดที่จังหวัดหนึ่ง ในประเทศแอฟริกาใต้ โดยก่อนหน้านี้จังหวัดดังกล่าวมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้ามาก่อน  และเริ่มจางหายไป จนกระทั่งเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีประชากรในจังหวัดติดโควิดถึง 3-4 เท่าตัว นักวิทยาศาสตร์จึงมีการถอดรหัสพันธุ์กรรมไวรัสชนิดนี้ จนพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่สายพันธุ์เดลต้า แต่กลับกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ และสิ่งที่น่าตกใจไปมากกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเจอลักษณะการเปลี่ยนแปลงไวรัสชนิดนี้มาก่อน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญ ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญที่ไวรัสจะเข้าสู่เซลล์

 

หลายคนสงสัยว่าไวรัสชนิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์มีการวิเคราะห์ทฤษฎีขึ้นมา  2 ทฤษฎี ทั้งการเกิดขึ้นได้จากผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือหลุดจากห้องแลป โดยพบการเปลี่ยนแปลงของตัวหนามถึง 32 ตำแหน่งพร้อมกัน ถือว่ามีจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ โดยหลักการเปลี่ยนแปลงของไวรัสจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เดือนหนึ่งอย่างมาก 2 ตำแหน่งเท่านั้น

"โอมิครอน" ไวรัสโควิดกลายพันธุ์เขย่าโลก!

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ในฐานะ ผอ.ไบโอเทค กล่าวว่า คนป่วย HIV ภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การรักษาคนกลุ่มนี้คือพลาสมา ไวรัสจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนมีการติดคนอื่นไวรัสหลุดออกมาจากผู้ป่วยคนนั้น แสดงว่าไวรัสตัวนั้นอยู่กับผู้ป่วยมานยานถึง10เดือน กับไวรัสตัวนี้อยู่ในแลป เลี้ยงอยู่ในแลป ไม่ใช่เลี้ยงในคน และใช้พลาสมาหรือตัวสารเร่งเลี้ยงในแลปแล้วหลุดออกมาจากในแลปแล้วมาติดในคนได้เช่นเดียวกัน เป็นการเลียนแบบสภาวะที่อยู่ในคน ก็อาจจะเกิดขึ้นได้

คำถามที่ตามมา วัคซีนที่ฉีดให้กับคนไทยอยู่ในขณะนี้จะสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์ไอมิครอนได้หรือไม่ นักไวรัสวิทยา ให้ข้อมูลว่า สายพันธุ์ไอมิครอน กับสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งยังคงเป็นสายพันธุ์หลัก เป็นไวรัสที่แตกต่างกัน การจะฉีดวัคซีนป้องกันก็จะเป็นวัคซีนคนละชนิดกันหรือไม่ ซึ่งหลังจากนี้นักวิทยาศาสตร์จะต้องศึกษาวิจัย ว่าวัคซีนที่ใช้ฉีดอยู่ในปัจจุบันจะต้องมีการผสมรวมกันของ 2 สายพันธุ์นี้หรือไม่อย่างไร ซึ่งถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่

"โอมิครอน" ไวรัสโควิดกลายพันธุ์เขย่าโลก!

เบื้องต้นไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ยังคงหลบภูมิได้ดี  ถึงแม้ประชากรส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่มีโอกาสติดเชื้อสายพันธุ์ไอมิครอนได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลต้า เนื่องจากสายพันธุ์เดลต้าไม่สามารถข้ามกำแพงภูมิคุ้มกันมาได้ เพราะมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่สายพันธุ์ไอมิครอน หนีภูมิคุ้มกันได้ เพราะไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าสายพันธุ์โอมิครอน นำสายพันธุ์เดลต้าได้ แต่สายพันธุ์เดลต้าอาจจะรุนแรงกว่า

 

ดร.อนันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องดูอาการคนป่วย เมื่อเทียบเปอร์เซ็นคนติดเดลต้าอาจจะหนักกว่า เห็นภาพค่อนข้างยากว่าใครรุนแรงกว่าใคร ถ้ามองจำนวนคนที่มีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้นในโอไมครอน มีโอกาสจะเจอคนที่มีโอกาศอาการหนักมากขึ้น แต่มันไม่ได้เกิดจากการว่าไวรัสดุขึ้น แต่ว่าโอกาสในการติดเชื้อในคนสูงขึ้น จะเห็นคนเข้าโรงพยาบาลสูงขึ้นตรงไปตรงมาด้วยตัวเลข ความดุต้องดูว่าเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายและเข้าไปเพิ่มจำนวนตัวเองข้อมูลของโอไมครอนยังไม่ชัดเจน

"โอมิครอน" ไวรัสโควิดกลายพันธุ์เขย่าโลก!

เพราะเรายังไม่มีไวรัสชนิดนี้ในห้องปฎิบัติการเมื่อเทียบกับเดลต้าแล้ว แต่เดลต้าเรามีให้เห็นเอาไวรัสไปเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่น เดลต้าโตดีมาก แต่โอมิครอนเรายังไม่มี เพราะฉะนั้นเรายังคาดการณ์ไม่ได้ แต่เราคาดการณ์ว่าติดโอมิครอนได้ดีกว่าเดลต้าแน่นอน

ทีมวิจัยสวทช. กำลังเร่งทำการศึกษาการกลายพันธุ์ของโอมิครอน โดยการสร้างไวรัสจำลองขึ้นมา เพื่อทำการทดลองกับวัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการตรวจพบไวรัสชนิดนี้ จึงต้องทำการตรวจสอบหาพันธุกรรมว่าไวรัสมีความรุนแรงเพียงใด สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีแค่ไหน โดยระยะนี้การป้องกันตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด19

"โอมิครอน" ไวรัสโควิดกลายพันธุ์เขย่าโลก!

