svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"ทรู-ดีแทค" อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย

22 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อบริษัทโทรคมนาคมเบอร์ 2 และ 3 ของประเทศไทย หันมาร่วมมือกันทำ MOU สร้างบริษัทลูกเพื่อให้ประชาชนใช้บริการเทคโนโลยี อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร

การจับมือกันระหว่าง ทรู และ ดีแทค โทรคมนาคมเบอร์ 2 และ 3 ของประเทศไทย มีข่าวออกมาตั้งแต่วันศุกร์แต่วันนี้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการลงนามเซ็น MOU ขณะเดียวกันความชัดเจนไปที่ตลาดหลักทรัพย์แล้วว่าตอนนี้ระหว่างทรูและดีแทค จะมีการตั้งบริษัทใหม่

 

เมื่อค่ายมือถือ 2 ค่าย ซึ่งมีฐานลูกค้ารวมกันทั้งหมดร่วม 52 ล้าน ประกาศพันธมิตรร่วมกันจะมีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาและจะมีการตีราคา Due diligence แปลความง่ายๆ คือทรูและดีแทคกำลังประกาศบอกว่า A+B=C ส่งผลดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ดีดตัวสูงขึ้น สวนตลาดทั้งโลก เป็นการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นที่มีผลต่อเงินในกระเป๋าของประชาชน

 

วันนี้ MOU บอกว่าจะมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา 1 บริษัท มูลค่าประมาณ 100-200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ โดยคุณศุภชัย ให้สัมภาษณ์ บอกว่า จะมีการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นโทรคมนาคมคอมพานี จะไปเป็นเท็กคอมพานี เน้นย้ำเลยว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ จะทำให้เทคโนโลยีนี้ให้บริการกับประชาชน

"ทรู-ดีแทค" อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย

ถ้าจับใจความสำคัญของการ MOU และการแจ้งตลาดหลักทรัพย์ ทั้งสองบริษัทฯ เห็นพ้องต้องกันสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ซึ่งทั้ง 2 บริษัท จะลงมาเป็นบริษัท C และจะมีการแลกหุ้นกันภายใน การแลกหุ้นจะเกิดขึ้นจากการตีราคา แลกหุ้นจัดสรรกันทั้งหมด 138,208,403,204 หุ้น ตราหุ้นละ 1 บาท 1 หุ้นดีแทคจะแลกได้ 24.53775 หุ้นในบริษัทใหม่ 1 หุ้นของทรูเดิม จะแลกหุ้นได้ 2.40072หุ้นในบริษัทใหม่

ดีแทคและทรูจะถือหุ้นในบริษัทใหม่ในสัดส่วน 42 คือดีแทค และ 57 คือทรู และการรวมกิจการจะเกิดขึ้นหลังจากเมื่อมีการยื่นเรื่องเข้าไปให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าพิจารณาว่าการพวกรวมกิจการทั้งหมด จะส่งผลให้มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่

 

ประเด็นที่มีการจับตามองคือ เมื่อมีการรวมกันผลประกอบการคือ 163,032 ล้านบาท แล้วอนาคตเทลคอมในประเทศไทยจะเป็นเช่นไร เพราะว่าต่อไปในประเทศจะแข่งกันคือเจ้าสัวใหญ่กับเจ้าสัวกลาง และรอบนี้ให้จับตาดูเมื่อมีการตั้งโฮลดิ้ง คอมพานี แลกหุ้นต่อกันดีกว่าการขายหุ้นต่อกัน ไม่ต้องเสียภาษี

"ทรู-ดีแทค" อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย

ปกติแล้วเมื่อ A+B = C ซึ่งบริษัท C จะเข้าไปลิตเตดในตลาดหลักทรัพย์แทน และ AกับB จะต้องค่อยๆ ถอนตัวเองออกไป แล้วปล่อยให้ C เป็นคนทำงาน นอกจากเป้าหมายที่จะให้บริการในประเทศไทย ยังมีเป้าหมายที่จะไปในภูมิภาค เพราะดีแทคก็ทำในเรื่องของภูมิภาคอยู่แล้ว คือ บริษัทเทเลนอร์

