svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

รมว.กลาโหมสหรัฐฯ หนุนยูเครนเข้านาโต้

20 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เผยว่า ไม่มีประเทศใด ขัดขวางยูเครนที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ การเข้าร่วมกลุ่มแบบนี้เป็นการล้ำ"เส้นแดง"และอาจกระตุ้นให้รัสเซีย ดำเนินมาตรการเชิงรุกป้องกันตนเอง

ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ บอกเมื่อวันอังคารว่า ยูเครนมีอิสระที่จะตัดสินใจในอนาคตและนโยบายต่างประเทศของตนเอง โดยไม่มีต่างประเทศอื่นใดมีอำนาจต่อความปรารถนาของยูเครนที่จะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับนาโต้
  

ยูเครน มีสิทธิที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศในอนาคตของตัวเอง และเราคาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถทำเช่นนั้นได้โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก”  ออสติน กล่าวในการแถลงข่าวร่วมกับนายอังเดรย์ ตาราน รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน ที่กรุงเคียฟ

 

เห็นได้ชัดว่า คำแถลงดังกล่าวมีขึ้น เพื่อตอบสนองต่อคำเตือนที่แรงต่อยูเครนเรื่องการเข้าร่วมกับนาโต้ของฝ่ายมอสโกเมื่อ 1 วันก่อนหน้า เมื่อโฆษกเครมลิน ดมิตรี เปสกอฟ ได้บอกกับนักข่าวฝรั่งเศสจากรายการชื่อ

'วลาดิมีร์ ปูติน : ปรมาจารย์แห่งเกม' ว่า "การเข้าเป็นสมาชิกนาโตของเคียฟจะเป็น สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด" 

 

“นี่เป็นสถานการณ์ที่ล้ำเส้นแดงของผลประโยชน์ของชาติรัสเซีย นี่เป็นสถานการณ์ที่อาจบังคับให้รัสเซียดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อรับประกันความมั่นคงของตนเอง”

แต่ เปสกอฟ ไม่ได้อธิบายอย่างละเอียดว่า "มาตรการเชิงรุก" ดังกล่าวอาจไปไกลแค่ไหน

 

อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองนาวิกโยธินสหรัฐ สก็อตต์ ริตเตอร์ มองว่า ออสตินกำลัง “เล่นการเมือง” โดยการให้น้ำหนักไปที่เรื่องการเข้าร่วมกับนาโต้ของเคียฟในระหว่างการเยือนยูเครน และในขณะที่คำพูดของเขาอาจจะเพื่อเอาใจยูเครน มันก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะเพิ่มความตึงเครียด “ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสุดท้ายที่ทั้งรัสเซียหรือนาโต้ต้องการ” 

รมว.กลาโหมสหรัฐฯ หนุนยูเครนเข้านาโต้

ริตเตอร์ตั้งข้อสังเกตว่าจนถึงขณะนี้ มีความลังเลในส่วนของทั้งสหรัฐฯ และนาโต้ที่จะสนับสนุนให้ยูเครนเข้าร่วมนาโต เนื่องจาก " ผลพวง” ที่ทั้งเคียฟและนาโต้อาจเผชิญในภายหลัง

 

เนื่องจากตามสมมุติฐานแล้วยูเครนไม่สามารถเอาชนะรัสเซียในการ "ทำสงคราม" ได้ และสหรัฐฯ "ไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยพวกเขา" ได้ การประลองกำลังใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น อาจสร้างความหายนะให้กับพันธมิตรทาง
ทหารอย่างนาโต้ได้

 

“นาโต้จะเผชิญกับความพ่ายแพ้ และนี่อาจเป็นจุดจบของนาโต้ ผมไม่รู้ว่านาโต้จะสามารถแพ้ได้อีกครั้งหรือเปล่า อีกครั้งของความขายหน้าเหมือนที่พวกเขาเจอในอัฟกานิสถาน” 

รมว.กลาโหมสหรัฐฯ หนุนยูเครนเข้านาโต้

ไมเคิล มาลูฟ อดีตนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยของเพนตากอน แย้งว่าสำนวนโวหารของออสตินและสัญญาที่ดูเหมือนว่าเขาจะให้ยูเครน แสดงให้เห็นว่าวอชิงตัน “ไม่ได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนย้อนหลังไปถึงปี 2551 เมื่อสหรัฐฯ พยายามผลักดันจอร์เจียและยูเครนให้เข้าสู่นาโต้”

 