ดร.อนันต์ กล่าวว่า ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนกับสายพันธุ์เดลต้าต่างกันสิ้นเชิง วัคซีนป้องกันสายพันธุ์โอมิครอนก็อาจจะป้องกันสายพันธุ์เดลต้า หรือวัคซีนสายพันธุ์โอมิครอนก็อาจไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ เพราะไวรัสไม่เหมือนกัน จึงเป็นคำถามตัวโตๆให้กับนักวิทยาศาสตร์ควรจะแก้ไขปัญนี้อย่างไร หากมีไวรัส 2 สายพันธุ์นี้ในไทย จะต้องผสมวัคซีนออกมาเป็น 2 สูตรในขวดเดียวกันแล้วฉีดพร้อมกันเพื่อให้ร่างกายมีภูมิจากโอมิครอนและเดลต้าในเวลาเดียวกัน ซึ่งตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็กำลังหาข้อมูลว่าวัคซีนที่มีอยู่จะสามารถป้องกันโอมิครอนได้หรือไม่ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีการฉีดสูตรไขว้ ซึ่งจะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ

 

ถึงแม้ว่าไวรัสสายพันธุ์โอมิคอนยังไม่ถูกค้นพบในประเทศไทย แต่ไวรัสชนิดนี้ก็มีโอกาสเข้ามาในไทยได้ จะเห็นได้จากหลายประเทศที่สายพันธุ์นี้กำลังเข้ามา แต่ก็ควรจะมีการสกัดกั้นการเดินทางเข้าประเทศ หรือการกักตัวนักท่องเที่ยวให้นานมากขึ้น เพราะขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเชื้อชนิดนี้จะมีระยะการฟักตัวกี่วัน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน

"โอมิครอน" ไวรัสโควิดกลายพันธุ์เขย่าโลก!

ดร.อนันต์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเรายังมีช่องโหว่ในการเปิดประเทศ และการกักตัวต้องเพิ่มวันมากขึ้น + การเปิดประเทศ ยังดำเนินการอยู่ และเราคิดว่าการตรงวจPCRที่ต้นทางกับการตรวจPCRที่ปลายทาง จะสามารถป้องกันการเล็ดลอดเข้ามาได้ ก็ต้องพึงระวัง เชื้อโอมิครอนเรายังไม่มีองค์ความรู้ว่าจะฟักตัวนานแค่ไหน สมมุติโอมิครอนฟักตัว 7 วัน เราตรวจเชื้อก่อนเดินทาง3 วัน 72ชม. ตรวจเชื้อเสร็จแล้วเป็นเนกาทีฟ ไม่เจอเชื้อในร่างกายของเรา มีเวลาช่วงก่อนเดินทาง 3วัน  

 

สมมุติเราออกไปช้อปปิ้งและเราติดเชื้อโอมิครอน แต่เราไม่รู้ตัวเราใช้เวลาบินอีก 1 วัน รวม4วัน และเราเปิดประเทศให้เข้ามา หลังจากนั้นไอมิครอนอยู่ในร่างกายและปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้ ต้องยอมรับว่ามาตรการมีรอยรั่วอยู่ อันนี้คือสิ่งที่เราต้องยอมรับว่าถ้าเกิดขึ้นจริง เป็นประเด็นที่ต้องดูต่อว่ารอยรั่วไหนเราแก้ไขอย่างไร 

"โอมิครอน" ไวรัสโควิดกลายพันธุ์เขย่าโลก!

โอมิครอน จะเป็นจุดเสี่ยงใหม่ที่จะเกิดการระบาดครั้งใหญ่อีกระลอกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องจับตาหลังจากนี้  โดยเฉพาะผู้ผลิตวัคซีนหลายค่ายออกมาเคลื่อนไหว  ล่าสุด สเตฟาน บันเซล ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของ "Moderna  มองว่าประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์นี้จะไม่เท่ากับ สายพันธุ์เดลตา และคิดว่าประสิทธิภาพจะลดลง  ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือน จึงจะสามารถผลิตวัคซีนป้องกัน ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้อย่างเพียงพอ

 

ขณะที่โฆษกของแอสตราเซเนกา บอกว่าขณะนี้ บริษัทกำลังทำการวิจัยในประเทศบอตสวานา  เพื่อรวบรวมข้อมูลไวรัสสายพันธุ์ใหม่จากโลกจริงไปเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพวัคซีนของบริษัท อีกทั้ง ยังได้นำยาแอนติบอดีชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มาทดสอบใช้กับสายพันธุ์โอมิครอนอีกด้วย

 

ด้านบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค เปิดเผยว่ากำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบประสิทธิภาพวัคซีนกับสายพันธุ์โอมิครอน คาดว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ส่วนบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ด้านโฆษก ยืนยันว่า กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนกับสายพันธุ์โอมิครอนเช่นกัน

logoline