svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

05 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ต.ค. 64 แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคเหนือมีแนวโน้มลดลง

5 ตุลาคม 2564 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศวันนี้

  • ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้
  • แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคเหนือมีแนวโน้มลดลง
  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 55,332 ล้าน ลบ.ม. (67%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 48,903 ล้าน ลบ.ม. (68%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 16 แห่ง (บึงบอระเพ็ด อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ แควน้อยบำรุงแดน อ่างฯ ทับเสลา อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯกระเสียว อ่างฯ จุฬาภรณ์ อ่างฯ อุบลรัตน์ อ่างฯ ลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ลำแซะ อ่างฯ ลำนางรอง อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯ หนองปลาไหล)

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

กอนช. ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ เพื่อเตรียมบริหารจัดการน้ำหลาก ดังนี้

  • ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและป่าสัก พบว่า ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้ไหลผ่านเขื่อน
  • เจ้าพระยา ในอัตรา 2,775-2,800 ลบ.ม.ต่อวินาที เมื่อวันที่ 1 ต.ค.64 และปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ไหลผ่านเขื่อนพระราม 6 สูงสุดในอัตรา 762 ลบ.ม.ต่อวินาที เมื่อวันที่ 2 ต.ค.64 และกำลังไหลหลากรวมกันผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุด 3,050-3,150 ลบ.ม.ต่อวินาที ในวันที่ 5 ต.ค.64 โดยจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค.64 ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูงคาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30–50 ซม. ในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

ทั้งนี้กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ 

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

ในช่วงวันที่ 6 - 10 ต.ค.64 มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง รวมทั้งเฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นทางระบายน้ำล้น อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และอ่างฯปราณบุรี อ่างฯห้วยไทรงาม จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงขอให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำหลากในพื้นที่ในช่วงเวลาดังกล่าว

logoline