มาลูฟ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของไบเดน ยังคงติดพันกับ จอร์เจีย ซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ออสติน ซึ่งไปเยือนจอร์เจียเมื่อวันจันทร์ อันเป็นส่วนหนึ่งของการเยือน 3 ประเทศของเขาไปในภูมิภาคทะเลดำ พยายาม “ปลุกเร้าชาวจอร์เจียและให้สัญญาเท็จกับพวกเขาว่าสหรัฐสามารถเพิ่มความช่วยเหลือทางทหารและปฏิบัติการทางทหารได้” พร้อมเสริมว่ากลยุทธ์ดังกล่าวย้อนให้นึกถึงอดีต ที่ส่งผลให้เกิดสงครามในเซาท์ออสเซเทียในปี 2551

 

“มันเหมือนกับว่าพวกเขาไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากอดีตเลย และกลยุทธ์แบบกดดันนี่แหละที่ผมเป็นกังวล”

 

 

รัสเซียไม่ใช่ "ประเทศที่ 3 " เพียงรายเดียวที่ต่อต้านความปรารถนาของยูเครนเรื่องนาโต้ ที่ไม่มีความเป็นเอกภาพภายในกลุ่มด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ฮังการีคัดค้านอย่างแข็งขันต่อการเข้าร่วมทั้งในนาโต้และในอียู
ของยูเครน โดยโจมตีเคียฟเรื่องการขาด "มาตรฐานประชาธิปไตย" เช่นเดียวกับการกล่าวหาว่ามีการกดขี่ข่มเหงชนกลุ่มน้อยชาวฮังการีที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศ

 

“เพื่อที่จะสนทนาในประเด็นของการเข้าร่วมนาโต้ ประเทศใด ๆ จะต้องบรรลุมาตรฐานประชาธิปไตย และยูเครนก็ยังไม่ได้ทำเช่นนั้น” รัฐมนตรีต่างประเทศฮังการี ปีเตอร์ ซีจาร์โต บอกเมื่อเดือนกันยายน และเสริมว่า
จนกว่าปัญหาเหล่านี้จะคลี่คลาย มันก็คง "ยากมาก" ที่แม้แต่จะหารือถึงปณิธานเรื่องนาโต้ของเคียฟ 

 

ยูเครนเกาะนาโต้อย่างแข็งขัน ตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์การเป็นเอกราชหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ในเคียฟรู้สึกสบายใจเป็นพิเศษกับกลุ่มพันธมิตรแอตแลนติกเหนือหลังการปฏิวัติไมดานในปี 2557 ซึ่งส่งผลให้ประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานูโกวิชของยูเครนถูกโค่นอำนาจ และก่อให้เกิดความขัดแย้งที่ยาวนานหลายปีในภาคตะวันออกของประเทศ

 

การต่อสู้ประปรายซึ่งยังคงดำเนินต่อไประหว่างกองทหารรัฐบาลยูเครนและสาธารณรัฐที่ประกาศตัวเองของลูกานสค์และโดเน็ตสค์ ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดโดยบิ๊กเพนตากอนในระหว่างการแถลงข่าวเช่นกัน  ออสตินตำหนิรัสเซียในเรื่องความขัดแย้งนี้อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นการพูดซ้ำ ๆ ของเหยี่ยววอชิงตันและทางการเคียฟ แบบที่ทำเป็นประจำ

“มาชัดเจนกันดีกว่า รัสเซียเริ่มต้นสงครามครั้งนี้ และรัสเซียเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาอย่างสันติ ดังนั้นเราจึงเรียกร้องให้รัสเซียยุติการยึดครองไครเมีย ยุติการทำสงครามในยูเครนตะวันออก ยุติกิจกรรมบั่นทอนความมั่นคงในทะเลดำและตามแนวชายแดนของยูเครน และหยุดการโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่องและกิจกรรมที่มุ่งร้ายอื่นๆ ต่อสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร และหุ้นส่วนของเรา"

 

ท่าทีดังกล่าวทำให้การเจรจาอย่างมีประสิทธิภาพใด ๆ เกี่ยวกับยูเครนระหว่างสหรัฐฯ และมอสโกเป็นไปไม่ได้ รัสเซียปฏิเสธหลายต่อหลายครั้งเรื่องการเข้าร่วมสงครามในยูเครนตะวันออก โดยชี้ให้เห็นว่าเป็นความขัดแย้งภายในที่เกิดจากเหตุการณ์ที่ไมดาน 

มอสโกยังปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าเรื่องความเป็นไปได้ที่จะพูดถึงแหลมไครเมีย โดยระบุว่ารัสเซียไม่เจรจาเรื่องบูรณภาพในดินแดนของตนกับใคร 

รมว.กลาโหมสหรัฐฯ หนุนยูเครนเข้านาโต้

 

logoline