svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

อาคม แจง โควิด-19 ทุบรายได้ท่องเที่ยวสูญ 2 ล้านล้าน หรือคิดเป็น 12% ของจีดีพี

18 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อาคม แจง โควิด-19 ทุบรายได้การท่องเที่ยวสูญ 2 ล้านล้าน หรือคิดเป็น 12% ของจีดีพี จึงต้องกู้ 1.5 ล้านล้าน มาแก้ปัญหา พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจใน 3 ระดับ

18 ตุลาคม 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทย ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งคิดเป็น 12% ของจีดีพีไทย คิดเป็นรายได้สูงถึง 2 ล้านล้านบาท ที่หายไป ส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชนและภาคธุรกิจ

 

นโยบายการเงินและนโยบายการคลังช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะรัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือ เยียวยาประชาชน ที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที โดยเงินที่ใช้มาจากการใช้นโยบายการคลัง ผ่านการกู้เงิน ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศมีการใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาล

โดยไทยมีการกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 รวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เป็นการกู้เงินที่มากกว่าปกติ ส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจากเดิม ที่กำหนดไว้ที่ 60% ต่อจีดีพี ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อเปิดช่องให้รัฐบาล สามาถดำเนินการได้หากมีเหตุการณ์ยืดเยื้อที่จำเป็นต้องใช้เงิน กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินให้รัฐบาลใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ของการป้องกัน ระงับการแพร่ระบาด และฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ได้

 

ในภาวะวิกฤตสิ่งสำคัญ คือ นโยบายการเงินและนโยบายการคลังต้องประสานกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ใน 3 ระดับ คือ

1. ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจระดับมหภาค ซึ่งเป็นบทบาทโดยตรงของนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

2. ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจระดับหน่วยธุรกิจ คือ ภาคเอกชน โดยต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้เอกชนที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังอยู่รอดปลอดภัย มีภูมิคุ้มกันไม่ว่าจะเกิดเหตุอะไรก็ตาม

 ละ 3.ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจระดับประชาชน ที่เมื่อได้รับผลกระทบ ประชาชนยังมีรายได้เพียงพอประทังชีวิตในระดับหนึ่ง นอกเหนือจากการช่วยเหลือของภาครัฐ

 

ทั้ง 3 ระดับภูมิคุ้มกัน โยงมาถึงปริมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ วิธีการหารายได้ของรัฐ ซึ่งจะมาจากการปฏิรูปโครงสร้างการจัดเก็บรายได้ ที่ต้องคิดเรื่องนี้ว่า จะมีวิธีการอย่างไรให้ระดับรายได้ของรัฐมีความมั่นคง ทรัพยากรของรัฐต้องเพียงพอสำหรับอนาคต ขณะที่ภาครัฐและภาคธุรกิจต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เข้าสู่ยุคปกติที่ไม่ปกติ ดังนั้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ การดึงเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการทำธุรกิจแบบเดิมคงไม่ได้

logoline