svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ศาลรธน.วินิจฉัยล้มล้างการปกครอง แล้วยังไงต่อ?

10 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าการกระทำของ “รุ้ง-ไมค์-อานนท์” เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ก็จะเป็นจุดตั้งต้นของการเอาผิดทางอาญาต่อไป

10 พฤศจิกายน 2564 ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของกลุ่มแกนนำแนวร่วมม็อบราษฎร ได้แก่ 1.นายอานนท์ นำภา 2.นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ ระยอง และ 3.น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง กรณีชุมนุมปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเพื่อเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ การกระทำของผู้ถูกร้องล้มล้างการปกครอง และสั่งการเลิกกระทำการดังกล่าวในอนาคตตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49

ศาลรธน.วินิจฉัยล้มล้างการปกครอง แล้วยังไงต่อ?

รัฐธรรมนูญ มาตรา 49 บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้

ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้

 

ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ การดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง

 

จะเห็นได้ว่า เนื้อหาของมาตรานี้ ไม่ได้ระบุโทษของผู้กระทำเข้าข่ายล้มล้างการปกครองเอาไว้ สิ่งที่เขียนไว้ในกฎหมาย มีเพียง “ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำได้” ส่วนโทษอื่นๆ ไม่มี

ศาลรธน.วินิจฉัยล้มล้างการปกครอง แล้วยังไงต่อ?

แต่จากการสอบถาม คุณณฐพร โตประยูร ในฐานะผู้ร้องเอง และสอบถามความเห็นจากนักกฎหมายอีกหลายท่าน ได้ความว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลเห็นว่าการกระทำของ “รุ้ง-ไมค์-อานนท์” เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ก็จะเป็นจุดตั้งต้นของการเอาผิดทางอาญาต่อไป เพราะ

  1. คุณณฐพร ยื่นคำร้องไว้ที่สำนักงานอัยการสูงสุดด้วย หากศาลวินิจฉัยว่าการกระทำเข้าข่ายล้มล้างฯ ทางสำนักงานอัยการสูงสุดก็เดินหน้าคดีอาญาต่อได้เลย เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร โดยอาจแจ้งไปยังพนักงานสอบสวน ให้รวบรวมพยานหลักฐานส่งมา เพราะพยานหลักฐานที่ คุณณฐพร ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลแสวงหาหลักฐานมาเองด้วย ก็ถือว่ามีข้อมูลมากพอสมควร
  2. ตัวคุณณฐพร และประชาชนคนไทยคนอื่นๆ สามารถไปแจ้งความดำเนินคดีได้ ตามฐานความผิดที่เห็นว่า “รุ้ง-ไมค์-อานนท์” ได้กระทำ เช่น ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 (ล้มล้างการปกครอง = กบฏ) มาตรา 114 (ตระเตรียมการเพื่อก่อกบฏ) หรือ มาตรา 116 (ยุยงปลุกปั่น) ได้ทันที

 

แต่มีประเด็นที่น่าพิจารณา คือ การจะเอาผิดในทางอาญา ต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนกว่าในชั้นศาลรัฐธรรมนูญ และต้องมีหลักฐานเป็นรูปธรรมว่าจะสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือเป็นอันตรายต่อระบบการปกครองจริงๆ โดยต้องมีพฤติการณ์ใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย มีการตระเตรียมสะสมกำลังคนและอาวุธ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมาตราเหล่านี้ด้วย

ศาลรธน.วินิจฉัยล้มล้างการปกครอง แล้วยังไงต่อ?

ฉะนั้นโอกาสที่จะเอาผิดอาญาในข้อหากบฏ ล้มล้างการปกครอง หรือตระเตรียมก่อกบฏ ก่อจลาจล จากการกระทำเพียงขึ้นปราศรัยบนเวที น่าจะเป็นเรื่องยาก แต่พฤติการณ์ของผู้ถูกร้อง สุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 มากกว่า

 

แต่สำหรับมาตรา 112 เอง ทั้ง 3 คนก็โดนแจ้งข้อหาไปแล้วหลายข้อหา ซึ่งข้อหาเหล่านั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการกิจกรรมที่คุณณฐพร นำไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ (ปราศรัยยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน) นั่นเอง

logoline