svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ธปท. เผย มาตรการฟื้นฟู ผ่าน 6 เดือน อนุมัติสินเชื่อแล้ว 1.24 ล้าน

12 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธปท. แจง อนุมัติสินเชื่อแล้ว 1.24 แสนล้านบาท หลังมาตรการฟื้นฟูผ่าน 6 เดือน หวั่น หลังหมดโปร "พักทรัพย์ พักหนี้" หนี้เสียทะยาน

12 พฤศจิกายน 2564 น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟู ว่า จากข้อมูล ล่าสุด วันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา หรือหลังเริ่มมาตรการมา 6 เดือน ได้มีการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 124,836 ล้านบาท คิดเป็นครึ่งหนึ่งของวงเงินทั้งหมด โดยมีผู้ได้รับความช่วยเหลือจำนวน 39,095 ราย และวงเงินอนุมัติเฉลี่ย 3.2 ล้านบาทต่อราย ถือว่ามีการกระจายตัวดีทั้งด้านขนาด ซึ่งมีลูกหนี้เดิมในกลุ่มวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดเป็น 83.7% ของจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ และมีลูกหนี้ใหม่ 8.4% ด้านประเภทธุรกิจ กระจายตัวอยู่ใน ธุรกิจพานิชย์และบริการ จำนวน 67.0% ในส่วนภูมิภาค 67.8% เป็นลูกหนี้ที่อยู่ในต่างจังหวัด

ส่วนโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ มีผู้ได้รับความช่วยเหลือแล้วจำนวน 168 ราย วงเงินที่ได้รับการอนุมัติจำนวน 24,374 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจบริการ โรงแรม อพาทเมนท์ โรงงาน ร้านอาหาร และสปา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 ส่วนการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ณ เดือนกันยายน 3.8 ล้านล้านบาท มีจำนวนลูกหนี้ 6.7 ล้านบัญชี แบ่งเป็นรายย่อย 6.04 ล้านบัญชี ธุรกิจเอสเอ็มอี 6.3 หมื่นบัญชี และ ธุรกิจขนาดใหญ่ 3 พัน บัญชี

 

สำหรับแนวโน้มหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) หลังจากสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้นั้น น.ส.สุวรรณี ชี้แจงว่า ธปท.สนับสนุนให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ โดยการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว เช่น ให้ลูกหนี้ผ่อนชำระค่างวดที่ต่ำลง ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง และปรับขึ้นเมื่อมีรายได้เพิ่มในอนาคต ซึ่งมาตรการนี้จะมีระยะเวลาไปจนถึงปี 2566

“ถ้าเราดูแนวโน้มเอ็นพีแอลที่ผ่านมา พบว่าจะค่อยๆทยอยเพิ่มขึ้น ซึ่งเราจะพยายามไม่ให้เพิ่มขึ้นจนเป็นแบบหน้าผา คือ อยู่ๆ เอ็นพีแอลก็เพิ่มตูมขึ้นมา เพื่อทำให้การบริการจัดการของธนาคารพาณิชย์และตัวลูกหนี้สามารถทำได้ แม้ว่าปกติเราไม่ได้มีการคาดการณ์ตัวเลขเอ็นพีแอล แต่จะมีการจับตาดูอยู่อย่างใกล้ชิด ดูแนวโน้ม ดูการรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าว่า ได้รับความช่วยเหลือหรือไม่ พร้อมทั้งมีกลไกบริหารจัดการ หากเป็นหนี้เสีย เช่น ลูกหนี้ที่กำลังจะถูกฟ้องร้องหรือบังคับคดี เรายังมีกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนเข้าสูงชั้นศาล หรือหลังเข้าศาลด้วย ซึ่งเป็นกลไกที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้ลูกหนี้ไปให้รอดมากที่สุด แต่ต้องยอมรับว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่จะรอดได้” น.ส.สุวรรณี กล่าว

logoline