svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

มุมมองนิยม องค์นิติบัญญัติ"ระบบสภาเดียว"

17 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มุมมอง"ไอติม-พริษฐ์" เทียบมุมมองนิยม องค์นิติบัญญัติระบบสภาเดียว ฝ่ายสนับสนุนคือประเทศคอมมิวนิสต์ ที่เห็นว่า สถาบันสภาสูง เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม หรือผู้สนับสนุนการปกครองโดยชนชั้นหัวกระทิ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....ที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นแกนนำเสนอร่าง และล่ารายชื่อประชาชนสนับสนุนร่างฯ กว่า 1 แสนรายชื่อ ทำให้เรียกว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน นายพริษฐ์ ชี้แจงในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 16 พ.ย.64 ในฐานะผู้เสนอร่าง ถึงเรื่องการยกเลิกวุฒิสภา หันมาใช้ระบบสภาเดี่ยว ว่า ข้อกังวลที่ว่าหากไม่มีวุฒิสภา กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลอาจเข้มข้นน้อยลง เป็นสิ่งที่แปลกใจเพราะผลงานในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารของ ส.ว. เสียงคัดค้านแทบจะไม่มี ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายรัฐบาล คือ ภาคประชาชน เราควรติดอาวุธให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรัฐบาลได้โดยตรง และยังไม่เห็นความกระตือรือร้นที่จะเร่งออกกฎหมายคุ้มครองผู้ชี้แจงเบาะแส

 

เมื่อออกแบบวุฒิสภา ที่มาจากการเลือกตั้ง ส.ว. หลายคนจึงกังวลว่าอาจจะทำให้วุฒิสภามีหน้าตาคล้ายกับสภาผู้แทนราษฎร เพราะอาจจะถูกควบคุมโดยอำนาจทางการเมือง ทำไมต้องมีถึง 2 สภา แทนที่จะเหลือแค่สภาเดียว และมองว่า ส.ว.แต่งตั้งก็ไม่ได้ทำให้การเมืองหายไป และใน 250 คนมี 120 คน มาจากแม่น้ำห้าสายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ คสช. ไม่มีเจตนาเป็นแค่กรรมการ แต่มีเจตนาเป็นผู้เล่นทางการเมืองอย่างชัดเจน เพราะในเมื่อหัวหน้า คสช. เองก็ลงมาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน

มุมมองนิยม องค์นิติบัญญัติ"ระบบสภาเดียว"

 

ระบบสภาเดี่ยว (unicameralism) เป็นระบบการปกครองที่มีองค์นิติบัญญัติ หรือรัฐสภาแห่งเดียว ประเทศที่ใช้ระบบสภาเดียวส่วนใหญ่เป็นประเทศเล็กและเป็นรัฐที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีสภาสูง

 

มุมมองที่นิยมองค์นิติบัญญัติในระบบสภาเดียว เห็นว่า ถ้าสภาสูงเป็นประชาธิปไตยแแล้วย่อมเป็นเสมือนภาพสะท้อนของกระจกเงา คือการเป็นประชาธิปไตยเหมือนๆ กัน จึงเป็นการซ้ำซ้อน ทฤษฎีที่เอนมาทางฝ่ายนี้เห็นว่าหน้าที่ของสภาที่สอง เช่นการพิจารณาหรือแปรญัตติสามารถทำได้โดยกรรมาธิการของสภาได้อยู่แล้ว เพราะการพิทักษ์รัฐธรรมนูญทำได้เพราะมีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่แล้ว

 

ในหลายกรณี ก็มีรัฐบาลซึ่งขณะนี้เป็นระบบสภาเดียว เคยใช้ระบบสองสภามาแล้วโดยการ ยกเลิกสภาสูงปรากฏให้เห็นอยู่ เหตุผลในการเปลี่ยนเช่นนั้นเนื่องมาจากสภาสูงที่มาจากการเลือกตั้งซ้ำซ้อนกับสภาล่างซึ่งเป็นการกีดขวางการผ่านกฎหมาย กรณีตัวอย่างได้แก่ "แลนด์สติง" (Landsting) หรือสภาสูงในเดนมาร์ก (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2497)

 

อีกเหตุผลหนึ่งเนื่องมาจากสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ได้รับการพิสูจน์ว่าอ่อนแอ ไม่ปรากฏผลงาน กรณีตัวอย่างได้แก่ คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative Council) ของนิวซีแลนด์ (ยกเลิก พ.ศ. 2494)

ประเทศอื่นๆ เช่น สหราชอาณาจักร และ แคนาดา ในเชิงเทคนิคเป็นระบบสองสภาที่ทำหน้าที่เหมือนระบบสภาเดียว เนื่องจากสภาหนึ่งทำหน้าที่หนักไปในด้านพิธีการมากกว่าและมีอำนาจน้อย ดังนั้น ในสหราชอาณาจักร การควบคุมสภาสามัญได้ก็คือการควบคุมรัฐบาลได้ สภาขุนนาง (House of Lords) มีอำนาจเพียงการชะลอและให้คำแนะนำในการแก้ไขกฎหมายเท่านั้น เคยมีการตกลงกันกว้างขวางพอควรว่าจะปฏิรูปสภาขุนนาง แต่เหตุผลในการสนับสนุนให้ยกเลิกไปเลยนั้นกลับมีน้อยมาก

สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์

คิวบา

ฝ่ายสนับสนุนระบบสภาเดียว มีเป็นประเทศเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ (เช่น สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคิวบา) หรือที่เคยเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ (เช่น ยูเครน มอลโดวา เซอร์เบีย) ทั้งนี้เนื่องจากในมุมมองของสังคมนิยม สถาบันของสภาสูงมักถูกมองว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม หรือ ผู้สนับสนุนการปกครองโดยชนชั้นหัวกระทิ (elitist) และพวกสนับสนุนชนชั้นกลางโดยธรรมชาติ

 

หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ

รัฐต่ำกว่าประเทศ (subnational entities) บางรัฐที่ใช้ระบบองค์นิติบัญญัติแบบสภาเดียวได้แก่ เนแบรสกา กวม และ หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ รัฐและอาณาเขตของออสเตรเลีย คือควีนส์แลนด์ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และเขตเมืองหลวงออสเตรเลีย ทุกรัฐและอาณาเขตของแคนาดา ทุกรัฐ (Bundesländer) ของประเทศเยอรมัน และทุกภาค (Regioni) ของอิตาลี

logoline