 

นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน เปิดเผยว่า มองว่าเป็นการหาช่องทางการเติบโตในภาวะตลาดที่มันไม่เติบโต ถ้าไปดูจะเห็นว่าปัญหาของดีแทคกับทรูก็คือ ไม่สามารถที่จะเติบโตไปมากกว่านี้ เนื่องจากลูกค้าของทั้งคู่ไม่สามารถที่จะโตไปกว่านี้แบบมากๆ ได้

ในขณะที่มีการลงทุนในธุรกิจจะมีเงินลงทุนขั้นต่ำ กลายเป็นทั้งคู่ก็ไม่สามารถสู้กับ advanced ได้ ซึ่งมีลูกค้ามากกว่า ดังนั้นทั้งคู่จึงมาบรรลุสัจธรรม ในภาวะตลาดที่ไม่เติบโตสิ่งเดียวที่ทำได้ก็คือการลดต้นทุน และการควบคุมการใช้จ่ายพวกเงินลงทุน ซึ่งเราจะเห็นว่าเงินลงทุนในทรูและดีแทครวมกันประมาณ 6 หมื่นล้าน ซึ่งมากกว่า Advanced แปลว่าถ้าทั้งคู่มารวมกันมีโอกาสสูงมากที่จะสามารถกลับมาสร้างมูลค่าส่วนเพิ่มให้หุ้นได้

 

เป้าหมายคงมี 2 อย่าง อันแรกทำยังไงจะสามารถลดต้นทุนได้ แล้วสามารถแข่งขันได้ เป้าหมายที่ 2 ทำยังไงให้ดีลนี้ผ่าน และไม่ถูกเตะสกัดขา เพราะปกติแล้วเวลามีการแข่งขัน เช่นมีผู้ประกอบการ 3 ราย การลดลงจาก 3 รายเหลือ 2 ราย สภาวะการแข่งขันมันจะไปค่อนข้างมาก แปลว่าลักษณะแบบนี้จะต้องมีคนเขยิบเข้ามาดู ไม่ว่าจะเป็น กสทช.ที่รับผิดชอบด้านโทรคมนาคมโดยตรง และคณะกรรมการทางด้านการแข่งขันทางการค้า

"ทรู-ดีแทค" อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย

จริงๆแล้วทุกวันนี้ ถ้าเราปล่อยให้การแลกหุ้นเกิดไปโดยปกติ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทใหม่นั่นคือเทเลนอร์ ถือหุ้นประมาณ 19% จะเกิดอาการเบี้ยหัวแตก มีปัญหาว่าอนาคตข้างหน้าคงจะมาแย่งหุ้นกันเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ วิธีการที่ง่าย คือการเซตอัพบริษัทขึ้นมาเป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ แล้วทั้งทรูและดีแทคไปถือหุ้นกันคนละครึ่ง

 

คุณกระทรวง จารุศิระ นักลงทุน และประธานกรรมการซุปเปอร์เทรดเดอร์ โฮลดิ้ง เปิดเผยว่า โดยธรรมชาติของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม เดิมเป็นตลาดคู่ขายน้อยรายอยู่แล้ว เพราะมีแค่ 3 เจ้า พอมีข่าวควบรวมกันจาก 3 เจ้า เหลือ 2 เจ้า ผมคิดว่าคนที่อาจจะเสียผลประโยชน์ ก็อาจจะเป็นผู้บริโภคหรืออาจจะเป็นภาครัฐ เพราะจาก 3 เหลือ 2  ทุกอย่างคุยกันง่ายขึ้น

 

หลังจากที่ทำคำเสนอซื้อเสร็จ ทรูน่าจะต้องมีการเพิ่มทุนหรือเปล่า ระยะจะเป็นผลดีกับทั้งทรูและดีแทค

logoline