svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สารคดี - คนญี่ปุ่นเซ็ง ค่าจ้างไม่ขึ้นแต่ของกลับแพง

14 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้นอ่อนแอมาหลายสิบปี แต่ในทางหนึ่งก็ทำให้ราคาสินค้าและบริการไม่ปรับตัวขึ้น ึ่งก็สอดคล้องกับรายได้ของคนญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยเพิ่มขึ้น แต่หลัง ๆ มานี้สถานการณ์เปลี่ยนไป

ตลอดช่วงเวลา 50 ปีของการทำร้านกาแฟในโตเกียว ชิซูโอะ โมริ จำไม่ได้ว่าค่าใช้จ่ายในการทำกาแฟของเขาเคยมีราคาแพงถึงขนาดนี้เมื่อใด

 

ชายวัย 78 ปี ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน Heckeln ร้านกาแฟสไตล์เก่าแก่ในย่านธุรกิจ " โทราโนมอน " ของโตเกียว บอกว่าต้นทุนการขายส่งสำหรับส่วนประกอบหลักในการทำกาแฟของเขาเพิ่มขึ้น 5% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่าน
มา

 

นั่นเป็นประสบการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ เพราะมันหมายความว่าราคาข้าวของหลาย ๆ อย่าง รวมถึงค่าแรง ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนักในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

สารคดี - คนญี่ปุ่นเซ็ง ค่าจ้างไม่ขึ้นแต่ของกลับแพง

ในขณะที่เขายังไม่ได้ส่งต่อการเพิ่มของราคา ไปยังลูกค้าของเขา แรงกดดันด้านราคาก็กำลังบีบผลกำไรของเขา และเขารู้ว่าลูกค้าประจำของเขามีความอดทนต่ำสำหรับการขึ้นราคาดังกล่าว ปัจจุบันกาแฟในร้านคับแคบของเขา มีราคาถ้วยละ 400 เยน  

 

“ถ้าคนมีเงินเยอะก็คงไม่สนหรอกเรื่องราคาที่พุ่งขึ้น แต่สำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง ซึ่งรวมถึงตัวผมเองด้วย ถ้าราคาขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่น ถ้าราคาของกาแฟขึ้น 10% จาก 1,000 เยน  คนที่ซื้อกาแฟ 3 ครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ ก็จะซื้อสองครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า เราก็จะมีลูกค้าน้อยลง” โมริ ซึ่งร้านของเขาขึ้นชื่อเรื่องพุดดิ้งซอสคาราเมล ขนมปังแผ่นทาเนย แฮม และ  แซนวิชไข่ บอก

สารคดี - คนญี่ปุ่นเซ็ง ค่าจ้างไม่ขึ้นแต่ของกลับแพง

ทั่วญี่ปุ่น ผู้บริโภคและธุรกิจอย่างเช่น Heckeln กำลังเผชิญกับปัญหาการขึ้นราคาสำหรับข้าวทุกอย่างตั้งแต่กาแฟ กิวด้ง และสินค้าอื่น ๆ ที่ราคาแทบไม่เคยขยับขึ้นเลยในช่วงภาวะเงินฝืดของประเทศที่ดำเนินมาหลายทศวรรษ

 

อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด เพิ่งจะหยุดลดลงในเดือนส.ค. มันได้หักล้างภาวะเงินฝืดนาน 12 เดือน นักเศรษฐศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายคาดว่าจะเห็นการขึ้นราคาล่าสุดสะท้อนอยู่ในข้อมูลอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะยังคงอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับโลก แต่ต้นทุนวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่บริษัทต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกจะไม่ส่งผ่านมันไปยังการปรับขึ้นราคาสินค้าขายส่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขามักจะต่อต้าน เพราะกลัวว่าจะสูญเสียธุรกิจ

 

ร้านอาหารส่วนใหญ่ในเครือร้านอาหารญี่ปุ่น " มัตสึยะ " ได้หยุดขายกิวด้ง "พรีเมียม" ราคา 380 เยน และนำเริ่มเสนอกิวด้งธรรมดาที่ใช้ส่วนผสมที่ถูกกว่า เช่น เนื้อแช่แข็งและต้นหอมจีนในราคาเดียวกัน

 

“ฉันไม่รู้สึกว่ากำลังเอาเงินออกจากกระเป๋าเงินมากขึ้นเมื่อฉันไปช้อปปิ้ง แต่เมื่อได้ยินว่าราคากิวด้งเพิ่มขึ้นจาก 320 เยน เป็น 380 เยน มันทำให้ฉันรู้สึกว่าราคาสูงขึ้นมาก” อายะ โมริ พนักงานวัย 46 ปีในอุตสาหกรรมความงามในโตเกียวบอก

 

แม้ว่าการฟื้นตัวของราคาผู้บริโภคที่ซบเซา จะเป็นเป้าหมายหลักของธนาคารกลางญี่ปุ่นมาหลายปีแล้ว แต่กลยุทธ์ของธนาคารกลางในการดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องของการกระตุ้นอุปสงค์ ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปทานที่จำกัดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่ามันไม่สอดคล้องกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น

 

ญี่ปุ่นต่อสู้ดิ้นรนมาเป็นเวลานานในการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ และปัญหาค่าจ้างที่ซบเซา ก็ทำให้ครัวเรือนมีความอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นราคา

สารคดี - คนญี่ปุ่นเซ็ง ค่าจ้างไม่ขึ้นแต่ของกลับแพง

 

logoline