svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ราษฎรขอนแก่นพ่นสีแสดงเชิงสัญลักษณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

11 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ราษฎรขอนแก่นพ่นสีในที่ราชการแสดงเชิงสัญลักษณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แกนนำย้ำเดินหน้าเข้าชื่อยกเลิก ม.112

จากกรณีคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟัง ภายหลังนัดประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ ลงมติ กรณีรับคำร้องที่นายณัฐพร โตประยูร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ว่าการกระทำของนายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล  จัดชุมนุมปราศรัย เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2563  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิต เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข    เข้าข่ายใช้สิทธิเสรีภาพในการล้มล้างการปกครอง  ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1- 3 และกลุ่มองค์กรเครือข่าย เลิกการกระทำดังกล่าวทันที  หลังคำวินิจฉัยพบว่า มีกลุ่มประชาชนได้ออกมาแสดงควานคิดเห็นและเคลื่อนไหว อย่างต่อเนื่อง 

ราษฎรขอนแก่นพ่นสีแสดงเชิงสัญลักษณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
 

11 พฤศจิกายน   2564  ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  พบว่ามีการพ่นสเปย์สีแดงถ้อยคำ “นิติจอมปลอม”  “ปฏิรูปศาล” เพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วยต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  นอกจากนี้ยังพบว่ามีภาพเผยแพร่ผ่านทางออนไลน์ ฉีดพ่นกำแพงมหาวิทยาลัยขอนแก่น บนถนนสายกัลปพฤกษ์ เมื่อผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าทางเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยได้ลบข้อความออกไปหมด
นายวชิรวิทย์ เทศศรีเมือง หรือเซฟ แกนนำขอนแก่นพอกันที กล่าวว่า  กลุ่มต่างๆในจังหวัดขอนแก่น ได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทั้งการติดป้าย การพ่นสี ในสถานที่สำคัญของราชการรวมทั้งในบริเวณมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เพื่อแสดงจุดยืนไม่รับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปได้ออกมาแสดงออก  ในส่วนของราษฎรขอนแก่น   กลุ่มขอนแก่นพอกันที และกลุ่มดาวดิน        ยืนยันว่า  ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและพร้อมที่จะเคลื่อนไหวต่อ แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญ  จะวินิจฉัยแล้วก็ตาม  
“ส่วนรูปแบบการเคลื่อนไหวนั้น ขณะนี้ยังคงเดินหน้าสนับสนุนให้มีการเข้าชื่อเพื่อยกเลิกมาตรา 112  ตามประมวลกฎหมายอาญา  การรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรการ 112  ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  และไม่ได้ขัดต่อคำวินิจฉัยแต่อย่างใด  เพราะว่าการเสนอกฎหมาย  หรือแก้ไขกฎหมายเป็นสิ่งที่กระทำได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญบอกไว้ว่า ประชาชนสามารถลงชื่อ 10,000 รายชื่อ  เพื่อขอเสนอแก้ไขได้   โดยรายชื่อที่รวบรวมได้นั้นจะนำไปยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎร พร้อมยืนยันว่าเสรีภาพการแสดงออกควรมีอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ควรจะต้องมาปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ” นายวชิรวิทย์ กล่าว

ราษฎรขอนแก่นพ่นสีแสดงเชิงสัญลักษณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
 

นายวชิรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  สำหรับคำวินิจฉัยนั้น  ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยว่าการกระทำใดที่ล้มล้างแต่สิ่งที่พวกเราเคลื่อนไหวยังไม่ล้มล้าง   แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าอาจจะนำไปสู่   คำว่า  อาจจะ  และ  คำว่านำไปสู่   แปลว่า   ยังไม่ล้มล้างการปกครอง  การออกมาเรียกร้องจึงทำได้   สำหรับ 10 ข้อเรียกร้องของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เป็นการเสนอแก้ไขกฏหมายและยกเลิกกฏหมาย เพราะฉะนั้นการเสนอสิ่งต่างๆเหล่านี้ สามารถทำได้   เพราะไม่มีใครพูดว่าจะล้มล้างสถาบัน  มีข้อเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112  ซึ่งสามารถทำได้
“ถือว่าเป็นบรรทัดฐานใหม่ว่าต่อไปนี้ห้ามพูด 10 ข้อเรียกร้อง เพราะฉะนั้น ไม่ว่ากลุ่มคนกลุ่มใด  พรรคการเมืองใดพูด 10 ข้อเรียกร้องนี้อาจจะถูกร้องให้ยุบพรรคการเมืองได้ หากเป็นประชาชนก็อาจจะถูกฟ้องในมาตรา 113”นายวชิรวิทย์ กล่าว

โดย-กวินทรา  ใจซื่อ

ราษฎรขอนแก่นพ่นสีแสดงเชิงสัญลักษณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

logoline