svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

29 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

AOT พร้อมต้อนรับผู้โดยสารที่จะเดินทางมาใช้บริการในวันเปิดประเทศ 1 พ.ย. 2564 โดยนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาให้บริการ เพื่อลดการสัมผัสและเว้นระยะห่าง คาดวันแรกเปิดประเทศ มี 30,000 คน เป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ ประมาณ 7,000 คน และวางแผนรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคน

29 ตุลาคม 2564 ตามที่รัฐบาลได้กำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว 17 จังหวัด ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดเชียงใหม่ (เฉพาะพื้นที่ที่กำหนด) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

 

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) และส่งผลต่อวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติตามแนวคิด Universal Prevention การป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบครอบจักรวาลของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับในแผนวิสาหกิจของ AOT (ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา) ได้วางแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรโดยได้กำหนดกลยุทธ์การนำ Digital Technology และนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงาน

 

ดังนั้น การเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 AOT จึงมีความพร้อมให้บริการอย่างเต็มความสามารถ

 

ในส่วนของ AOT ซึ่งบริหารท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ 6 แห่ง ได้แก่

  1. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.)
  2. ท่าอากาศยานดอนเมือง
  3. ท่าอากาศยานเชียงใหม่
  4. ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
  5. ท่าอากาศยานภูเก็ต
  6. ท่าอากาศยานหาดใหญ่

 

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

 

ทั้งนี้ ได้นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองการเดินทางแบบชีวิตวิถีใหม่ (Transport New Normal) มาให้บริการผู้โดยสาร รวมทั้งได้จัดให้พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยเมื่อมาใช้บริการสนามบิน

 

พร้อมกันนี้ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งได้จัดการฝึกซ้อมแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร เป็นต้น โดยการจำลองขั้นตอนการปฏิบัติทั้งในส่วนของกระบวนการผู้โดยสารขาเข้าและขาออก เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการสนามบิน

 

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

 

สำหรับประมาณการปริมาณจราจรทางอากาศ ณ ทสภ.ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564

มีสายการบินแจ้งทำการบินเที่ยวบินพาณิชย์ ประมาณ 440 เที่ยวบิน แบ่งเป็น

  • เที่ยวบินภายในประเทศ ประมาณ 230 เที่ยวบิน
  • เที่ยวบินระหว่างประเทศ ประมาณ 110 เที่ยวบิน
  • เที่ยวบินขนส่งสินค้า ประมาณ 100 เที่ยวบิน

 

โดยเมื่อประมาณการที่ร้อยละ 30 จากความจุของแบบอากาศยาน AOT คาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางผ่าน ทสภ.จำนวนทั้งสิ้น ประมาณ 30,000 คน  แบ่งเป็น

  • ผู้โดยสารภายในประเทศ ประมาณ 23,000 คน
  • ผู้โดยสารระหว่างประเทศ ประมาณ 7,000 คน

 

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

 

ซึ่ง AOT ได้นำเครื่อง KIOSK สำหรับเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (Common Use Self Service : CUSS) จำนวน 196 เครื่อง และเครื่อง KIOSK รับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (Common Use Bag Drop : CUBD) จำนวน 42 เครื่อง ที่มีมาตรฐานตามที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA) กำหนด มาให้บริการผู้โดยสารในกระบวนการพิธีการผู้โดยสารขาออก ซึ่งได้ติดตั้งกระจายอยู่บริเวณแถวเช็กอินตั้งแต่ Row B ถึง Row U ชั้น 4 อาคารผู้โดยสาร ทสภ.

 

สำหรับเครื่อง CUSS Kiosk จะเป็นอุปกรณ์สำหรับอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารทำการเช็กอินด้วยตนเองผ่าน Application ของสายการบินที่ได้มีการติดตั้งไว้แล้ว รวมทั้งยังสามารถเลือกที่นั่งได้ด้วยตนเอง เพราะเครื่องจะแสดงรายละเอียดของที่นั่งได้เสมือนจริง ดูเข้าใจง่าย ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกรวดเร็ว ลดเวลารอคิวเช็กอิน

 

นอกจากนี้ ผู้โดยสารสามารถเช็กอินล่วงหน้าเป็นเวลา 6 – 12 ชั่วโมงก่อนเดินทาง (ตามเงื่อนไขของแต่ละสายการบิน) และเมื่อผู้โดยสารเช็กอินด้วยเครื่อง CUSS เรียบร้อยแล้ว สามารถนำกระเป๋าสัมภาระโหลดผ่านเครื่อง CUBD ได้ด้วยตนเองนอกจากความพร้อมในการรองรับผู้โดยสารสำหรับการเปิดประเทศแล้ว ในอนาคตที่การเดินทางจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติดังก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะทำให้ ทสภ.รองรับผู้โดยสารเกินขีดความสามารถ

