- 23 พ.ย. 2564
- 71
เผยผลวิจัย กลุ่มคนมีฐานะชอบการท่องเที่ยว มีการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สัตว์ป่าถูกล่า รวมทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดโรคจากสัตว์ป่าสู่คน หลายองค์กรจึงร่วมมือกัน จัดแคมเปญ Kind Dining กิน.กอด.โลก
23 พฤศจิกายน 2564 ในเดือนมิถุนายน 2564 TRAFFIC และ สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าของคนไทยในเขตเมือง โดยพบว่าในรอบปีที่ผ่านมา มีการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า รวมถึงเนื้อสัตว์ป่าที่ผิดกฏหมาย ร้อยละ 32 และมีแนวโน้มจะบริโภคอีกในอนาคต
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ตื่นเต้น! ดร.ธรณ์โพสต์คลิปฝูงฉลามครีบดำนับร้อยตัว ว่ายน้ำเล่นอ่าวมาหยา
ซึ่งกลุ่มประชากรในเขตเมืองที่บริโภคเนื้อสัตว์ป่าในประเทศไทยส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 18-30 ปี มีฐานะและชื่นชอบการท่องเที่ยว โดยเหตุผลหลักในการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า คือ รสชาติ ความอยากรู้อยากลอง และความรู้สึกของความสำเร็จ ทั้งนี้ การบริโภคเนื้อสัตว์ป่าของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่เพื่อประทังชีวิต
แคมเปญ ‘Kind Dining กิน.กอด.โลก’ จึงได้เกิดขึ้น โดยเกิดจากความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (TRAFFIC) สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (Zoological Society of London: ZSL) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> สิงห์ เอสเตท จับมือ ศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน อนุรักษ์ปลาฉลามกบ
โดยการสนับสนุนของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) โครงการคุ้มครองสัตว์ป่าโลก (Global Wildlife Program:GWP) กองทุนเพื่อการคัดค้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายแห่งสหราชอาณาจักร (Illegal Wildlife Trade Challenge Fund: IWTCF) โครงการกิจการระหว่างประเทศของปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Fish and Wildlife Service: USFWS)
เพื่อชวนคนรุ่นใหม่ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โดยมี สกาย-วงศ์รวี นทีธร หมอล็อต-นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน และ เชฟตาม ชุดารี เทพาคำ มาช่วยกันปกป้องและอนุรักษ์สัตวป่า ลดความเสี่ยงของโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์ป่า รวมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ป่าในประเทศไทย นำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายในอนาคต โดยชวนคนรุ่นใหม่ร่วมให้คำมั่นสัญญา พร้อมติดแฮซแท็ก #SayNotoIllegalWild Meat
แคมเปญนี้ นำเสนอคลิปวิดีโอ 4 ชุด เผยแพร่ผ่านทาง Facebook และ YouTube รวมทั้งยังมี กิจกรรม Kindness Delivery ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม โดย เซฟตาม และร้านมีนา มีข้าว จังหวัดเชียงใหม่จะดัดแปลงเมนูปลอดเนื้อสัตว์ป่า แจกจ่ายให้บุคคลทั่วไปได้ลิ้มลองพร้อมคิวอาร์โค้ด www.kind-dining.com
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ชื่นชมพลเมืองดี! ส่งคืนตัวนิ่ม ให้ จนท. หลังพบออกนอกป่า
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเลือกเข้าร่วมทีมสัตว์ป่าที่ชื่นชอบได้จากทั้งหมด 5 ทีม โดยคลิกให้คำมั่นสัญญาเพื่อรับตราประจำทีมสำหรับการแชร์ผ่านสื่อโซเชียล และติดแฮชแท็ก #SayNotoIllegalWildMeat และ #KindDining ร่วมให้คำมั่นสัญญาไม่บริโภคเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย ได้ที่ www.kind-dining.com