svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วัคซีน ChulaCov19 เตรียมทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ต้นปีหน้า

18 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเดินหน้าพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 คาดสามารถทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ได้ ในไตรมาสแรกของปีท2565 ขณะที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 2.3 พันล้านบาท ในการพัฒนาวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม

18 พฤศจิกายน 2564 ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุถึงความคืบหน้าวัคซีน ChulaCov19 วัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ว่า ได้มีการเริ่มทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 1 เข้าสู่ระยะที่ 2 โดยมีอาสาสมัคร 2 กลุ่ม คือกลุ่มอายุ 18-55 ปี จำนวน 36 ราย และกลุ่มอายุ 56-75 จำนวน 36 โดยฉีดวัคซีน 2 เข็มห่างกัน 2 สัปดาห์ โดยพบว่า วัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> นายกฯติดตามวัคซีน ChulaCov19 ยินดี กระตุ้นภูมิเทียบเท่าไฟเซอร์

โดยอาการข้างเคียงของผู้ร่วมวิจัยจะมีลักษณะ เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายในสองวัน แต่ไม่มีอาการรุนแรง ส่วนวัคซีน ChulaCov19 มีการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับบริษัทในฝรั่งเศษ ซึ่งในตอนนี้ได้มีการเตรียมพัฒนาวัคซีนวัคซีน ChulaCov19 รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ไว้เรียบร้อยแล้ว 

วัคซีน ChulaCov19 เตรียมทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ต้นปีหน้า

สำหรับการทำงานของวัคซีน ChulaCov19 จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันใน 2 ส่วน คือส่วน B cell และ T cell โดยการทำการทดสอบในสายพันธุ์อู่ฮั่น โดยทดลองใช้ความเข้มข้นของวัคซีน 10 // 25 //50 ไมโครกรัม พบว่าสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ร้อยละ 70 เทียบเท่ากับวัคซีนไฟเซอร์ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> รัฐบาลเกาหลีใต้ เข้าพบนายกฯสนใจแลกเปลี่ยนพัฒนาวัคซีน ChulaCov19

นอกจากนี้ได้ วัคซีน ChulaCov19 สามารป้องกันโควิดข้ามสายพันธุ์ได้ทุกชนิด ส่วนปริมาณการใช้วัคซีน หากมีการระบาดจำนวนมาก จะมีการใช้วัคซีนประมาณ 50 ไมโครกรัม 

วัคซีน ChulaCov19 เตรียมทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ต้นปีหน้า

สำหรับวัคซีน ChulaCov19 ในเฟส 2 พบว่า ได้ทำการเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฉีดน้ำเกลือเป็นเข็มแรก และฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่สอง ส่วนกลุ่มที่ 2 จะได้ฉีดวัคซีน ChulaCov19 ครบ 2 เข็ม โดยจากการฉีดวัคซีน ChulaCov19 พบว่า ปริมาณ antibody เพื่มขึ้น 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ซึ่งมีภูมิคุ้มกันสูงกว่าฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เท่า 

ขณะเดียวกัน วัคซีน ChulaCov19 ได้เตรียมความพร้อมในการทดลองระยะที่ 3 ในประเทศไทย ซึ่งจะต้องทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัท ไบโอเนท เอเชีย จำกัด ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีน ในระดับอุตสาหกรรม ในไตรมาสแรกของปี 2565 โดยคาดว่าจะคาดขึ้นทะเบียนกับ อย. ได้ในเดือนมีนาคม 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> จุฬาฯ เผยวัคซีน ChulaCov19 ทดลองในคนเฟส 2 ป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดี

ส่วนการเก็บรักษาวัคซีน ChulaCov19 สามารถเก็บรักษาได้ 3 เดือน ขณะเดียวกัน คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอของบประมาณจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวงเงิน 3,000 ล้านบาท มาใช้ในการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 โดยได้รับการอนุมัติงบประมาณ ในวงเงิน 2.3 พันล้านบาท มาใช้ในการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ในรุ่นต่อไป

ซึ่งการอนุมัติงบประมาณในครั้งนี้จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการพัฒนาวัคซีน ซึ่งหาก อย. อนุมัติจะสามารถทำการทดสอบวัคซีนในระยะที่ 3 ในประประชากร 3,700 คน โดยในเดือนธันวาคม จะหาอาสาสมัครเพื่อทำการฉีดวัคซีนและเชื่อว่าจะสามารถทดลองฉีดวัคซีนได้ในเดือนมกราคม จะประเมินผลความปลอดภัยก่อนที่จะส่งข้อมูลให้กับ อย. ในการพิจารณาการประกาศใช้วัคซีนในภาวะฉุกเฉิน โดยหลังจากนั้น จะทำการเก็บข้อมูลประชากร 30,000 คน เพื่อให้ อย.พิจารณาการใช้ในประชากรกลุ่มใหญ่ต่อไป

วัคซีน ChulaCov19 เตรียมทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ต้นปีหน้า

logoline