 

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

 

วางแผนรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคน

ดังนั้น AOT จึงได้วางแผนจะเปิดใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) เพื่อแบ่งผู้โดยสารมาจากอาคารผู้โดยสารหลัก ซึ่งจะทำให้ ทสภ.สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นอีก 30 ล้านคน

 

โดยอาคาร SAT-1 เป็นอาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่การบิน (Airside) จะให้บริการผู้โดยสารขาออกที่ได้ทำการเช็กอินและโหลดกระเป๋าสัมภาระ ณ อาคารผู้โดยสารหลักเรียบร้อยแล้ว

 

หลังจากนั้นผู้โดยสารเดินเข้าไปในเขต Airside ตรงไปยังด้านหลังเกษียรสมุทร บริเวณชั้น 4 Concourse D และลงไปยังสถานีรถไฟฟ้า APM (Automated People Mover) เพื่อนั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคาร SAT-1 ในส่วนของผู้โดยสารขาเข้า เมื่อลงเครื่องแล้ว ต้องลงไปยังชั้น B2 เพื่อนั่งรถไฟฟ้า APM มายัง

 

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

 

อาคารผู้โดยสารหลักไปยังห้องโถงผู้โดยสารขาเข้า และจุดรับกระเป๋าสัมภาระต่อไป ส่วนผู้โดยสารต่อเครื่อง (Transit/Transfer Passenger) จะสัญจรเฉพาะระหว่างชั้น 2 และชั้น 3 เท่านั้น

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันอาคาร SAT-1 ซึ่งรวมถึงส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบการทำงานร่วมกันของแต่ละระบบ และทดสอบเดินรถไฟฟ้า APM (System Demonstration)

 

ในส่วนของระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า และระบบตรวจจับวัตถุระเบิดอยู่ระหว่างการติดตั้ง และเชื่อมต่อกับระบบเดิม โดยสำหรับรถไฟฟ้า APM จะให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักและอาคาร SAT-1 ในระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 นาที และสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 5,900 คนต่อชั่วโมง

 

สำหรับอาคาร SAT-1 มีพื้นที่ 216,000 ตารางเมตร เป็นอาคารสูง 4 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ประกอบด้วย ชั้น B2 เป็นชั้นของสถานีขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ ชั้น B1 งานระบบ ชั้น G ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ชั้น 2 สำหรับผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 3 สำหรับผู้โดยสารขาออก และชั้น 4 เป็นร้านค้า และร้านอาหาร โดยอาคาร SAT-1 มีหลุมจอดอากาศยาน 28 หลุมจอด แบ่งเป็นอากาศยานแบบ Code E จำนวน 20 หลุมจอด และแบบ Code F จำนวน 8 หลุมจอด AOT ได้ออกแบบอาคารโดยการต่อยอดสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับอาคารเทียบเครื่องบินเดิม

 

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

 

โดยหลังคาตรงกลางของอาคารจะถูกยกให้สูงขึ้นกว่าส่วนอื่น ๆ เป็นลักษณะเลียนแบบการไล่ระดับหลังคาเป็นชั้น ๆ ในสถาปัตยกรรมไทยและภายในอาคารได้ติดตั้งประติมากรรมช้างเผือก “คชสาร(น)” ซึ่งช้างถือเป็นสัตว์ท้องถิ่นประจำชาติไทย โดยติดตั้งไว้บริเวณโถงกลางทำให้เกิดเป็นจุดหมายตาแรกของอาคาร

 

รวมถึงห้องน้ำในบริเวณชั้น 2 และชั้น 3 ได้มีการออกแบบ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก อีกทั้งยังได้นำเอาเอกลักษณ์หรือลักษณะเด่นในแต่ละภาค ประเพณีวัฒนธรรม เช่น ประเพณีลอยกระทง มวยไทย เป็นต้น มาใช้เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่และช่วยให้ผู้โดยสารจดจำพื้นที่ง่ายขึ้น ตลอดจนมีการตกแต่งสวนประดับที่บริเวณชั้น 2 และชั้น 3 ให้เป็นสวนแนวตั้งเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วย

 

 

AOT พร้อมเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับผู้โดยสาร 30,000 คน แบบไร้สัมผัส

 

logoline