svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

คมนาคมรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระบบราง

04 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงคมนาคม เปิดรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์และระบบราง ลดผลกระทบทางสังคม แก้ปัญหาจราจรอย่างเป็นระบบ

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ที่โรงแรมแคนทารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายภูมิสิทธิ์  วังคีรี รอง ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) พื้นที่ภาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและพื้นที่ภาคตะวันออก กลุ่มที่ 1 

คมนาคมรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระบบราง

กิจกรรมรับความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 โดยมีนายนิรันดร์  สุขรักขินสุขิณี วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักงานทางหลวงที่ 10 นครราชสีมา พร้อม ดร.ชุมโชค  นันทวิชิต ผู้จัดการโครงการงานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนา “โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)” นำเสนอข้อมูลงานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง โดยใช้เงินลงทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางให้กลุ่มเป้าหมาย รับทราบการพัฒนาโครงข่ายทางถนนที่ยังขาดการบูรณาการร่วมกับการพัฒนาโครงข่ายทางราง ทำให้เกิดปัญหาการเวนคืนพื้นที่ การแบ่งแยกชุมชนและขาดการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาโครงข่ายทางถนนและโครงข่ายทางรางที่เน้นการพัฒนาไปในพื้นที่ชุมชนที่มีความเจริญอยู่แล้ว ทำให้จำกัดการพัฒนาเมือง ไม่มีการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ใหม่ 

คมนาคมรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระบบราง


 

นอกจากนี้ด้วยโครงข่ายทางถนนในปัจจุบันมีการใช้เส้นทางร่วมกันของรถในท้องถิ่นและรถขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาคที่ใช้ความเร็วในการเดินทาง ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัย จากนั้นได้เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัย 

คมนาคมรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระบบราง


 

ดร.ชุมโชค ผจก.โครงการ ฯ เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยบนโครงข่ายถนนและการกระจายการพัฒนาไปสู่พื้นที่ใหม่ รัฐบาลมีนโยบายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางในการพัฒนาโครงข่ายถนนที่มีแนวตรงไม่ผ่านชุมชนไม่ซ้ำแนวถนนเดิม เพื่อพัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่สร้างชุมชนเมืองใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต

 

ทั้งนี้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ถือเป็นคำตอบของการพัฒนาโครงข่ายทางถนนในอนาคตที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงข่ายทางราง ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ชาติเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ผลักดันให้เป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ ควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาโครงข่ายถนน 

คมนาคมรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระบบราง

เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กระทรวงคมนาคมจึงได้เสนอแนวคิด “การบูรณาการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายทางรถไฟที่ใช้เขตทางพร้อมกัน 10 เส้นทาง ได้แก่ แนวเหนือ-ใต้ 3 เส้นทาง แนวตะวันออก-ตะวันตก 6 เส้นทาง และแนวทางเส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1 เส้นทาง ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทความต้องการเดินทางและขนส่งของประเทศ ตลอดจนสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านคมนาคมขนส่ง จะทำให้การดำเนินงานตามแผนแม่บทโครงข่ายถนนและระบบรางมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึ้น

โดย - เกษม ชนาธินาถ

 

logoline