svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“ดร.อนันต์” ชี้ “เดลตา พลัส” ไม่น่ากังวล กลายพันธุ์ทำให้ไวรัสแพร่ช้าลง

27 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา” ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยฯ ไบโอเทค โพสต์ข้อความชี้ “โควิดสายพันธุ์เดลตา พลัส” ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เหตุจากมีการกลายพันธุ์ตำแหน่งที่ทำให้ไวรัสแพร่ช้าลง อาจเจอได้บ้างประปราย

จากกรณี สธ.เผยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เดลตา พลัส มีแค่ผู้ติดเชื้อรายเดียวเป็นผู้ป่วยใน จ.กำแพงเพชร 1 ราย เดินทางมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเข้ารักษาตัวใน รพ.สนาม รักษาหายแล้ว ชี้ยังไม่พบการแพร่ระบาด รวมทั้งยังไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา พลัส ที่พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอังกฤษ

 

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2564 ทางด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Anan Jongkaewwattana” ระบุถึงความกังวลดังกล่าวว่า

“ดร.อนันต์” ชี้ “เดลตา พลัส” ไม่น่ากังวล กลายพันธุ์ทำให้ไวรัสแพร่ช้าลง


“ส่วนตัวผมไม่คิดว่าการบอกว่ามี Alpha Plus (ชื่อนี้เพิ่งเคยได้ยิน) ระบาดจะมีประโยชน์เท่าไหร่ในบริบทตอนนี้ จริงๆ ออกจะเป็นการทำให้คนที่ไม่คุ้นกับชื่อไวรัสตัวนี้จะตื่นกลัวไปโดยไม่จำเป็นมากกว่า

จากที่มีการแถลงออกมาว่า Alpha Plus คือ Alpha ที่มีการกลายพันธุ์ตำแหน่ง E484K เหมือนกับสายพันธุ์หนีภูมิเก่งอย่าง เบตา และ แกมมา การมี Plus ดังกล่าวจึงทำให้บางคนตกใจว่า Alpha plus จะทำให้วัคซีนที่ฉีดๆ กันไปช่วยอะไรไม่ได้หรือไม่ เพราะมีตัวช่วยหนีภูมิขึ้นมา...ทำอะไรไม่ได้นอกจากเฝ้าระวัง จบข่าว
 

แต่ถ้ามีการให้ข้อมูลเพิ่มจะมีประโยชน์มากๆ คือ E484K เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้ไวรัสแพร่ช้าลงอย่างชัดเจน เห็นชัดๆ คือ Beta ที่เข้ามาในไทยหลายเดือนแล้วไม่ไปไหนไกล เพราะ E484K ที่ทำให้ไวรัสวิ่งช้า Delta เองที่มี E484K ก็พบว่าไม่ได้ไปไหนได้ไกลเหมือน Delta ปกติ

 

ดังนั้น Alpha Plus ที่มี E484K ขึ้นมาก็ควรมีการชี้ว่าไวรัสตัวนี้ไม่ใช่ตัวที่วิ่งไว จริงๆ จะช้ากว่า Alpha ปกติด้วยซ้ำ เจอได้ประปราย ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล ถ้าจบข่าวแบบนี้ ผมว่าอารมณ์คนรับสารจะเปลี่ยนไปครับ...”

 

โดยก่อนหน้านี้ ทางดร.อนันต์ เคยเผยถึงเรื่องราวนี้ไว้ว่า

Delta Plus แพร่กระจายเร็วกว่า Delta 10% เค้าเอาตัวเลขนี้มาจากไหน?

จริงๆ แล้วข้อมูลไม่ได้เกิดจากการเอาไวรัส 2 สายพันธุ์นี้มาเข่งกันตรงๆ นะครับ แต่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทาง UK ถอดรหัสไวรัสเก็บไว้ในแต่ละช่วงเวลา ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน Delta ครองประเทศอยู่จะเห็นว่าเกือบ 100% ของไวรัสที่ถอดรหัสได้คือ Delta หมด สมมติฐานคือ หลังจากนี้ถ้ามีสายพันธุ์อื่นใดที่ไม่ใช่ Delta มาแบ่งพื้นที่การระบาด ก็อาจจะเป็นเพราะว่าสายพันธุ์นั้นน่าจะแพร่กระจายได้ดีกว่าเจ้าของพื้นที่เดิม

“ดร.อนันต์” ชี้ “เดลตา พลัส” ไม่น่ากังวล กลายพันธุ์ทำให้ไวรัสแพร่ช้าลง

จากข้อมูลในกราฟที่แสดงมาจะเห็นว่า ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฏาคมเป็นต้นมา มีพื้นที่ของ AY.4.2 หรือ Delta Plus เริ่มเห็นขึ้นมา และ ข้อมูลล่าสุดที่เก็บมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พบว่าเป็น 9.3-10.1% ของจำนวนทั้งหมด ตัวเลขนี้จึงเป็นที่มาของ Delta Plus สามารถแย่งพื้นที่ของ Delta ได้ที่ 10% และ แปลความต่อว่า แพร่กระจายไวกว่า 10% นั่นเอง

ข้อมูลทางไวรัสวิทยา หรือคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ว่ากลไกอะไรที่ทำให้เป็นแบบนั้น ยังไม่มีใครทราบครับ ดังนั้น อาจจะต้องสรุปเท่าที่รู้ และ อนุมานได้เท่าที่ควรทำ การคาดการณ์ทำได้ครับ แต่ต้องคิดว่าข้อมูลมันยังน้อยอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บริบทของประเทศอื่นๆอาจจะไม่เหมือนกับ UK ก็ได้ สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ เฝ้าระวัง ครับ

 

“ดร.อนันต์” ชี้ “เดลตา พลัส” ไม่น่ากังวล กลายพันธุ์ทำให้ไวรัสแพร่ช้าลง

ขอขอบคุณ : Anan Jongkaewwattana

 


ที่มา
https://covid19.sanger.ac.uk/lineages/raw

logoline