svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

20 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับวันออกพรรษา ประเพณีที่หลอมรวมชุมชนและคำว่า “บวร” แฝงด้วยคติธรรมสอนใจ

     วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันออกพรรษาที่พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันสร้างบุญกุศล เนื่องจากเชื่อว่าวันดังกล่าว พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์ และแสดงอภิธรรมเทศนา โปรดพระมารดาในเทวโลกตลอดเวลา 3 เดือน โดยวันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้น เรียกกันว่า “วันเทโวโรหณะ”

     นับตั้งแต่โบราณมาวันออกพรรษาชาวบ้านจะมีการทำบุญใหญ่รวมถึงมีการตักบาตรโทโวโรหณะ การทอดกฐิน และถือเป็นเสน่ห์และอัตลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค ที่จะมีประเพณีหรือกิจกรรมในวันออกพรรษเป็นของตนเอง หนึ่งในนั้นคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ที่นอกเหนือจากศรัทธาในพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีความศรัทธาเกี่ยวกับพญานาคอีกด้วย

     ซึ่งกิจกรรมสำคัญของวันออกพรรษาของภูมิภาคนี้คือ ปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาค ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำโขง และประเพณีไหลเรือไฟที่สวยรังสรรค์โดยศรัทธาและฝีมือมนุษย์

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

 

ประเพณีไหลเรือไฟประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

     ประเพณีไหลเรือไฟมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา มีวัตถุประสงค์เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคที่เมืองบาดาล และพญานาคได้ทูลขอพระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้ ต่อมาบรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายได้มาสักการะบูชา รอยพระพุทธบาท

     นอกจากนี้ประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้น เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูล และเป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ให้ลอยไปกับสายน้ำ นอกจากความยิ่งใหญ่สวยงามตระการตาแล้ว ยังมีข้อคิดและคติธรรมแฝงอยู่ คือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจังเนื่องจากเมื่อมนุษย์เกิดมาก็ต้องดำเนินชีวิตไปด้วยความสุขและความทุกข์ แต่สุดท้ายมนุษย์ทุกคนก็จะต้องตาย ชีวิตดับสูญไปในที่สุด

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

 

การสร้างเรือไฟและความร่วมมือของชุมชน

     ในอดีตนั้น “เรือไฟ” หรือ “เฮือไฟ” เป็นเรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่ หรือ วัสดุ ที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่าง ๆ  ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น โดยเมื่อถึงวันงาน ชาวบ้าน พระภิกษุสงฆ์ จะช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อไปลอยที่แม่น้ำ ช่วงเช้าจะมีทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเพล ช่วงบ่ายมีการละเล่นต่าง ๆ  รวมทั้งมีการรำวงเป็นการฉลองเรือไฟ พบพลบค่ำมีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ ถึงเวลาประมาณ 19 - 20 นาฬิกา ชาวบ้าน จะนำของกิน ผ้า เครื่องใช้ ขนม ข้าวต้มมัด  กล้วย อ้อย หมากพลู  บุหรี่ ฯลฯ ใส่ลงในกระจาดบรรจุไว้ในเรือไฟ ครั้งถึงเวลาจะจุดไฟให้เรือสว่างและลากไปปล่อยกลางน้ำ พอพ้นเขตหมู่บ้านก็จะมีคนมาเอาสิ่งของในเรือไปจนหมด

     ปัจจุบันการสร้างเรือไฟมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่น ใช้เรือจริง ๆ แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ ใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันดีเซลแทนน้ำมันยาง หรือการใช้ไฟฟ้าประดับเรือแทน แพหยวกก็เปลี่ยนมาเป็นถังเหล็ก ใช้โครงเหล็กเพื่อความทนทานและดัดแปลงรูปร่างได้หลากหลาย จึงได้มีการจัดประกวดเรือไฟขึ้น โดยจังหวัดที่เคยทำพิธีกรรมการไหลเรือไฟอย่างเป็นทางการ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนอง เลย มหาสารคาม และ อุบลราชธานี

     อย่างไรก็ตามแม้วันออกพรรษาปีนี้จะมีสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด แต่หลายพื้นที่ยังคงจัดให้มีประเพณีไหลเรือไฟ โดยที่  จ.นครพนม ได้มีการจัดเทศกาลบุญออกพรรษาประเพณีไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 18-22 ตุลาคม ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง เพื่อสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป ซึ่งการจัดงานในปีนี้มีการปรับเปลี่ยนรูป เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์อีกด้วย (อ่านรายละเอียด) 

     สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเดินทางไปชมความสวยงามของประเพณีไหลเรือไฟได้ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ประเพณีไหลเรือไฟ วิถีชาวอีสาน เปิดประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

logoline