svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ครั้งแรกของโลก!! ม.มหิดล ศึกษาวิจัยยาต้านโควิด

23 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกฟอร์ด ทำการวิจัยยาต้านโควิดครั้งแรกของโลก คาดรู้ผลประสิทธิภาพภายใน 2 ปี

23 พฤศจิกายน 2564 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกฟอร์ด โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้รับคัดเลือกให้ดำเนินการเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพยารักษาโรคโควิด-19 ชนิดต่างๆ ภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบการศึกษาระยะที่ 2 ในหลายศูนย์วิจัย เพื่อค้นหายาที่ใช้ในการรักษาโควิด-19 การศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของยาในการเปลี่ยนแปลงปริมาณไวรัสในคนไข้ที่ติดเชื้อโควิดที่อาการไม่รุนแรง การศึกษาในรูปแบบที่สามารถปรับรูปแบบและขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยแบบเป็นระบบในระหว่างการทำการวิจัย ประกอบด้วย โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และโรงพยาบางพลี 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> สธ.ย้ำ! ยังไม่ถึงเวลาบังคับใช้กฎหมายฉีดวัคซีน

ภาพประกอบข่าว

รองศาสตราจารย์นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากสถานการณโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดตอนนี้ทำให้ยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนในการใช้ยารักษา โดยปัจจุบันมียารักษาโควิด-19 ไม่กี่ชนิดที่สามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสได้โดยตรง ซึ่งยาต้านไวรัสที่เข้าถึงได้ จึงมีความสำคัญในการรักษาโควิด-19 ซึ่งการศึกษานี้เพื่อประเมินและเปรียบเทียบยาที่ใช้รักษาโควิด-19 ต่างชนิด โดยประเมินอัตราการหายป่วยทางคลินิก และอัตราการลดปริมาณเชื้อไวรัสโควิด-19 ในลำคอผู้ป่วย และการลดลงได้เองตามการดำเนินโรค 

ครั้งแรกของโลก!! ม.มหิดล ศึกษาวิจัยยาต้านโควิด

 

รองศาสตราจารย์นายแพทย์วีระพงษ์ กล่าวอีกว่า ยาที่ใช้ในการศึกษาต้องเป็นยามาตรฐานที่มีอยู่เดิมสำหรับการรักษาโรค โควิด-19 หรือโรคอื่นอย่างที่กำลังประเมินในรอบการศึกษาปัจจุบัน โดยวิธีสุ่มคือยากิน 2 ชนิด คือ ฟาวิพิราเวียร์ ไอเวอร์เมคติน และยาฉีด 2 ชนิด เรมเดซีเวียร์ รีเจนเนอรอน ซึ่งโครงการวิจัยนานาชาติหลายสถาบันจะรับผู้ป่วยอาสาสมัครทั้งหมด 750 คน  ส่วนเครือข่ายโรงพยาบาลในไทย จะรับอาสาสมัคร 200 คน โดยจะต้องเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ระยะแรกไม่รุนแรงเป็นเวลาไม่เกิน 4 วัน มีอายุระหว่าง 18-50 ปี  ไม่เป็นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรั้ง 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> รพ.ในสังกัด สธ. เปิด COVID Free Setting พร้อมมุ่งหน้าฉีดวัคซีน 100 ล้านโดส

ครั้งแรกของโลก!! ม.มหิดล ศึกษาวิจัยยาต้านโควิด

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการติดตามการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสโดยเก็บเชื้อในลำคอทุกวันเป็นเวลาเจ็ดวัน ปริมาณจีโนมของเชื้อโควิด-19 ส่งตรวจโดยวิธี RT-PCR โดยศูนย์ห้องปฏิบัติชีวโมเลกุล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ภายใต้ความร่วมมือจากบริษัท Thermo Fisher Scientific วิธีนี้เป็นเทคนิคเฉพาะที่มีความไวและความแม่นยำสูง

โดยโครงการนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการและได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 30 ราย ซึ่งผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของยาในการรักษารอบแรก อาจจะต้อรอกลุ่มอาสาสมัคร ให้ครบ 50 คน คาดว่าใช้เวลา 2-3 เดือน จึงจะสามารถสรุปผลในเบื้องต้นได้ หลังจากนั้นการศึกษาในรอบถัดไปอาจจะมีการเพิ่มชนิดของยาเพื่อเปรียบเทียบและวัดประสิทธิภาพยารักษาโควิด-19 ให้ครอบคลุมมากขึ้น จนถึง200 คน ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ภายในระยะเวลา 2 ปี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "หมอยง" สรุปให้ 20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด

ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์ และยาแพ็กซ์โลวิด ตอนนี้รอเข้ามาในประเทศไทยก่อน และอาจจะมีการพิจารณาเพื่อนำมาใช้ในการวิจัยในอนาคต ซึ่งในการวิจัยสามารถปรับลดเพิ่มจำนวนยาได้

ครั้งแรกของโลก!! ม.มหิดล ศึกษาวิจัยยาต้านโควิด

 

logoline