svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สมาคมนิติศาสตร์ มธ.จัดเสวนาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในต่างชาติ

16 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาคมนิติศาสตร์ มธ. จัดเสวนาในหัวข้อการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติ หวั่นกระทบคนรุ่นใหม่ไม่มีที่อยู่อาศัย

สมาคมนิติศาสตร์ มธ. จัดเสวนาในหัวข้อการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติ ซึ่งมีการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับเรื่องที่ดินตั้งแต่เราจัดตั้งให้มีระบบโฉนดที่ดินในประเทศไทย

 

ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ สมาชิกวุฒิสภา นิติโดม 11 กล่าวว่า ประเทศสังคมนิยมที่ดินทั้งหมดเป็นของรัฐ ชาวต่างชาติไม่มีกรรมสิทธิ์ มีได้แค่สิทธิ์การเช่า ภายหลังทฤษฎีนี้มีความลดหย่อนลงไปบ้าง ส่วนประเทศเสรีนิยมนั้นเป็นประเทศที่ให้กรรมสิทธิ์กับประชาชนในการถือของที่ดินได้ ปัญหาเรื่องคนต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศเริ่มต้นมานานแล้วตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษได้ขยายขอบเขตการล่าอาณานิคม การอ้างเหตุผลทางการค้าและการเผยแพร่ศาสนา จนกระทั่งประเทศไทยต้องทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งในขณะนั้นก็ต้องยอมให้คนอังกฤษซื้อและเช่าที่ดิน

 

ถ้าเป็นการถือครองโดยคนต่างชาติจะมีการกำหนดไว้โดยชัดเจน เช่น ให้ถือครองโดยการรับมรดก เมื่อมีบุตรธิดาที่รับสัญชาติไทย จนกระทั่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการให้คนต่างชาติเข้ามาถือของที่ดิน ให้ต่างชาติถือครองที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยได้กรณีที่เข้ามาลงทุนไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท และต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นอกเหนือจากนี้ยังมีการให้ถือครองที่ดินในลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุนในประเทศ เช่น การถือของที่ดินตามพระราชบัญญัติการลงทุนต่างประเทศเมื่อต้องการการลงทุนจากต่างประเทศ จึงต้องมีมาตรการการส่งเสริมการลงทุนเกิดขึ้น

สมาคมนิติศาสตร์ มธ.จัดเสวนาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในต่างชาติ

รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คนต่างด้าวที่จะถือครองที่ดินได้ คือต้องได้รับข้อยกเว้นทั้งสิ้น และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในอดีตเป็นสิทธิ์ตามสนธิสัญญา แต่ปัจจุบันสิทธิ์ตามสนธิสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว ตั้งแต่ปี 2513

 

นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทุกเวทีการค้าจะมีเรื่องการถือของที่ดินในทุกเวทีแต่ประเทศไทยจบลงด้วยการไม่ยินยอมทุกครั้ง 14 ก.ย.64ที่ผ่านมา ครม. มีมติออกมาว่าอยากกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลงทุนจากต่างประเทศ

 

กฎหมายที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ที่ต่างชาติถือครองได้ ปี 2542 มีการออกกฎหมายแก้ไขอาคารชุด คนไทยคนต่างชาติไม่มีสิทธิ์ซื้อห้องอพาร์ทเม้นท์ได้เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ จึงแก้ให้สามารถซื้อได้ 49%  หลังจากนั้น 2 ปีเศษประมาณปี 2545 มีเงื่อนไขออกมาเรื่องการที่จะให้คนต่างชาติมีที่อยู่อาศัยได้โดยมีเงินมาลงทุน เป็นการลงทุนรวมในอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในธนบัตรของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่การที่อยู่ดีๆจะมาซื้อที่ดินได้ ฉะนั้นสิ่งที่เป็นห่วงและพูดในนามส่วนตัว คือ การถือครองโดยอ้อม ในหลายปีที่ผ่านมา DSI ได้มีการเพิกถอนโฉนดซึ่งเกี่ยวกับการถือครองที่ดินโดยอ้อม

สมาคมนิติศาสตร์ มธ.จัดเสวนาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในต่างชาติ

รศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติคือมีการเล็ดลอดเลี่ยงกฎหมายจำนวนมาก แต่ก็มีหลายคนที่โต้แย้งกับกรณีดังกล่าว หากมีชาวต่างชาติถือครองที่ดินโดยการเลี่ยงกฎหมายอยู่แล้ว ถ้ายิ่งเปิดโอกาสโดยการให้ถือครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย เขาก็จะยิ่งถือโดยชอบและโดยเลี่ยง ในที่สุดที่ดินก็จะไม่อยู่ในมือคนไทย

สมาคมนิติศาสตร์ มธ.จัดเสวนาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในต่างชาติ

การเปิดโอกาสเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสที่คำนึงถึงความสามารถทางการเงินในการซื้อ ไม่ได้มองถึงลักษณะของบุคคล ผลที่เกิดขึ้นคือราคาที่ดินหรือคอนโดราคาสูงขึ้น เมื่อที่ดินและคอนโดราคาสูงทำให้คนรุ่นใหม่ไม่มีความสามารถในการซื้อที่ดินเป็นของตัวเอง เป็นปัญหาที่สหราชอาณาจักรที่อังกฤษคนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของตัวเอง ขณะนี้กำลังคิดทบทวนกันใหม่ว่าเป็นนโยบายที่สมควรสนับสนุนหรือไม่ แต่ถ้าหากต้องการเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาก็ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่าเขตที่สามารถซื้อได้ที่ไหนบ้าง เช่น เฉพาะเมืองท่องเที่ยว อาคารที่จะซื้อต้องมีมูลค่าสูงที่ไม่กระทบกระเทือนต่อคนทำงานทั้งหลาย ดร.สถิตย์ กล่าว

logoline